backup og meta

วิธีลดเหนียง ลดปัญหาผิวหนังหย่อนคล้อย ทำได้อย่างไร

วิธีลดเหนียง ลดปัญหาผิวหนังหย่อนคล้อย ทำได้อย่างไร

เหนียง คือไขมันที่สะสมบริเวณใต้คาง ทำให้ผิวหนังมีลักษณะหย่อนคล้อย จนดูคล้ายคาง 2 ชั้น ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ผิวเสื่อมสภาพเกิดคอลลาเจนหย่อนคล้อย ดังนั้น เพื่อช่วยให้ผิวดูกระชับขึ้นและเพิ่มความมั่นใจ จึงควรศึกษาถึง วิธีลดเหนียง ที่อาจทำได้ด้วยตัวเองหรือใช้เทคนิคการแพทย์เข้าช่วย

[embed-health-tool-bmr]

เหนียงเกิดจากอะไร

เหนียง คือ ผิวหนังบริเวณใต้คางและต้นคอที่ห้อยย้อยลงมา ที่อาจเกิดจากการสะสมของไขมัน เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดี ขาดการออกกำลังกาย หรือเกิดจากผิวหนังเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้บางคนรู้สึกเป็นกังวลและขาดความมั่นใจได้ แต่การปฏิบัติตามวิธีลดเหนียงอย่างเหมาะสมอาจช่วยแก้ไขปัญหาเหนียงได้

วิธีลดเหนียง

วิธีลดเหนียง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

วิธีลดเหนียงด้วยตัวเอง

1. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ เช่น การวิ่งเหยาะ วิ่งบนลู่วิ่ง การเดินเร็ว กระโดดเชือก ปั่นจักรยาน เป็นวิธีลดเนียงที่อาจช่วยเผาผลาญไขมันบริเวณใต้คางและช่วยลดไขมันส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมถึงอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย

2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ผลิตภัณฑ์จากนมและเครื่องดื่มที่มีไขมันต่ำและไม่เติมน้ำตาล ไขมันดี เช่น ผักใบเขียว แครอท ฟักทอง ส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโด สับปะรด กล้วย มะเขือเทศ อกไก่ ปลาแซลมอน ถั่วเหลือง เต้าหู้ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก ป้องกันไขมันสะสมใต้คางจนเกิดเหนียง และให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ผิว และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนในชั้นผิวมีส่วนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ชะลอการเสื่อมสภาพของผิวที่อาจส่งผลให้ผิวหย่อนคล้อย

3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง

ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาลและไขมันสูง เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว อาหารทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจทำให้มีไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงบริเวณใต้คาง ดังนั้น จึงควรอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์ว่าอาหารเหล่านั้นมีน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูงเกินไปหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น

วิธีลดเหนียงด้วยเทคนิคทางการแพทย์

  • การทำเลเซอร์ยกกระชับ เหมาะในคนที่มีความหย่อนคล้อยเหนียงระยะเริ่มต้น
  • การดูดไขมัน เป็นวิธีลดเหนียงโดยการกำจัดไขมันเฉพาะจุด โดยคุณหมออาจทำการฉีดยาชาและผ่าตัดผิวหนังเล็กน้อยบริเวณใต้คางหรือเหนียงที่ต้องการดูดไขมัน และทำการสอดท่อยางเพื่อดูดไขมันออก
  • การฉีดเมโส เป็นวิธีลดเหนียงโดยใช้กรดดีออกซีโคลิก (Deoxycholic Acid) เพื่อช่วยสลายไขมันบริเวณใต้คาง ซึ่งอาจจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดหลายครั้ง โดยแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 1 เดือน ผลข้างเคียงสำหรับการลดเหนียงด้วยวิธีนี้คืออาจมีอาการบวม ช้ำ ผิวแดง และรู้สึกเจ็บบริเวณที่ฉีด ซึ่งหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่หากสังเกตว่ามีอาการปวดศีรษะ อาการคัน ใบหน้าบวม กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง รับประทานอาหารลำบาก ยิ้มไม่เท่ากัน ควรเข้าพบคุณหมอในทันที
  • การผ่าตัด อาจเป็นวิธีลดเหนียงอย่างรวดเร็ว โดยคุณหมอจะฉีดยาชาบริเวณที่ต้องการผ่าตัดเพื่อนำผิวหนังส่วนเกินออก เพื่อช่วยให้ผิวหนังดูกระชับ ไม่พับเป็นชั้นบริเวณใต้คาง แต่อาจส่งผลให้ผิวตึงเล็กน้อยและอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Healthy Weight, Nutrition, and Physical Activity. https://www.cdc.gov/healthyweight/physical_activity/index.html.Accessed December 19, 2022 

Double Chin Surgery: What You Need to Know. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/double-chin-surgery-what-you-need-to-know.Accessed December 19, 2022 

Healthy eating for a healthy weight. https://www.cdc.gov/healthyweight/healthy_eating/index.html.Accessed December 19, 2022 

Losing weight. https://www.cdc.gov/healthyweight/losing_weight/index.html.Accessed December 19, 2022 

Lose weight. https://www.nhs.uk/better-health/lose-weight/.Accessed December 19, 2022 

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หน้าหย่อนคล้อย เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

เป็นสิวที่คาง สาเหตุ วิธีรักษา และการป้องกัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 03/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา