backup og meta

ช่วยตัวเองทุกวัน อันตรายหรือไม่ และวิธีการช่วยตัวเองอย่างปลอดภัย

ช่วยตัวเองทุกวัน อันตรายหรือไม่ และวิธีการช่วยตัวเองอย่างปลอดภัย

การช่วยตัวเองเพื่อสำเร็จความใคร่หรือทำให้ตัวเองไปถึงจุดสุดยอดได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคู่นอน นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดโอกาสการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์แล้ว ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์/เอชไอวี ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม เริม หูดหงอนไก่ อย่างไรก็ตาม หาก ช่วยตัวเองทุกวัน มากกว่าวันละ 1 ครั้ง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหากสังเกตว่าช่วยตัวเองบ่อยเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

[embed-health-tool-ovulation]

ช่วยตัวเองทุกวัน อันตรายหรือไม่

การช่วยตัวเองทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เป็นเรื่องปกติและอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยคลายเครียด และให้ร่ายกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข แต่สำหรับบางคนที่ช่วยตัวเองทุกวันมากกว่า 2 ครั้ง/วัน อาจก่อให้เกิดอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจได้ ดังนี้

  • การหมกมุ่นหรือเสพติดเซ็กส์จนควบคุมความถี่การช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ จนอาจต้องปรึกษาคุณหมอ
  • อาจทำให้รู้สึกเจ็บช่องคลอด องคชาต และทวารหนัก บางคนอาจมีอาการบวมน้ำ ผิวหนังองคชาตถลอก ช่องคลอดเป็นแผล ที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อและทำให้มีอาการเจ็บแสบระหว่างปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ได้
  • ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้า โดยเฉพาะการช่วยตัวเองในตอนดึก เพราะอาจทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไม่มีแรงในวันถัดไป
  • สำหรับผู้ที่มีคนรัก การช่วยตัวเองทุกวันอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรักได้ ทำให้ความใกล้ชิดลดลงหรืออาจส่งผลให้คนรักขาดความมั่นใจเรื่องเซ็กส์เพราะอาจรู้สึกว่าตนเองไม่มีแรงดึงดูดทางเพศมากเพียงพอ

ควรพบคุณหมอทันทีหากรู้สึกว่าการช่วยตัวเองทุกวันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รู้สึกไม่มีความสุข หงุดหงิด รู้สึกผิดหวังหลังสำเร็จความใคร่ หรือรู้สึกว่าต้องการช่วยตัวเองมากกว่ามีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก หรืออยากช่วยตัวเองจนไม่ต้องการออกไปพบปะสังคมภายนอก เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพจิตที่ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ของการช่วยตัวเองทุกวัน

แม้ว่าการช่วยตัวเองทุกวันมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ แต่หากช่วยตัวเองอย่างเหมาะสม ก็อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การช่วยตัวเองทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม เอดส์​​/​เอชไอวี หนองใน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เพราะโรคดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือการสัมผัสกับเชื้อจากสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโดยตรง

  • ลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

การช่วยตัวเองทุกวันโดยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น อาจช่วยลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและอาจช่วยลดปัญหาการทำแท้งได้

  • ช่วยลดปัญหาช่องคลอดแห้ง

การช่วยตัวเองทุกวันอาจทำให้เกิดกระตุ้นอารมณ์ทางเพศและหลั่งน้ำหล่อลื่นออกมาช่วยให้ช่องคลอดมีความชุ่มชื้นลดปัญหาช่องคลอดแห้ง และบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน เพราะในช่วงวัยนี้ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ทำให้ลดการผลิตสารคัดหลั่งที่เพิ่มความชุมชื้นให้ช่องคลอด

  • อาจช่วยผ่อนคลายความเครียด

การช่วยตัวเองทุกวันอาจทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือเรียกอีกอย่างว่าสารแห่งความสุข ที่ช่วยบรรเทาความเครียด และความเจ็บปวดทางจิตใจ

  • อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

การช่วยตัวเองทุกวันอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายได้  จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Urology เมื่อปี พ.ศ. ที่ศึกษาเกี่ยวกับความถี่ในการหลั่งน้ำอสุจิและความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความถี่ในการหลั่งน้ำอสุจิจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายจำนวน 31,925 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2553 พบว่า ผู้ชายที่หลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 21 ครั้ง/เดือน อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับผู้ที่หลั่งน้ำอสุจิเพียง 4-7 ครั้ง/เดือน อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อข้อมูลที่แน่ชัด

ช่วยตัวเองทุกวันอย่างไรให้ปลอดภัย

วิธีการช่วยตัวเองทุกวันให้ปลอดภัยอาจทำได้ ดังนี้

  • ควรตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาดของซอกเล็บอยู่เสมอ ก่อนนำมือสอดใส่ในช่องคลอดหรือจับอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกสะสมใต้เล็บ และป้องกันไม่ให้เล็บขีดข่วนผิวหนังจนเกิดแผล
  • ควรรักษาสุขอนามัยทั้งก่อนและหลังการช่วยตัวเอง ด้วยการล้างมือและล้างอวัยวะเพศให้สะอาด รวมถึงล้างเซ็กส์ทอยให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค ช่วยป้องกันอาการระคายเคืองผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ และช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และภาวะช่องคลอดอักเสบ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your Guide to Masturbation. https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/masturbation-guide.Accessed September 20, 2022

Masturbation. https://www.sexualhealthscotland.co.uk/sex-relationships/types-of-sex/masturbation.Accessed September 20, 2022

WHAT IS MASTURBATION?. HTTPS://WWW.RXLIST.COM/MASTURBATION/ARTICLE.HTM.Accessed September 20, 2022

Male Masturbation: 5 Things You Didn’t Know. https://www.webmd.com/men/guide/male-masturbation-5-things-you-didnt-know.Accessed September 20, 2022

Female Masturbation: 5 Things You May Not Know. https://www.webmd.com/women/features/female-masturbation-5-things-know.Accessed September 20, 2022

Ejaculation Frequency and Risk of Prostate Cancer: Updated Results with an Additional Decade of Follow-up. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5040619/.Accessed September 20, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ชายช่วยตัวเอง มีประโยชนต์ต่อสุขภาพอย่างไร

วิธีช่วยตัวเอง ทำได้อย่างไรบ้าง และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา