backup og meta

ซิฟิลิสลิ้น อาการเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

    ซิฟิลิสลิ้น อาการเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม

    ซิฟิลิสลิ้น หมายถึง การติดเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิสภายในปาก ทั้งนี้ ซิฟิลิสลิ้นรักษาได้ด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกับวิธีรักษาเมื่อติดเชื้อซิฟิลิสตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น องคชาต ช่องคลอด ทวารหนัก

    ซิฟิลิสลิ้น เกิดจากอะไร

    ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม ซึ่งเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยขีดข่วน หรือบาดแผลเล็ก ๆ

    โดยทั่วไป ซิฟิลิสจะติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าทางช่องคลอดหรือทวารหนัก รวมทั้งการทำออรัลเซ็กส์ นอกจากนี้ ซิฟิลิสยังแพร่เชื้อผ่านการจูบได้ แต่พบได้ไม่บ่อย

    สำหรับซิฟิลิสลิ้นนั้น หมายถึง การติดเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัมภายในปาก และพบแผลริมแข็ง หรืออาการระยะแรกของซิฟิลิส บริเวณลิ้น

    ปกติแล้ว แผลริมแข็งจะพบหลังจากติดเชื้อแล้วประมาณ 10-90 วัน รูปร่างของแผลมีลักษณะเป็นวงกลม เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่เป็นกลุ่ม และไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

    ทั้งนี้ แผลริมแข็งจะหายไปเองภายใน 3-6 สัปดาห์ และซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะที่ 2 รวมถึงระยะถัด ๆ ไปหากไม่ได้รับการรักษา โดยจะมีอาการแบบเดียวกัน ไม่ว่าการติดเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัมจะเกิดขึ้นภายในปาก หรือตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

    ซิฟิลิสลิ้น วินิจฉัยอย่างไร

    ปกติแล้ว การสังเกตแผลริมแข็งบริเวณลิ้น รวมถึงแผลริมแข็งในปากบริเวณอื่นด้วยตาเปล่าอาจทำให้ระบุได้ยากว่าใช่อาการของโรคซิฟิลิสไหม เพราะแผลมักมีลักษณะคล้ายกับตุ่มบวมที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ

    เมื่อไปพบคุณหมอ คุณหมอจะตรวจคนไข้ด้วยการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือของเหลวจากแผลริมเข็งไปตรวจหาเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัมในห้องปฏิบัติการ

    นอกจากนี้ คุณหมออาจขอเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัมเพื่อยืนยันผลอีกด้วย

    ซิฟิลิสลิ้น รักษาได้อย่างไร

    ซิฟิลิสลิ้นรักษาได้ด้วยการฉีดยาเพนิซิลลิน (Penicillin) หรือด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

    หากซิฟิลิสอยู่ในระยะแรกหรือระยะที่ 2 คุณหมอจะฉีดยาให้ 1 ครั้ง และหากอยู่ในระยะแฝงหรือระยะสุดท้าย

    ทั้งนี้ ซิฟิลิสไม่สามารถหายเองได้ และการปล่อยโรคทิ้งไว้ จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะนำไปสู่อาการในระยะสุดท้ายของโรค ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อ การมองเห็น รวมถึงการได้ยินเสียง

    นอกจากนี้ หากเป็นโรคซิฟิลิสแล้วตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความพิการหรือเสียชีวิตได้

    ดังนั้น เมื่อทราบว่าเป็นโรคซิฟิลิส จึงควรเข้ารับการรักษาทันที

    ซิฟิลิสลิ้น ป้องกันได้อย่างไร

    การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัมในปากได้

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หรือเลือกมีคู่นอนที่ปลอดโรคเพียงคนเดียว
  • ใช้แผ่นยางอนามัยหรือ Dental Dam หากต้องการทำออรัลเซ็กส์ให้คู่นอน
  • หลีกเลี่ยงการจูบกับผู้ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นซิฟิลิสลิ้น หรือมีอาการของโรคซิฟิลิสภายในปากหรือไม่
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา