backup og meta

หัวนมใหญ่ เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

หัวนมใหญ่ เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

หัวนมเป็นส่วนหนึ่งของเต้านม โดยเป็นช่องทางระบายน้ำนมออกจากร่างกายเพศหญิงเพื่อเป็นอาหารให้แก่ทารก ทั้งนี้ หัวนมของผู้หญิงรวมถึงผู้ชายแต่ละคนจะมีขนาดที่แตกต่างกัน ผู้หญิงบางรายอาจมี หัวนมใหญ่ เนื่องจาก กำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรืออยู่ในวัยทอง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติแต่มักก่อให้เกิดความกังวล ไม่มั่นใจ อย่างไรก็ตาม ควรสำรวจตนเองเป็นประจำ หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยควรพบคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมะเร็ง

[embed-health-tool-ovulation]

หัวนมคืออะไร

หัวนมเป็นส่วนหนึ่งของเต้านม ลักษณะเป็นจุกเล็ก ๆ ซึ่งยื่นออกจากเต้านมแต่ละข้าง โดยอยู่ตรงกึ่งกลางของปานนมหรือวงหัวนม มักมีสีเดียวกับปานนมหรือสีเข้มกว่า

หัวนมทำหน้าที่เป็นช่องทางให้น้ำนมในร่างกายเพศหญิงที่ผลิตจากเต้านมไหลออกมานอกร่างกายเพื่อเป็นอาหารให้แก่ทารก

นอกจากนี้ หัวนมยังเป็นอวัยวะที่ไวต่อการสัมผัส เนื่องจากเป็นศูนย์รวมเส้นประสาท การสัมผัสกับหัวนมตอนก่อนหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์จึงอาจช่วยเร้าความรู้สึกหรือกระตุ้นความต้องการทางเพศได้

นอกจากนั้น การสัมผัสหัวนมเป็นการกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกผูกพันกับคู่นอนหรือบุตรของตัวเองมากขึ้น

ขนาดปกติของ หัวนม คือเท่าไร

หัวนมมีลักษณะเป็นจุกเล็ก ๆ อยู่กลางปานนม ซึ่งโดยทั่วไป หัวนมของแต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี ขนาด หรือรูปร่างหัวนม ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ พันธุกรรม วัย และระดับฮอร์โมนในร่างกาย

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของหัวนมและปานนม ตีพิมพ์ในวารสาร Aesthetic Plastic Surgery ปี พ.ศ. 2552 นักวิจัยได้ศึกษาเต้านมของผู้หญิง 300 ราย จำนวน 600 เต้า พบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวนมเฉลี่ยเท่ากับ 1.3 เซนติเมตร ความสูงของหัวนมเฉลี่ยเท่ากับ 0.9 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางของปานนมโดยเฉลี่ยคือ 4 เซนติเมตร

หัวนมใหญ่ ผิดปกติหรือไม่

การมีหัวนมใหญ่กว่าค่าเฉลี่ย ไม่จัดเป็นความผิดปกติ นอกจากนั้น หัวนมอาจใหญ่ขึ้นได้เมื่อร่างกายเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะสุขภาพบางอย่าง ได้แก่

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เรื่องพัฒนาการของหัวนมระหว่างตั้งครรภ์ เผยแพร่ในวารสาร Journal of Human Lactation ปี พ.ศ. 2556 นักวิจัยได้ตรวจเต้านมของหญิงตั้งครรภ์ 56 ราย เป็นจำนวน 9 ครั้ง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเต้านมและปานนมระหว่างตั้งครรภ์ ปรากฏผลต่าง ๆ ดังนี้

  • ในการตรวจครั้งแรก หัวนมสูงเฉลี่ย 0.93 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์ของหัวนมและปานนมเฉลี่ย 1.36 เซนติเมตร
  • ในการตรวจครั้งสุดท้าย หัวนมสูงเฉลี่ย 1.12 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์ของหัวนมและปานนมเฉลี่ย 1.59 เซนติเมตร ตามลำดับ

จึงสรุปได้ว่า ระหว่างการตั้งครรภ์ ขนาดความสูงและความใหญ่ของหัวนมรวมทั้งปานนมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

หัวนม แบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ

หากหัวนมมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการผิดปกติควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจคัดกรองโรค ดังนี้

  • หัวนมมีสารคัดหลั่งหรือน้ำเหลืองไหลออกมา
  • หัวนมบอดกะทันหัน
  • หัวนมใหญ่ขึ้นผิดปกติแม้ว่าไม่ได้มีภาวะสุขภาพใด ๆ เช่น ไม่ตั้งครรภ์ ไม่ได้ให้นมบุตร
  • หัวนมและปานนมมีผิวขรุขระกว่าปกติ
  • หัวนมข้างใดข้างหนึ่งเปลี่ยนสี เช่น จากชมพูไปเป็นสีม่วง จากน้ำตาลไปเป็นสีดำ
  • คัน มีผื่นขึ้น บวมแดง ผิวลอกแตกเป็นขุยบริเวณหัวนมและปานนม
  • ผิวหนังบริเวณหัวนมและปานนมหนาขึ้น
  • คลำเจอก้อนบริเวณเต้านม
  • รู้สึกเจ็บเต้านม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Morphologic study of nipple-areola complex in 600 breasts. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18626683/. Accessed November 2, 2022

Pilot study of normal development of nipples during pregnancy. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23824173/. Accessed November 2, 2022

“หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”. https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A1-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4/. Accessed November 2, 2022

Breast and Nipple Discharge: What It Could Mean. https://www.webmd.com/women/guide/breast-nipple-discharge. Accessed November 2, 2022

Why Do My Nipples Hurt?. https://www.webmd.com/women/why-do-nipples-hurt. Accessed November 2, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2024

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ็บเต้านม เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายหรือไม่

นมเล็ก ผิดปกติไหม เพิ่มขนาดเต้านมได้หรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 30/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา