backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

โรคหนองใน สัญญาณเตือน การรักษาและการป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/01/2024

โรคหนองใน สัญญาณเตือน การรักษาและการป้องกัน

โรคหนองใน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปากมดลูก และท่อปัสสาวะ พบได้มากในช่วงวัยรุ่น 15-24 ปี ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการคันอวัยวะเพศ เจ็บแสบขณะปัสสาวะ อีกทั้งยังมีโอกาสถ่ายทอดไปยังทารกระหว่างการคลอดส่งผลให้ทารกมีแผลบนหนังศีรษะ และอาจเสี่ยงต่อการตาบอด เพื่อความปลอดภัย จึงควรตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ และควรเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

สาเหตุของโรคหนองใน

โรคหนองใน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) และโรคหนองในเทียม (Chlamydia) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) โดยมีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ มีดังนี้

สัญญาณเตือนของโรคหนองใน

สัญญาณเตือนของโรคหนองใน อาจสังเกตได้ดังนี้

  • เจ็บแสบขณะปัสสาวะ
  • อาการคันบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก
  • ตกขาวปริมาณมาก สีตกขาวผิดปกติ เช่น สีเขียว สีเหลือง หรือเป็นมูกน้ำหนอง และอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดท้อง และปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • มีหนองไหลออกจากปลายองคชาต
  • ปวดอัณฑะ
  • อัณฑะบวม

บางคนอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น ปวดตา ตาไวต่อแสง น้ำตาไหล เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ข้อต่ออักเสบจากการติดเชื้อ ข้อบวมแดง และรู้สึกปวดโดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหว หากสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคหนองใน

คุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดังนี้

  • เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) คือยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียโดยคุณหมอจะฉีดยาเข้าสู่กล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ วันละ 1-2 ครั้ง ตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น ยาเซฟไตรอะโซนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ผิวบวมแดงในบริเวณที่ฉีดยา หายใจลำบาก ใบหน้าบวม ลิ้นบวม แต่หากมีอาการเหนื่อยล้า ปวดท้อง สีปัสสาวะเปลี่ยน เจ็บแสบขณะปัสสาวะ ปวดเมื่อยร่างกาย ท้องร่วง หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วหลังฉีดยา ควรพบคุณหมอทันที
  • ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) เป็นยาในรูปแบบรับประทาน โดยคุณหมออาจกำหนดให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร วันละ 1 ครั้ง ผลข้างเคียงของยาอะซิโธรมัยซิน เช่น ปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ตาพร่ามัว มีปัญหาการได้ยิน ปัสสาวะสีเข้ม ปวดท้องรุนแรง วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ผิวหนังและดวงตาเปลี่ยนสี ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อเปลี่ยนยารักษาโรคหนองใน
  • ยาด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) คุณหมออาจให้รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร -2 ชั่วโมง วันละ 1-2 ครั้ง และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ อย่างน้อย 240 มิลลิลิตร ยานี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง และอาจส่งผลให้เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก หากมีอาการรุนแรง เช่น อาเจียนไม่หยุด การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องร่วงเป็นเวลานาน ควรพบคุณหมอทันที นอกจากนี้ ยาด็อกซีไซคลินอาจทำให้ความดันในศีรษะสูง ซึ่งพบได้มากในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ดังนั้น หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรแจ้งคุณหมอให้ทราบทันที

การป้องกันโรคหนองใน

การป้องกันโรคหนองใน อาจทำได้ดังนี้

  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • สอบถามประวัติโรคติดต่อทางสัมพันธ์ของคู่นอน หรือสังเกตอาการเบื้องต้น หากคู่นอนมีอาการเจ็บแสบขณะปัสสาวะ คันอวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
  • ล้างอวัยวะเพศอย่างถูกวิธีโดยผู้หญิงควรล้างและเช็ดด้วยทิชชู่หรือผ้าสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนัก
  • ตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/01/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา