backup og meta

โรคซิฟิลิส การรักษา และการป้องกัน

โรคซิฟิลิส การรักษา และการป้องกัน

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษาโรคซิฟิลิสอาจทำให้โรคนี้หายขาดได้ ซึ่งประเภทของการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค แต่หากไม่เข้ารับการรักษาโรคชนิดนี้อาจสร้างปัญหาร้ายแรงในอนาคต รวมถึงอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการสมองเสื่อม

[embed-health-tool-ovulation]

การรักษาโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสต้องได้รับการรักษาจึงจะหายขาดได้ และมักใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคซิฟิลิส โดยประเภทของการรักษาอาจขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนี้

  • หากเป็นโรคซิฟิลิสน้อยกว่า 2 ปี มักได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่ก้น หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบเม็ด 10-14 วัน
  • หากเป็นโรคซิฟิลิสที่กินเวลานานเกิน 2 ปี มักรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) 3 ครั้งที่ก้นทุกสัปดาห์ หรือรับประทานยาปฏิชีวนะแบบเม็ด 28 วัน
  • กรณีร้ายแรงที่ส่งผลต่อสมองอาจได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ทุกวันโดยฉีดเข้าทางก้นหรือหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือให้ยาปฏิชีวนะ 28 วัน

ผลข้างเคียงของการรักษา

ในบางคนอาจมีผลข้างเคียงหลังการรักษา โดยอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ แต่อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่นานและอาจรักษาได้ด้วยยาพาราเซตามอล สำหรับบางคนอาจเกิดอาการแพ้หลังจากฉีดเพนิซิลลิน คุณหมออาจเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างรักษา

หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่ยังรักษาอาจเพิ่มโอกาสการเกิดโรคซ้ำ และสามารถแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นได้

การรักษาโรคซิฟิลิสระหว่างตั้งครรภ์

การรักษาโรคซิฟิลิสในผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอายุครรภ์ ดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิสน้อยกว่า 2 ปี และอยู่ในช่วยไตรมาสที่ 1 หรือ 2 มักได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่ก้น แต่ถ้าอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 จะฉีด 2 ครั้งเว้นระยะห่างกัน 1 สัปดาห์
  • หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิสมานานกว่า 2 ปี มักได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) 3 ครั้งทุกสัปดาห์

การป้องกันโรคซิฟิลิส

ซิฟิลิสเป็นโรคที่แพร่กระจายจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือทางปาก ดังนั้น วิธีที่จะช่วยป้องกันให้คุณห่างไกลจากโรคซิฟิลิส อาจได้แก่

สำหรับผู้ที่กำลังเป็นโรคซิฟิลิส ควรป้องกันการแพร่กระจายโรคไปยังผู้อื่น ด้วยวิธีเหล่านี้

  • บอกคู่นอนว่าเคยมีประวัติเป็นโรคซิฟิลิส เพื่อที่จะได้เข้ารับการตรวจและรักษาได้
  • อย่ามีเพศสัมพันธ์กับใครจนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น
  • เมื่อเสร็จสิ้นจากการรักษา ให้ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How is syphilis prevented?. https://www.plannedparenthood.org/learn/stds-hiv-safer-sex/syphilis/how-is-syphilis-prevented. Accessed August 2, 2021

Sexually Transmitted Diseases (STDs). https://www.cdc.gov/std/syphilis/treatment.htm. Accessed August 2, 2021

Syphilis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/syphilis/diagnosis-treatment/drc-20351762. Accessed August 2, 2021

Treatment. https://www.nhs.uk/conditions/syphilis/treatments/. Accessed August 2, 2021

Syphilis. https://www.nhs.uk/conditions/syphilis/. Accessed August 2, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/01/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ อาการและรักษา

คุณติดเชื้อ "ซิฟิลิส" ได้อย่างไร และจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 03/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา