backup og meta

แผ่นแปะคุมกำเนิด วิธีใช้ ประโยชน์ และความเสี่ยงต่อสุขภาพ

แผ่นแปะคุมกำเนิด วิธีใช้ ประโยชน์ และความเสี่ยงต่อสุขภาพ

แผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดรูปแบบหนึ่ง โดยใช้แผ่นแปะผิวหนังปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยป้องกันการตกไข่ ทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น และช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ เหมาะสำหรับคนที่ไม่สะดวกรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม แผ่นแปะคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น จึงควรใช้ควบคู่กับถุงยาอนามัยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค

[embed-health-tool-ovulation]

แผ่นแปะคุมกำเนิด คืออะไร

แผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นแผ่น 4 เหลี่ยมจัตุรัส ใช้แปะผิวหนังเพื่อทำการคุมกำเนิด แผ่นแปะผิวหนังนี้จะปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และฮอร์โมนโพรเจสทิน (progestin) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการตกไข่ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เยื่อบุในมดลูกหนาขึ้น ทำให้ตัวอสุจิไม่สามารถไปถึงไข่ได้

การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดนั้นคือแปะทิ้งไว้ที่ผิว สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เท่ากับเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 21 วัน และหยุดใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดในสัปดาห์ที่ 4 เพื่อให้ประจำเดือนสามารถมาได้ตามปกติ การคุมกำเนิดด้วยแผ่นแปะคุมกำเนิดนั้นจะได้ผลดีมาก หากใช้งานได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ โรคหนองใน และอื่นๆ เป็นต้น

วิธีการใช้แผ่นแปะกำเนิดอย่างถูกต้อง

วิธีการใช้แผ่นแปะกำเนิดอย่างถูกต้อง มีดังนี้

  • เลือกวันที่จะใช้ แผ่นแปะคุมกำเนิดสำหรับใช้ 1 เดือนจะมี 3 แผ่น สำหรับใช้สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และหยุดใช้ในสัปดาห์ที่ 4 ควรเริ่มใช้แผ่นแรกในวันแรกของการมีประจำเดือน และพยายามใช้ในวันเดียวกันของทุกสัปดาห์ เช่น หากใช้แผ่นแรกวันจันทร์ ก็ควรเปลี่ยนแผ่นต่อไปในวันจันทร์เช่นกัน
  • เลือกจุดที่แปะ ควรเลือกจุดที่ไม่โดนการสัมผัสมากที่สุด เช่น บริเวณต้นแขน หรือท้องส่วนล่าง และหลีกเลี่ยงบริเวณผิวหนังที่มีอาการระคายเคืองหรือมีแผล นอกจากนี้ก็ควรทำความสะอาดบริเวณที่จะติดให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนติด
  • ดึงแผ่นพลาสติกที่ติดอยู่ออกครึ่งหนึ่ง แล้วจึงค่อยๆ แปะด้านที่มีกาวเข้ากับผิว โดยระมัดระวังไม่ให้แผ่นฉีกขาดหรือเสียหาย แล้วจึงดึงพลาสติกที่เหลืออยู่อีกข้างออก กดให้แผ่นแปะแนบติดเข้ากับผิว ทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่
  • หากแผ่นแปะคุมกำเนิดหลุด ถ้าไม่เกิน 48 ชั่วโมง ให้ติดแผ่นเดิมกลับเข้าไป หรือถ้าไม่แผ่นนั้นไม่ติดกับผิวแล้วก็เปลี่ยนแผ่นใหม่ แล้วพอครบกำหนดเดิมที่ต้องเปลี่ยน ก็ให้เปลี่ยนแผ่นใหม่อีกครั้ง หากเกิน 48 ชั่วโมง ควรกลับไปใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดใหม่อีกครั้ง ในวันแรกของการมีประจำเดือนรอบถัดไป

ประโยชน์ของ แผ่นแปะคุมกำเนิด

แผ่นแปะคุมกำเนิดนั้นจะมีประโยชน์มากกว่าวิธีการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ดังนี้

  • ไม่รบกวนกิจกรรมการมีเพศสัมพันธ์ เพราะไม่จำเป็นต้องหยุดพักเพื่อใส่ถุงยาง
  • ไม่จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากอีกฝ่ายในการคุมกำเนิด
  • เหมาะสำหรับคนขี้ลืม เพราะไม่จำเป็นต้องกินยาทุกวัน เพียงแค่แปะแผ่นยาทิ้งไว้สัปดาห์ละครั้ง
  • ปล่อยฮอร์โมนออกมาในระดับที่สม่ำเสมอ
  • เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยา
  • สามารถแกะออกเมื่อไหร่ก็ได้ และจะกลับมาตั้งครรภ์ได้ในเวลาไม่นาน

ความเสี่ยงในการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด มีดังนี้

  • ในช่วงปีแรกของการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 ใน 100 คน
  • แผ่นแปะคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดลิ่มเลือด หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งตับ และความดันโลหิตสูง
  • เลือดออกกระปริบกระปรอย
  • ระคายเคืองผิวหนัง
  • เจ็บเต้านม
  • ปวดท้องประจำเดือน
  • ปวดหัว ปวดท้อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อารมณ์แปรปรวน
  • น้ำหนักขึ้น
  • เป็นสิว
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ตกขาว
  • เหนื่อยล้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Birth control patch https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/birth-control-patch/about/pac-20384553 . Accessed November 29, 2022.

Birth Control Patch https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/birth-control-patch . Accessed November 29, 2022.

Contraceptive patch https://www.nhs.uk/conditions/contraception/contraceptive-patch/ . Accessed November 29, 2022.

Birth Control Patch https://kidshealth.org/en/teens/contraception-patch.html . Accessed November 29, 2022.

Birth Control Patch (Transdermal Contraceptive). https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-transdermal-patches. Accessed November 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลั่งข้างนอก เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ได้ผลจริงหรือ

กินยาคุม แบบผิดวิธี อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา