backup og meta

เป็นสิวที่ก้น เกิดจากอะไรและรักษาได้อย่างไรบ้าง

เป็นสิวที่ก้น เกิดจากอะไรและรักษาได้อย่างไรบ้าง

เป็นสิวที่ก้น อาจเกิดจากการอุดตันในรูขุมขนของแบคทีเรีย เซลล์ผิวเก่า และสิ่งสกปรก ที่ส่งผลให้รูขุมขนอักเสบและระคายเคืองที่รูขุมขนจนเกิดเป็นตุ่มสิว นอกจากนี้ การมีตุ่มขึ้นบริเวณก้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของฝี จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอ เพื่อช่วยให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-bmr]

เป็นสิวที่ก้น เกิดจากอะไร

สิ่วที่ก้น เกิดจากการอุดตันในรูขุมขนที่ทำให้รูขุมขนอักเสบจากสิ่งสกปรก เซลล์ผิวเก่า และการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas Aeruginosa) หรือสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ที่ส่งผลให้เกิดตุ่มสิวบริเวณก้น อีกทั้งยังอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เกิดจากฮอร์โมนเพศแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เพราะอาจทำให้ต่อมไขมันขยายและกระตุ้นการผลิตไขมันมากนำไปสู่การอุดตันในรูขุมขน จนก่อให้เกิดสิวที่ก้น
  • ขนคุด เนื่องจากเส้นขนที่อยู่ใต้ผิวหนัง ไม่สามารถโผล่พ้นผิวหนังได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดรูขุมขนอักเสบและเกิดเป็นตุ่มนูนหรือก่อให้เกิดสิวที่ก้น มีหนอง และรู้สึกเจ็บมากเมื่อถูกเสียดสีจากกางเกงชั้นใน
  • การดูแลสุขอนามัยไม่ดี การทำความสะอาดก้นไม่สะอาด อาจทำให้คราบ ขี้ไคล เซลล์ผิวหนังเก่า สิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรียสะสมในรูขุมขนบริเวณก้น นำไปสู่รูขุมขนอุดตันและก่อให้เกิดสิว อีกทั้งการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารเคมีรุนแรงอาจทำให้รูขุมขนบริเวณก้นเกิดการระคายเคือง และก่อให้เกิดสิวหรือสิวที่ก้นมีอาการอักเสบ ที่ควรเข้ารับการรักษาหรือใช้ยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างรวดเร็วเพื่อลดอาการเจ็บปวด 
  • สวมใส่กางเกงรัดรูปหรือกางเกงชั้นในที่แน่น อาจทำให้ผิวหนังบริเวณก้นถูกเสียดสีและมีการระบายความชื้นได้ไม่ดี ทำให้รูขุมขนระคายเคืองและอักเสบนำไปสู่การเกิดสิวที่ก้น

ประเภทของสิวที่อาจขึ้นบริเวณก้น

ประเภทของสิวที่เกิดขึ้นบริเวณก้น อาจมีดังนี้

  • สิวตุ่มแดง มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง ๆ ไม่มีหนองอยู่ข้างใน แต่อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเมื่อถูกสัมผัส
  • สิวตุ่มหนอง มีลักษณะคล้ายกับสิวตุ่มแดง แต่จะมีหนองสีขาวอยู่กึ่งกลางสิว ซึ่งหากสัมผัส ถูกเสียดสีหรือมีแรงกดจากการนั่งก็อาจทำให้สิวแตกและรู้สึกเจ็บปวดได้
  • สิวหัวดำ เป็นสิวหัวเปิดที่มีลักษณะเป็นตุ่มสิวสีดำ ไม่อักเสบ ซึ่งเกิดจากน้ำมัน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และแบคทีเรียอุดตันในรูขุมขน โดยสิวหัวดำนั้นเกิดจากปฏิกิริยากับออกซิเจนทำให้หัวสิวเปลี่ยนเป็นสีดำ
  • สิวหัวขาว มีลักษณะเป็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการอุดตันของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว น้ำมัน และแบคทีเรียภายในรูขุมขน
  • สิวหัวช้าง เป็นสิวอักเสบชนิด ที่ขนาดของสิวอาจมีขนาดใหญ่ ด้านในสิวเต็มไปด้วยหนองและทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส
  • สิวซีสต์ เป็นสิวประเภทรุนแรงที่สุด มีลักษณะคล้ายฝี ภายในมีหนองสะสมอยู่ในปริมาณมาก จนอาจรู้สึกเจ็บเมื่อนั่งหรือถูกเสียดสี และหนองอาจแตกออกมาได้ จึงควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและลดการอักเสบ

การรักษาเมื่อ เป็นสิวที่ก้น

การรักษาเมื่อเป็นสิวที่ก้น อาจทำได้ดังนี้

  • ประคบอุ่น ด้วยการนำผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นและประคบบริเวณที่เป็นสิวเพื่อช่วยให้ระบายหนองจากสิวได้โดยไม่ต้องบีบหรือเจาะและบรรเทาอาการปวดบวม 
  • การเจาะสิว เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวที่ก้นประเภทตุ่มหนอง หรือฝี เพื่อทำการระบายหนองออก โดยวิธีนี้จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อและแผลเป็น
  • การฉีดสเตียรอยด์ คุณหมออาจฉีดยาสเตียรอยด์เข้าสู่สิวที่ก้นโดยตรง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวอักเสบไม่มีหัว และไม่สามารถระบายหนองได้ เพื่อช่วยให้สิวยุบตัวและบรรเทาความเจ็บปวด
  • ยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทาน เช่น เตตราไซคลีน (Tetracycline) แมคโครไลด์ (Macrolide) ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวที่ก้นระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรง ใช้เพื่อช่วยชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ควรใช้ร่วมกับยาทา เช่น เบนโซอิล เพอร์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสิวได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงยาเตตราไซคลีน เนื่องจากอาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์
  • เบนโซอิล เพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีในรูปแบบครีม เจล และสบู่ ใช้เพื่อช่วยหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและลดการอักเสบของรูขุมขน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวไม่รุนแรงจนถึงระดับปานกลาง โดยทาบริเวณที่เป็นสิววันละ 1-2 ครั้ง และควรเริ่มจากปริมาณน้อย เพื่อทดสอบว่าอาการระคายเคืองจากยาหรือไม่ ก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นตามคำแนะนำของคุณหมอ
  • ยาเรตินอยด์ เช่น เตรทติโนอิน (Tretinoin) ทาซาโรทีน (Tazarotene) อะดาพาลีน (Adapalene) เป็นยากลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอ ที่มีในรูปแบบครีม เจล และโลชั่น ใช้เพื่อช่วยป้องกันรูขุมขนอุดตัน โดยในช่วงแรกควรทายาเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จนกว่าผิวจะชินกับยา แล้วจึงปรับเป็นทาทุกวันสม่ำเสมอหรือตามที่คุณหมอแนะนำ
  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) เช่น กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) อะซีเล็กซ์ (Azelex) และไฟนาเซีย (Finacea) ใช้เพื่อช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและป้องกันรูขุมขนอุดตัน โดยทาบริเวณที่เป็นผื่นวันละ 1-2 ครั้ง
  • แดปโซน (Dapsone) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวอักเสบที่ก้น เพื่อช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ บวมแดงของสิว ซึ่งมีในรูปแบบเจลทาเฉพาะที่ โดยควรทาวันละ 2 ครั้ง หรือตามที่คุณหมอแนะนำ

วิธีป้องกันสิวขึ้นที่ก้น

วิธีป้องกันสิวขึ้นที่ก้น มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงรัดรูปและควรเลือกกางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย เพื่อให้มีการระบายอากาศได้ดี ลดความอับชื้นที่ช่วยลดความเสี่ยงเป็นสิวที่ก้น
  • อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณก้น เพราะอาจมีการสะสมของเหงื่อ แบคทีเรีย และสิ่งสกปรก และควรเลือกสบู่สูตรอ่อนโยนเพื่อลดการระคายเคืองของรูขุมขนที่นำไปสู่การเกิดสิว
  • ควรโลชั่นทาผิวที่มีส่วนประกอบของกรดอัลฟ่าไฮดรอกซี (AHA) เพราะอาจช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าออก ลดการอุดตันจากเซลล์ผิวเก่าในรูขุมขนและลดการระคายเคือง
  • หลังจากขับถ่ายหรือปัสสาวะ ควรล้างก้นให้สะอาดและใช้กระดาษชำระซับให้แห้งสนิท เพื่อลดความอับชื้นที่อาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียนำไปสู่การติดเชื้อในรูขุมขนและส่งผลให้เกิดสิว
  • หลีกเลี่ยงการขัดผิวบริเวณก้นรุนแรงหรือบ่อยครั้ง เพราะอาจทำให้รูขุมขนระคายเคือง จนเกิดการอักเสบที่เสี่ยงต่อการเกิดสิวที่ตูด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acne. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047.Accessed January 18, 2023   

ACNE RESOURCE CENTER. https://www.aad.org/public/diseases/acne.Accessed January 18, 2023   

Natural acne treatment: What’s most effective?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/expert-answers/natural-acne-treatment/faq-20057915.Accessed January 18, 2023   

ACNE: TIPS FOR MANAGING. https://www.aad.org/public/diseases/acne/skin-care/tips#treatment.Accessed January 18, 2023   

HOW TO TREAT DIFFERENT TYPES OF ACNE. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/ACNE/DIY/TYPES-BREAKOUTS.Accessed January 18, 2023   

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตําแหน่งสิวบอกโรค ได้หรือไม่ ควรดูแลผิวอย่างไรเพื่อป้องกันสิว

สิวอุดตัน ใช้อะไรดี ที่ช่วยรักษาสิวและป้องกันสิวขึ้นซ้ำ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา