เอดส์ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นอาการในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยผู้ป่วยจะมีเม็ดเลือดขาว CD4 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ติดเชื้อหรือป่วยเป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรงได้ง่ายกว่าคนทั่วไป รวมไปถึงมีการติดเชื้อฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ อาการในระยะแรกหลังการติดเชื้อเอชไอวี ประกอบด้วย มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ซึ่งคล้ายกับอาการของโรคหวัด ทำให้ผู้ติดเชื้อหลายคนอาจไม่ระวังหรือสงสัยว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวี และไม่ไปพบคุณหมอตั้งแต่แรก ๆ กระทั่งติดเชื้อรุนแรงขึ้นจนเข้าสู่ระยะของโรคเอดส์ในที่สุด
[embed-health-tool-ovulation]
เอดส์ คืออะไร
เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome หรือ AIDS) หมายถึง อาการในระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) ซึ่งติดต่อผ่านเลือด การถ่ายเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยระหว่างมีเพศสัมพันธ์
ผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง หรือป่วยง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าในร่างกายถูกทำลายโดยเชื้อเอชไอวี ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มการติดเชื้อฉวยโอกาส
คนปกติจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ของจะอยู่ที่ประมาณ 500-1,500 เซลล์ต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีเซลล์ดังกล่าวประมาณ 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์เมตร
เอดส์ อาการ เริ่มต้น
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จะแสดงอาการหลังได้รับเชื้อมาแล้วประมาณ 1 สัปดาห์-2 เดือน โดยประกอบด้วย
- เป็นไข้
- ปวดหัว
- อ่อนเพลีย
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- ผื่นขึ้น
- ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- เจ็บคอ
เนื่องจากอาการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกคล้ายคลึงกับอาการของโรคหวัด ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจึงอาจไม่สนใจดูแลตนเองและมักไม่ไปพบคุณหมอ
นอกจากนั้น อาการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกจะหายไปภายใน 1 สัปดาห์-1 เดือน และเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 จะค่อย ๆ ลดลง เพราะถูกไวรัสทำลาย
ในระยะที่ 2 นี้ ผู้ป่วยจะไม่พบอาการซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังติดเชื้ออยู่ แต่มีความเสี่ยงไม่สบายง่ายมากกว่าปกติ เนื่องจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แย่ลงทีละน้อย และ
การติดเชื้อระยะที่ 2 จะกินเวลานานกว่า 10 ปี หากไม่เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยเอชไอวีจะเข้าสู่อาการติดเชื้อในระยะสุดท้าย หรือที่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์
หากผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาทันเวลาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือเข้าสู่ระยะที่ 2 และดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม การติดเชื้อจะไม่แย่ลงจนกลายเป็นโรคเอดส์
ทั้งนี้ เอดส์ อาการเริ่มต้น จะมีภาวะที่บ่งบอกว่าร่างกายเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวีหรือกำลังป่วยเป็นโรคเอดส์ ดังนี้
- ต่อมน้ำเหลืองบวมที่ลำคอหรือขาหนีบ
- มีไข้อย่างต่อเนื่องเกินกว่า 10 วัน
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสาเหตุ
- มีจุดสีม่วงหรือสีคล้ำเป็นจ้ำ ๆ บนผิวหนัง
- หายใจลำบาก
- ท้องร่วงอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
- ติดเชื้อราในช่องปาก ลำคอ หรือช่องคลอด
- มีรอยช้ำบนร่างกายโดยไม่รู้สาเหตุ
- มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทต่าง ๆ เช่น ความจำเสื่อม สับสน ชัก การมองเห็นผิดปกติ
กลุ่มเสี่ยงเป็นเอสด์คือใครบ้าง
หากมีอาการที่บ่งบอกว่าอาจติดเชื้อเอชไอวี ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและรักษาก่อนที่จะลุกลามไปสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวีหรือระยะโรคเอดส์โดยเฉพาะในกรณีของกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- มีคู่นอนหลายคน
- มีคู่นอนซึ่งติดเชื้อเอชไอวี
- มีคู่นอนซึ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
- ใช้ยาเสพติดและใช้อุปกรณ์สำหรับเสพยา เช่น เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ถูกข่มขืน
- เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อย
การรักษา เอดส์ อาการ เริ่มต้น
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งยังไม่มียาสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ อย่างไรก็ตาม โรคเอชไอวีและโรคเอดส์สามารถควบคุมและจัดการได้
สำหรับผู้ติดเชื้อในระยะแรก คุณหมอจะจ่ายยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretroviral Drugs) ให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดการแบ่งตัวของไวรัสในร่างกาย ให้ระบบภูมิคุ้มกันได้รักษาตัวเอง และป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ลดลง
ยาต้านรีโทรไวรัสที่คุณหมอจ่ายให้เป็นสูตรผสมของยาหลายชนิด เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการออกฤทธิ์ต่อเชื้อเอชไอวี และป้องกันเชื้อโรคดื้อยาจากการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
โดยปกติ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องรับประทานยาทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ในปริมาณ 1-4 เม็ดตามแต่สูตรที่คุณหมอจัดให้ ไม่ควรขาดยา หรือเปลี่ยนแปลงการรับประทานยาด้วยตนเอง
การดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ อาการเริ่มต้น
เพื่อป้องกันการเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี หรือระยะที่เป็นโรคเอดส์ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลสุขภาพด้วยวิธีการต่อไปนี้ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ และช่วยให้หลับง่าย เพื่อร่างกายจะได้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่ เพราะหากนอนไม่พออาจส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ เนื่องจากมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และสำคัญต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทั้งวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และสังกะสี
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันคู่นอนติดเชื้อเอชไอวีและแพร่ไปสู่ผู้อื่น
- รับประทานยาตามที่คุณหมอจ่ายให้อย่างสม่ำเสมอ และไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อติดตามอาการทุกครั้ง
- พยายามทำจิตใจให้ผ่องใส ใช้ชีวิตตามปกติให้ได้มากที่สุด และควรบอกคนรอบข้างให้รับทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี เพื่อจะได้ช่วยดูแลและคอยสังเกตอาการ
- หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับอาการติดเชื้อเอชไอวี ไม่แน่ใจ กังวลใจเกี่ยวกับภาวะสุขภาพกาย หรือภาวะสุขภาพจิต ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง