backup og meta

ยาปรับฮอร์โมน เป็นอย่างไร ชนิดเดียวกับยาคุมกำเนิดหรือไม่

ยาปรับฮอร์โมน เป็นอย่างไร ชนิดเดียวกับยาคุมกำเนิดหรือไม่

ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน มักจะมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนภายในร่างกาย เพียงแต่ปัญหานั้นแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ยาปรับฮอร์โมน เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายกลับมาปกติ

[embed-health-tool-ovulation]

ยาปรับฮอร์โมน คืออะไร

ยาปรับฮอร์โมนเป็นยาที่ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาสมดุล หรือที่เรียกกันว่า ยาคุมกำเนิด ดังนั้น ยาปรับฮอร์โมนจะช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ลดอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน อีกทั้งยังช่วยคุมกำเนิดได้ด้วย 

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน มีคุณสมบัติในการช่วยปรับฮอร์โมนในหญิงวัยเจริญพันธุ์และช่วยในการคุมกำเนิด โดยยาคุมกำเนิด ประกอบด้วย ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด ได้แก่ Ethinyl Estradiol ชนิดนี้คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายผู้หญิง และ Progestin ชนิดนี้คล้ายกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน 

ยาปรับฮอร์โมน ใช้เพื่ออะไร

นอกจากการช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยาปรับฮอร์โมนจะช่วยบรรเทาอาการที่ผู้หญิงมักจะเกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน เช่น

  • บรรเทาอาการปวดท้องน้อย
  • ช่วยลดการเกิดสิวหรือหน้ามัน 
  • ทำให้ประจำเดือนมาปกติและสม่ำเสมอ
  • อารมณ์คงที่ ไม่ค่อยหงุดหงิดง่าย
  • ลดอาการบวมน้ำ
  • ปรับฮอร์โมนให้สมดุล ลดฮอร์โมนเพศชาย จึงช่วยเรื่องปัญหาขนดกที่เกิดขึ้น

ประเภทของยาปรับฮอร์โมน

ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดมี 2 แบบ

  1. ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด ประกอบด้วย ยาฮอร์โมน 21 เม็ดและเม็ดแป้ง 7 เม็ด โดยจะเรียงลำดับตั้งแต่ 1-28 ควรเริ่มกินเม็ดแรกในวันที่มีรอบเดือนวันแรก จากนั้นให้กินยาเรียงตามตัวเลขไปเรื่อย ๆ เมื่อกินยาปรับฮอร์โมนจนหมด สามารถเริ่มแผงใหม่ได้ทันที
  2. ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด ประกอบด้วย ยาปรับฮอร์โมนในปริมาณเท่ากัน เริ่มกินยาเม็ดแรกในวันที่ประจำเดือนมาวันแรก โดยกินยาตามวันที่ระบุบนแผงยา แล้วกินยาเรียงตามลูกศรติดต่อกันจนครบ 21 เม็ด แล้วค่อยเว้น 7 วัน จากนั้นเริ่มกินแผงใหม่ในวันที่

ข้อควรระวังของการกินยาปรับฮอร์โมน

  • การกินยาปรับฮอร์โมน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียนศีรษะ 
  • กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาโรคตับและโรคไต ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง
  • ยาปรับฮอร์โมนอาจมีตัวอย่างที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ จึงควรศึกษาขัอบ่งชี้ก่อนใช้
  • หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ก่อนซื้อยาปรับฮอร์โมน

ยาปรับฮอร์โมนมีปริมาณฮอร์โมนที่แตกต่างกัน ควรศึกษาคุณสมบัติแล้วเลือกตามวัตถุประสงค์ในการใช้ยาปรับฮอร์โมน จึงควรศึกษายาปรับฮอร์โมนแต่ละชนิดให้ครบถ้วน ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำการใช้ยาให้เหมาะสมและปลอดภัย

ความแตกต่างระหว่างยาปรับฮอร์โมนกับยาปรับฮอร์โมนเพศ

ยาปรับฮอร์โมนเพศหรือฮอร์โมนเพศทดแทน (Hormone Replacement Therapy) แพทย์จะใช้ในการรักษาและบรรเทาการขาดฮอร์โมนเพศ เช่น กรณีการผ่าตัดรังไข่ ทำให้รังไข่ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงและผลิตฮอร์โมนหายไป การให้ยาชนิดนี้จะชดเชยการทำงานของรังไข่ที่ถูกตัดไป

เช่นเดียวกับหญิงวัยหมดประจำเดือนที่แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนชนิดเดียวกันเพื่อรักษาอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวนจากภาวะหมดประจำเดือน และลดปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอด โดยแพทย์จะพิจารณาใช้ฮอร์โมนชนิดรวมกับผู้ที่ยังไม่ได้ผ่าตัดมดลูก และใช้เฉพาะฮอร์โมนชนิดเอสโตรเจนเดี่ยวในผู้ที่ผ่าตัดมดลูกออกแล้ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/535/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/ 

https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=41

https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/QA_full.php?id=3291 

https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/m_magazine/35440/2576/file_download/13c86f9e5803a96a4e340ea7dac5a445.pdf

https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/m_magazine/37421/3838/file_download/a6123a54eb690653a7f9311087116e05.pdf 

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/08/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร

กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา ผิดปกติหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 17/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา