backup og meta

ยุง เป็นพาหะนำเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

    ยุง เป็นพาหะนำเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่

    เอชไอวี (HIV) คือเชื้อไวรัสที่เข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว จนระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และก่อให้เกิดโรคเอดส์ ซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ยุง ที่กัดผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเป็นพาหะที่นำเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้อื่นได้หรือไม่  

    เชื้อไวรัสเอชไอวี คืออะไร

    เชื้อไวรัสเอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องโดยจนอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระยะเอดส์หรือที่เรียกว่าโรคเอดส์ได้ เชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งน้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด หรือมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีก็อาจแพร่เชื้อไปยังทารกได้ นอกจากนี้ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ ก็อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้เช่นกัน

    ยุง เป็นพาหะที่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่

    เมื่อเชื้อเอชไอวีสามารถส่งผ่านทางเลือดอาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การถูกยุงกัดจะทำให้ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ เนื่องจากปากของยุงสามารถเจาะเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรงไม่ต่างจากเข็มฉีดยา

    ทั้งนี้ ยุงไม่จัดว่าเป็นพาหะที่จะสามารถนำเชื้อเอชไอวีจากผู้ติดเชื้อแพร่กระจายไปสู่อีกคนได้ เพราะเชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่เกาะตัวกับระบบภูมิคุ้มกันเพื่อทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แต่ยุงไม่มีเซลล์ที่เชื้อเอชไอวีจะเข้าไปจับตัวได้ ทำให้เมื่อยุงกัดผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี เชื้อจะสลายไปไม่สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นที่ถูกยุงกัด นอกจากนี้ ระหว่างที่ยุงกัดและดูดเลือดนั้น ยุงจะปล่อยน้ำลาย ดังนั้น เวลายุงกัด จะมีเพียงน้ำลายของยุงเท่านั้นโดยไม่สามารถปล่อยเลือดที่ได้รับมาจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายบุคคลอื่นได้แต่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นไข้เลือดออก และเกิดตุ่มนูนหรืออาการแพ้ยุงได้ 

    วิธีป้องกันเอชไอวี

    ยุงไม่ใช่พาหะที่ส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระเลือดผ่านการกถูกยุงกัด ดังนั้น ควรหาวิธีป้องกันร่างกายรับเชื้อเอชไอวีที่อาจนำไปสู่โรคเอดส์ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่อไปนี้  

    • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
    • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
    • สำหรับสตรีที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อเอชไอวี หากพบเชื้อควรเข้ารับการรักษาในทันที
    • เข้ารับการตรวจร่างกายและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา