backup og meta

สิวเม็ดข้าวสาร อาการ สาเหตุ การรักษา

สิวเม็ดข้าวสาร อาการ สาเหตุ การรักษา

สิวเม็ดข้าวสาร หรือสิวข้าวสาร เป็นสิวเม็ดเล็ก ๆ บนผิวหนัง มักปรากฏขึ้นบริเวณจมูก คาง แก้ม  พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด แต่อาจเกิดขึ้นกับวัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน และอาจหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม หากสิวเม็ดข้าวสารมีอาการเรื้อรังและรบกวนการใช้ชีวิต อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษา

[embed-health-tool-bmi]

สิวเม็ดข้าวสาร คืออะไร 

สิวเม็ดข้าวสาร หรือสิวข้าวสาร หรืออาจเรียกว่าสิวหิน เป็นสิวขนาดเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตรที่อยู่ใต้ผิวหนัง  สาเหตุอาจเกิดจากเคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาอุดตันอยู่ใต้ผิวหนัง มักปรากฏบริเวณจมูก ดวงตา แก้ม หน้าผากและคาง  

อาการของ สิวเม็ดข้าวสาร 

สิวเม็ดข้าวสารมักขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาว หรือสีเหลืองขนาดเล็กตามส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น จมูก แก้ม เปลือกตา หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นบริเวณลำตัว มักไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดใด ๆ และอาจหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่หากสิวข้าวสารไม่บรรเทาลงภายใน 3 เดือน ควรไปพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนังเพื่อรับการรักษา 

สาเหตุของ สิวเม็ดข้าวสาร 

สิวเม็ดข้าวสารอาจพัฒนามาจากสะเก็ดผิวหนังใต้ผิวหนัง รวมถึงสิวเม็ดข้าวสารอาจมีปัจจัยสาเหตุดังนี้ 

  • กรรมพันธุ์ 
  • รูขุมขนอุดตันจากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว 
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การใช้เครื่องสำอางที่อาจก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
  • ผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยด์ในระยะยาว 

การรักษาสิวเม็ดข้าวสาร

สิวเม็ดข้าวสารอาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล แต่ถ้าหากรู้สึกเป็นกังวลกับสิวเม็ดข้าวสารอาจสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังนี้ 

  • ยาแต้มสิว รูปแบบเจลหรือครีมที่มีส่วนประกอบ เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acid) เรตินอยด์ (Retinoid) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
  • บำบัดด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลวทำให้สิวข้าวสารแข็งตัว อาจช่วยให้สิวอาจหลุดออกมาได้ 

ทั้งนี้ การรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ควรใช้กับเด็กทารกแรกเกิด เนื่องจากมีผิวบอบบาง การรักษาสิวเม็ดข้าวสารในเด็กทารก อาจใช้เพียงการล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นและสบู่เด็กเพื่อขจัดสิ่งสกปรก แล้วซับผิวเบา ๆ ให้แห้ง และรอให้สิวเม็ดข้าวสารหลุดออกไปเอง 

การป้องกัน สิวเม็ดข้าวสาร

สิวเม็ดข้าวสารอาจป้องกันได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้ 

  • หมั่นล้างหน้าเป็นประจำ เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกและอาจช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้
  • หลีกเลี่ยงการทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะอาจส่งผลให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน และเกิดเป็นสิวขึ้น 
  • ทาครีมกันแดดที่ปราศจากน้ำมัน พาราเบน (Paraben) เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง และที่สำคัญควรเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพผิวหนังของตนเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to Know About Milia. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-to-know-about-milia. Accessed July 25, 2022.

Milia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/milia/symptoms-causes/syc-20375073. Accessed July 25, 2022.

Milia. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560481/. Accessed July 25, 2022.

Profuse congenital milia in a family. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19250409/. Accessed July 25, 2022.

Milia. https://www.pcds.org.uk/clinical-guidance/milia. Accessed July 25, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดสิว ช่วยให้ผิวใส ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการดูแลตนเอง

สิวที่ไม่มีหัว สาเหตุ อาการและการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา