backup og meta

ทานาคา ประโยชน์ต่อผิวและข้อควรระวังในการใช้

ทานาคา ประโยชน์ต่อผิวและข้อควรระวังในการใช้

ทานาคา เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชีย พบมากในตอนกลางของประเทศพม่า ทานาคาเป็นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม มักนำเปลือกไม้มาผ่านกรรมวิธีบดหรือฝนจนกลายเป็นผงสีเหลืองนวล นิยมนำมาทาหน้าหรือทาตัว เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่น ลดจุดด่างดำ ลดฝ้า และอาจช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีได้อีกด้วย

[embed-health-tool-bmi]

ประโยชน์ของทานาคาต่อสุขภาพผิว

ทานาคา เป็นพืชสมุนไพรที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพผิว โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของทานาคาในการส่งเสริมสุขภาพผิว ดังนี้

  1. อาจช่วยต้านการอักเสบของผิวหนัง

เปลือกทานาคาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น เอทานอล (Ethanol) คลอโรฟอร์ม (Chloroform) ปิโตรเลียมอีเทอร์ (Petroleum Ether) โพลีฟีนอล (Polyphenols) วิตามินอี วิตามินซี ซึ่งเปลือกเป็นส่วนที่นิยมนำมาบดให้เป็นผง ใช้สำหรับทาหน้าและทาตัว โดยสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้อาจช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปกป้องและรักษาสุขภาพผิว เช่น ป้องกันสิว ลดริ้วรอย ป้องกันแสงแดด ต้านแบคทีเรีย

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Multidisciplinary Digital Publishing Institute เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของทานาคา พบว่า เปลือกทานาคาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงหลายชนิด เช่น โพลีฟีนอล วิตามินอี วิตามินซี ฟีนอลิก (Phenolic) ไดฟีนิล-พิคริลไฮดราซิล (Diphenyl-Picrylhydrazyl หรือ DPPH) กรดแกลลิก (Gallic Acid) กรดไพโรแคทีคอล (Pyrocatechol) กรดแทนนิก (Tannic Acid) เอทานอล คลอโรฟอร์ม ปิโตรเลียมอีเทอร์ ซึ่งอาจมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบของผิวหนัง ป้องกันสิว ต้านแบคทีเรีย ลดริ้วรอย ปกป้องผิวจากแสงแดด และอาจมีประโยชน์ในการดูแลรักษาสุขภาพผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. อาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและรักษาสิว

ทานาคาอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบและอาจมีคุณสมบัติช่วยต้านแบคทีเรียได้ จึงอาจช่วยป้องกันการเกิดสิวได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Multidisciplinary Digital Publishing Institute เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของทานาคา โดยการทดลองใช้ทานาคาในการต้านจุลชีพ 2 ชนิด คือ เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้ออีโคไล (E. coli) พบว่า ทานาคาสามารถต้านจุลชีพได้ในปริมาณเล็กน้อย แต่สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในทานาคาสามารถช่วยต้านการอักเสบของผิว ซึ่งอาจมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. อาจช่วยลดผดผื่นคัน

ผงทานาคาอาจใช้ทาผิวเพื่อลดอาการผดผื่นคันที่ผิวหนังได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารประกอบเมนทอล (Menthol) ที่มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการคันของผิวหนัง

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Integrative Medicine เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันแสงแดดและการใช้งานอื่น ๆ ของทานาคา พบว่า ทานาคามีสารประกอบเมนทอลซึ่งเป็นสารประกอบที่เป็นส่วนผสมในยารักษาอาการคันหลายชนิด เช่น พราโมซีน (Pramoxine) นอกจากนี้ ทานาคายังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบของผิวหนังได้เช่นกัน ดังนั้น การใช้ผงทานาคาทาผิวจึงอาจช่วยรักษาอาการผดผื่นคันได้

  1. อาจช่วยลดจุดด่างดำและฝ้า

ผงทานาคามีคุณสมบัติช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดซึ่งอาจช่วยลดการเกิดฝ้าบนผิวหนังได้ นอกจากนี้ ทานาคายังมีสารประกอบอย่างไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) และเมทานอล (Methanol) ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีผิว จึงอาจมีประโยชน์ในการปกป้องและลดจุดด่างดำบนผิวหนังได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Multidisciplinary Digital Publishing Institute เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของทานาคา พบว่า สารสกัดจากผงทานาคาหลายชนิด เช่น ไดคลอโรมีเทน เมทานอล มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในการสร้างเม็ดสีผิว ดังนั้น การใช้ผงทานาคาทาหน้าและทาตัวอาจช่วยลดจุดด่างดำและฝ้าบนผิวหนังได้ นอกจากนี้ คุณสมบัติที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดของทานาคายังอาจช่วยลดการเกิดฝ้าที่มีสาเหตุมาจากแสงแดดได้เช่นกัน

  1. อาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

ผงทานาคาถูกนำมาใช้ทาหน้าและทาตัว เพื่อปกป้องผิวจากการทำร้ายของแสงแดด ซึ่งสารสกัดมาร์เมซิน (Marmesin) จากผงทานาคาอาจช่วยดูดซับรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อผิว ซึ่งอาจชะลอความเสื่อมสภาพของผิว ป้องกันริ้วรอยและความเหี่ยวย่นได้

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Integrative Medicine เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันแสงแดดและการใช้งานอื่น ๆ ของทานาคา พบว่า สารสกัดมาร์เมซินจากทานาคามีคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากแสงแดด โดยช่วยดูดซับรังสียูวีเอ (UVA) และช่วยลดริ้วรอย ความเหี่ยวย่นของผิวหนังที่เกิดจากแสงแดดได้

ข้อควรระวังในการใช้ทานาคา

ปัจจุบันผงทานาคาเป็นที่รู้จักและผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงอาจมีความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จากทานาคาอาจเป็นของปลอม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวได้หากใช้เป็นระยะเวลานาน วิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อทานาคาได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น

  1. ทานาคาปลอมมักผสมด้วยดินสอพอง ผู้บริโภคอาจทดสอบโดยการบีบน้ำมะนาวลงไปในผงทานาคา หากผงทานาคาเกิดฟองอาจเป็นไปได้ว่าเป็นของปลอม
  2. เนื้อสัมผัสของผงทานาคาจะมีลักษณะหยาบเนื่องจากถูกบดด้วยมือ แต่หากมีเนื้อสัมผัสที่เนียนละเอียดคล้ายแป้ง อาจเป็นไปได้ว่าเป็นของปลอม มีส่วนผสมของดินสอพองหรือผ่านการอบเชื้อจนคุณประโยชน์ของทานาคาลดลง
  3. ผงทานาคาจะมีกลิ่นเย็น ๆ หอมอ่อน ๆ ไม่ฉุน แต่หากมีกลิ่นหอมรุนแรงอาจเป็นไปได้ว่ามีส่วนผสมของแป้งหอม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sun protection and other uses of Thanakha in Myanmar. https://www.pulsus.com/scholarly-articles/sun-protection-and-other-uses-of-thanakha-in-myanmar-3639.html#:~:text=(Table%201).-,Of%20these%2C%20the%20most%20commonly%20reported%20reason%20for%20applying%20thanakha,reported%20reasons%20for%20applying%20thanakha. Accessed June 8, 2022

Thanaka (H. crenulata, N. crenulata, L. acidissima L.): A Systematic Review of Its Chemical, Biological Properties and Cosmeceutical Applications. https://www.mdpi.com/2079-9284/8/3/68/htm. Accessed June 8, 2022

Analysis of the Antimicrobial Properties of Thanaka, a Burmese Powder Used to Treat Acne. https://www.scirp.org/journal/paperinformation.aspx?paperid=77589. Accessed June 8, 2022

Biological activities and safety of Thanaka (Hesperethusa crenulata) stem bark. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20804839/. Accessed June 8, 2022

Biological activities and safety of Thanaka (Hesperethusa crenulata) stem bark. https://www.researchgate.net/publication/46094807_Biological_activities_and_safety_of_Thanaka_Hesperethusa_crenulata_stem_bark. Accessed June 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทาครีมกันแดดที่รอยสัก วิธีรักษารอยสักให้สวยแม้โดนแดด

มอยเจอร์ไรเซอร์ ประโยชน์และวิธีเลือกให้เหมาะกับผิว


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา