backup og meta

Chlamydia คืออะไร มีอาการอย่างไร และรักษาได้อย่างไร

Chlamydia คืออะไร มีอาการอย่างไร และรักษาได้อย่างไร

Chlamydia (คลาไมเดีย) คือ เชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั้งในอสุจิของผู้ชายหรือในช่องคลอดของผู้หญิง ที่สามารถติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ได้หากไม่มีการป้องกัน โดยบางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่หากสังเกตว่ามีอาการแสบร้อนอวัยวะเพศขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น สีตกขาวผิดปกติ ปวดอัณฑะ หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว

[embed-health-tool-ovulation]

Chlamydia คือ

Chlamydia (คลาไมเดีย) คือ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคหนองในเทียม ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดและพบได้ในสารคัดหลั่งหรืออสุจิของผู้ชายและภายในช่องคลอดผู้หญิง ที่อาจได้รับเชื้อแบคทีเรียผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก และทวารหนักโดยไม่ป้องกัน นอกจากนี้ สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นหนองในเทียมยังเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปยังทารกในระหว่างการคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอดที่ทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อที่ตา เป็นโรคปอดบวมอย่างรุนแรงได้

อาการของการติดเชื้อ Chlamydia

อาการของการติดเชื้อ Chlamydia ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หลังจากร่างกายได้รับเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ อาจทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้

อาการติดเชื้อคลาไมเดียในผู้หญิง

  • รู้สึกแสบร้อนและคันในช่องคลอดและรอบนอกช่องคลอด
  • ปวดท้องเกร็งและอาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • สีตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวสีเหลือง ตกขาวสีเทา ตกขาวสีเขียว หรือตกขาวสีใสและสีขาวแต่ไหลปริมาณมาก
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น ปัสสาวะแสบขัด
  • มีเลือดออกกระปริบกระปอย
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง

อาการติดเชื้อคลาไมเดียในผู้ชาย

  • มีของเหลวใสหรือขุ่น คล้ายหนองไหลออกจากปลายองคชาต
  • เจ็บแสบองคชาตระหว่างปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะขัด
  • หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอักเสบ
  • ปวดอัณฑะและอัณฑะบวม

อันตรายจาก Chlamydia

เชื้อแบคทีเรีย Chlamydia อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

  • การติดเชื้อบริเวณต่อมลูกหมากและอัณฑะ เชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียสามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณท่อขดอัณฑะและต่อมลูกหมากได้ ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ อัณฑะบวม รู้สึกปวดอัณฑะหรือและต่อมลูกหมาก
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ เชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียอาจส่งผลให้มดลูก ท่อนำไข่เกิดการติดชื้อนำไปสู่อาการปวดอุ้งเชิงกราน บางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย อีกทั้งหากมีการติดเชื้อระดับรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อรับยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำโดยตรง
  • ภาวะไขข้ออักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหนองในเทียมอาจมีความเสี่ยงสูงที่เสี่ยงต่อข้ออักเสบ ซึ่งมักส่งผลกับข้อต่อ ดวงตารวมถึงท่อปัสสาวะ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก การติดเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียอาจส่งผลให้เกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่และรอบมดลูกทำให้การฝังตัวของตัวอ่อนนอกมดลูกหรือบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อนำออก ป้องกันท่อนำไข่แตก
  • ภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อมดลูกเป็นแผลและท่อนำไข่อุดตัน จึงอาจนำไปสู่การมีบุตรยาก

วิธีรักษา Chlamydia คืออะไร

วิธีรักษา Chlamydia อาจทำได้ดังนี้

  • ปรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ โดยควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งและเลือดขนาดที่เหมาะสม อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนและไม่ควรใช้สิ่งของที่อาจมีการสัมผัสกับอวัยวะเพศร่วมกัน เช่น เซ็กส์ทอย กางเกง ผ้าขนหนู เพื่อช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้อาการหนองในเทียมที่เป็นอยู่แย่ลง รวมถึงการเสี่ยงการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ 
  • อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลาย ใช้เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยควรรับประทานยา 1 กรัมครั้งเดียว (250 มก. 4 เม็ด ครั้งเดียว) ผลข้างเคียงของอะซิโธรมัยซินอาจส่งผลให้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น แต่หากมีอาการอื่น ๆ ในระดับรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยล้า ตาพร่ามัว หายใจผิดปกติ ผื่นขึ้น ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว
  • ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีในรูปแบบเม็ดใช้เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยควรรับประทานวันละ 100 มก. 2 ครั้ง หลังอาหารประมาณ 1-2 ชั่วโมง พร้อมกับดื่มน้ำตามให้มาก ๆ  ผลข้างเคียงของยานี้อาจทำให้อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น  ปากแห้ง ลิ้นบวม ระคายเคืองช่องคลอด ลมพิษ ตาพร่ามัว หายใจลำบากและอุจจาระเป็นเลือด ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ในระหว่างการรักษาควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียจะหายไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ คู่นอนทุกคนจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยแม้ว่าจะไม่มีอาการอะไรก็ตามเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ เพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

โรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์น่ารู้ : การติดเชื้อคลาไมเดีย. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1083.Accessed January 25, 2023  

Chlamydia – CDC Basic Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/chlamydia/stdfact-chlamydia.htm.Accessed January 25, 2023  

Overview-Chlamydia. https://www.nhs.uk/conditions/chlamydia/.Accessed January 25, 2023  

Chlamydia trachomatis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/symptoms-causes/syc-20355349.Accessed January 25, 2023  

Chlamydia. https://www.webmd.com/sexual-conditions/chlamydia#1.Accessed January 25, 2023 

Azithromycin. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697037.html.Accessed January 25, 2023  

Doxycycline Calcium Syrup – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-14449/doxycycline-oral/details.Accessed January 25, 2023  

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

STD (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ไม่ต้องมีเซ็กส์ก็เสี่ยงติดได้

ยารักษาหนองใน มีอะไรบ้าง และการดูแลตัวเองเมื่อเป็นหนองใน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา