backup og meta

Seminal Vesicle คือ อะไร และสำคัญกับร่างกายอย่างไร

Seminal Vesicle คือ อะไร และสำคัญกับร่างกายอย่างไร

ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ หรือ Seminal Vesicle คือ อวัยวะส่วนหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชายที่มีหน้าที่ช่วยให้อสุจิเจริญเติบโตและแข็งแรง พร้อมไปผสมกับไข่ของผู้หญิงเพื่อทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรดูแลรักษาสุขภาพเพื่อให้ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-bmr]

Seminal Vesicle คือ อะไร

Seminal Vesicle คือ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ หรือถุงน้ำเชื้อ มีลักษณะเป็นท่อยาวที่ขดคล้ายกับรังผึ้งจำนวน 1 คู่ ที่อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาใกล้กับฐานของกระเพาะปัสสาวะและอยู่เหนือทวารหนัก ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อส่งอสุจิและท่อปัสสาวะ โดยอาจมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตร และยาวไม่เกิน 2 นิ้ว

หน้าที่ของ Seminal Vesicle คืออะไร

ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิมีหน้าที่หลั่งของเหลวที่ประกอบไปด้วย น้ำตาลฟรุกโตส วิตามินซี และโปรตีนโกลบูลิน (Globulin) เพื่อเป็นอาหารให้กับอสุจิ ทำให้อสุจิเจริญเติบโตสมบูรณ์และแข็งแรงเพียงพอที่จะว่ายผ่านช่องคลอดที่มีความเป็นกรด และช่วยให้อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ในช่องคลอดเพื่อรอผสมกับไข่ของผู้หญิงได้นานขึ้น นอกจากนี้ภายในต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิยังมีกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอดกล้ามเนื้อเรียบนี้จะหดตัวและผลักดันน้ำอสุจิให้ไหลไปยังท่อนำอสุจิ ก่อนที่จะถูกปล่อยออกสู่ภายนอกผ่านทางท่อปัสสาวะ กลายเป็นการหลั่งน้ำอสุจิ

โรคที่เกี่ยวข้องกับ Seminal Vesicle มีอะไรบ้าง

โรคที่เกี่ยวข้องกับต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ อาจมีดังต่อไปนี้

  • ก้อนนิ่วในต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ คือก้อนนิ่วขนาดเล็กและแข็งที่เกิดขึ้นภายในต่อมสร้างน้ำอสุจิ ที่อาจส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัว ปัสสาวะลำบากและมีเลือดปนกับปัสสาวะ
  • โรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น หนองในเทียม หนองในแท้ โรคซิฟิลิส และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมสร้างน้ำอสุจิทำให้เกิดการอักเสบได้
  • ซีสต์ สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วนของร่างกายรวมถึงต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ซึ่งอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพภายในเพื่อคัดกรองโรคและหาความผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากปล่อยให้ซีสต์มีขนาดใหญ่มากเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะลำบากและหลั่งอสุจิลำบากได้

นอกจากนี้ หากสังเกตว่ามีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ปริมาณน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาลดลง มีเลือดปนกับน้ำอสุจิ ปวดอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะลำบาก มีบุตรยาก ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็วเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาทันที

การดูแลสุขภาพของ Seminal Vesicle

การดูแลสุขภาพของต่อมสร้างน้ำอสุจิ อาจทำได้ดังต่อไปนี้

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจทำให้ติดเชื้อในต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิและอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะในระบบสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 แก้ว/วัน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของอสุจิ และทำให้มีปริมาณน้ำเชื้ออสุจิและตัวอสุจิลดลง
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพื่อบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารที่มีไขมันไม่ดีสูง และควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ป้องกันโรคอ้วนที่อาจส่งผลให้ปริมาณน้ำเชื้ออสุจิและตัวอสุจิลดลงได้
  • หยุดสูบบุหรี่เพราะสารพิษในบุหรี่อาจส่งผลต่อสุขภาพของอสุจิและอาจลดปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิได้
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจคัดกรองโรค

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Seminal Vesicle: What to Know. https://www.webmd.com/men/seminal-vesicle-what-to-know.Accessed December 08, 2022 

Seminal Vesicle. https://my.clevelandclinic.org/health/body/22433-seminal-vesicle.Accessed December 08, 2022 

Function of seminal vesicles and their role on male fertility. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11753468/.Accessed December 08, 2022 

The Male Reproductive System. https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/male-reproductive-system.Accessed December 08, 2022 

MALE REPRODUCTIVE SYSTEM DISEASES. https://www.dmu.edu/medterms/male-reproductive-system/male-reproductive-system-diseases/.Accessed December 08, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อัณฑะ มีหน้าที่อะไร ป้องกันโรคเกี่ยวกับอัณฑะอย่างไร

อวัยวะเพศชาย แข็งตอนเช้า เรื่องปกติหรือมีอารมณ์ทางเพศ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา