backup og meta

ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร มีอาการและการรักษาอย่างไร

ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร มีอาการและการรักษาอย่างไร

ผนังมดลูกหนา คือ อาการเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ ที่อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุลปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะมีบุตรยาก และการใช้ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยส่งผลให้มีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือดออกมากทางช่องคลอด ดังนั้น จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งมดลูก

[embed-health-tool-ovulation]

ผนังมดลูกหนา เกิดจากอะไร

ผนังมดลูกหนา เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน เนื่องจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ซึ่งอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้น โดยมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจมีส่วนทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่

  • วัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนน้อยลง ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล และส่งผลให้ผนังมดลูกหนา
  • ปัญหาสุขภาพ เช่น รอบเดือนมาไม่ปกติ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคอ้วน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ฮอร์โมนเสียสมดุล
  • การใช้ยาที่สังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ยาคุมกำเนิด ยาปรับฮอร์โมน ที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไป นำไปสู่ภาวะผนังมดลูกหนา

อาการของผนังมดลูกหนา

อาการของผนังมดลูกหนา อาจสังเกตได้ดังนี้

หากปล่อยให้เกิดภาวะผนังมดลูกหนาเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง ภาวะมีบุตรยาก อีกทั้งเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตมากผิดปกติยังอาจพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งมดลูก

การวินิจฉัยผนังมดลูกหนา

การวินิจฉัยผนังมดลูกหนา อาจทำได้ดังนี้

  • อัลตราซาวด์ เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพโครงสร้างภายในมดลูก เพื่อตรวจดูว่ามีผนังมดลูกหนาหรือไม่
  • การตรวจชิ้นเนื้อ คุณหมออาจขอเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อนำไปตรวจหาความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
  • การส่องกล้อง คุณหมออาจสอดกล้องขนาดเล็กที่เชื่อมกับสายยางเข้าไปในมดลูก เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นติ่งเนื้อ เนื้องอกในมดลูก และมะเร็งมดลูกหรือไม่

การรักษาผนังมดลูกหนา

การรักษาผนังมดลูกหนา อาจทำได้ดังนี้

  • ฮอร์โมนบำบัด หากวินิจฉัยว่าภาวะผนังมดลูกหนาเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยไม่มีภาวะสุขภาพหรือความเสี่ยงเป็นโรคใด ๆ คุณหมออาจบำบัดด้วยการให้ฮอร์โมนโปรเจสตินในรูปแบบยาเม็ด ยาฉีด หรืออุปกรณ์สวมใส่ในมดลูก เพื่อช่วยทำให้ปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุลกัน
  • การผ่าตัดมดลูก เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะผนังมดลูกหนาตัวผิดปกติและพบว่าเซลล์ผนังมดลูกเพิ่มจำนวนมากเกินไป และมีแนวโน้มที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ยาก โดยคุณหมออาจพิจารณาให้ผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งมดลูก แต่ก็อาจทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป

การป้องกันผนังมดลูกหนา

การป้องกันผนังมดลูกหนา อาจทำได้โดยการเข้ารับการตรวจภายใน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดู มดลูกและรังไข่ เป็นประจำทุกปี เพื่อหาความผิดปกติและตรวจคัดกรองโรค ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นผนังมดลูกหนา รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ ผู้ที่รับประทานยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว อาจจำเป็นต้องรับประทานฮอร์โมนโปรเจสตินร่วมด้วย เพื่อปรับระดับให้ฮอร์โมนสมดุล อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนรับประทาน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Endometrial Hyperplasia. https://www.acog.org/womens-health/faqs/endometrial-hyperplasia.Accessed September 26, 2022

Management of Endometrial Hyperplasia (Green-top Guideline No. 67). https://www.rcog.org.uk/guidance/browse-all-guidance/green-top-guidelines/management-of-endometrial-hyperplasia-green-top-guideline-no-67/.Accessed September 26, 2022

What to Know About Endometrial Hyperplasia. https://www.webmd.com/women/what-to-know-about-endometrial-hyperplasia.Accessed September 26, 2022

pelvic exam. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/pelvic-exam/about/pac-20385135.Accessed September 26, 2022

Pelvic Exam. https://www.webmd.com/women/guide/pelvic-examination.Accessed September 26, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้องอกในมดลูก มีสาเหตุมาจากอะไร

มดลูกอักเสบ สาเหตุ อาการ การรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา