backup og meta

ยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน ใช้อย่างไร อันตรายหรือไม่

ยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน ใช้อย่างไร อันตรายหรือไม่

การท้องไม่พร้อม เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ บางคนอาจตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ หรืออาจหาซื้อ ยายุติการตั้งครรภ์ มากินเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรืออาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้หากใช้อย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาข้อมูลของยายุติการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-ovulation]

ข้อกำหนด “ยุติการตั้งครรภ์” ในหญิงอายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้มีการยุติการตั้งครรภ์ ในหญิงที่มีอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ โดยมาตรา 305(5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้หญิง ซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนตัดสินใจยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากการยุติการตั้งครรภ์ ควรตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน และรอบด้าน

วิธีการยุติการตั้งครรภ์

ช่วงของอายุครรภ์มีความสำคัญต่อการเลือกวิธียุติการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกัน เช่น

  • อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ : ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ หรือแพทย์จะใช้เครื่องดูดสุญญากาศ มีลักษณะเป็นกระบอก โดยใส่หลอดดูดเข้าไปในโพรงมดลูก
  • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ : ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ปริมาณหรือขนาดของยายุติการตั้งครรภ์จะน้อยลงตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดช่วงห่างของการใช้ตามพัฒนาการของอาการและอายุครรภ์ ภายใต้ความควบคุมและดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด

ยายุติการตั้งครรภ์ คืออะไร

ยายุติการตั้งครรภ์ ตัวยาจะช่วยหยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ เข้าขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนตัวสำคัญที่ชื่อว่า ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจึงไม่สามารถฝังตัวในผนังมดลูก ส่งผลให้มดลูกเกิดการบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก

ยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน คือตัวไหน

องค์การอนามัยโลกยอมรับและขึ้นทะเบียนตัวยา 2 ชนิด ในประเทศไทย ได้แก่

  1. ยาไมเฟพริสโตน (Mifepristone) : ยาไมเฟพริสโตน 200 มิลลิกรัม 1 เม็ด เป็นยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน วิธีใช้คือ กินตัวยาแล้วดื่มน้ำตาม  ทำให้เกิดการแท้งตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ ตัวยาไมเฟพริสโตนจะเข้าไปขัดขวางฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ มักใช้ร่วมกับยาไมโซพรอสทอล (Misoprostol) 
  2. ยาไมโซพรอสทอล (Misoprostol) : ยาไมโซพรอสทอล 800  ไมโครกรัม หรือขนาด 200 ไมโครกรัม 4 เม็ด จะใช้หลังจากใช้ยาไมเฟพริสโตนแล้ว ตัวยาทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก ช่วยขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก เป็นยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน เช่นกัน แต่ไม่ใช่การกลืนทันที การใช้ยาชนิดนี้ต้องอมไว้ใต้ลิ้นห้ามกลืน หรืออมในกระพุ้งแก้ม รอให้ยาละลายหมดแล้วค่อยกลืน และดื่มน้ำตาม หรือใช้ยาในการเหน็บช่องคลอด ตัวยายังป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารเป็นแผลขณะที่ใช้ยาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน แอสไพริน และนาพรอกเซน ซึ่งเป็นยาที่ควรกินเพื่อระงับการปวด

ยาทั้ง 2 ตัวนี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยตัวยาอาจส่งผลข้างเคียง เช่น

หากอาการข้างเคียงเกิน 24 ชั่วโมง หรือมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว เป็นลม เกิดภาวะขาดน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ให้รีบปรึกษาแพทย์

ข้อควรระวังก่อนใช้ยายุติการตั้งครรภ์ แบบกิน

  1. ผู้มีโรคประจำตัวหรือสุขภาพไม่แข็งแรงควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น ต่อมหมวกไตวายเรื้อรัง เป็นโรคหอบหืดอย่างรุนแรงไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา หรือเป็นโรค Inherited Porphyria  
  2. มีประวัติแพ้หรือไวต่อยา 2 ชนิดนี้
  3. มีประวัติการแพ้ยาในกลุ่ม Prostaglandins
  4. เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์นอกมดลูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยายุติการตั้งครรภ์

https://ppat.or.th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4/ 

accessed June 29, 2023

แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัย

https://www.lovecarestation.com/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C/#:~:text=%E0%B9%91.%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%20mifepristone%20%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%90%20%E0%B8%A1,%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7 

accessed June 29, 2023

คู่มือประกอบการให้บริการ ก่อน ระหว่าง และหลัง การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา

https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/m_magazine/35441/2593/file_download/190313aadfd14be9ae5ee52e3b39c19f.pdf 

accessed June 29, 2023

หลังใช้ยายุติการตั้งครรภ์ อาการแท้งสมบูรณ์เป็นอย่างไร

https://rsathai.org/contents/15280/#:~:text=%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%20Mifepristone%20%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3,%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD 

accessed June 29, 2023

ข้อมูลเบื้องต้นของยายุติตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง

https://rsathai.org/contents/10060/ 

accessed June 29, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/03/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการคนท้องสัปดาห์แรก ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ต้องดูแล

ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง ถึงปลอดภัย ช่วยคุมกำเนิดได้จริง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/03/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา