backup og meta

เกลื้อนเกิดจากอะไร รักษาให้หายได้หรือไม่

เกลื้อนเกิดจากอะไร รักษาให้หายได้หรือไม่

เกลื้อนเกิดจากอะไร? เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia) โดยทั่วไป เกลื้อนพบบ่อยในผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการของผู้ที่เป็นเกลื้อน คือ ผิวหนังเป็นจุดหรือปื้นที่มีสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ใช่โรคอันตรายแต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อเป็นเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อรับยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีทั้งชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน ยาน้ำ ครีม และแชมพูสำหรับใช้ภายนอก

[embed-health-tool-bmi]

เกลื้อนเกิดจากอะไร

เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของมนุษย์โดยบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร

โดยปกติ เชื้อราชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ยกเว้นหากเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ เนื่องจากมีปัจจัยไปกระตุ้น เช่น

นอกจากนี้ เกลื้อนแตกต่างจากกลาก เพราะกลากเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับเชื้อรามาลาสซีเซียที่เป็นสาเหตุของเกลื้อน

ทั้งนี้ เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในพื้นที่เขตร้อน หรือในช่วงฤดูร้อน และพบมากในวัยรุ่นเพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกทางผิวหนังมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ

นอกจากนี้ เกลื้อนยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอกว่าคนทั่วไป

เกลื้อน มีอาการอย่างไร

เมื่อป่วยเป็นโรคเกลื้อน ผิวหนังจะมีจุดหรือปื้นสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมถึงเกิดอาการคันและผิวลอก แห้งเป็นขุย

ทั้งนี้ โรคที่มีอาการคล้ายกับเกลื้อนคือโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจนทำให้เม็ดสีผิวมีจำนวนน้อยกว่าปกติ และโรคผื่นกุหลาบ ซึ่งยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด

หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับโรคเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัย โดยคุณหมออาจสำรวจผิวหนังบริเวณที่เป็นด้วยตาเปล่าหรือขูดผิวหนังบางส่วนไปตรวจการติดเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์

เกลื้อน รักษาได้หรือไม่

เกลื้อนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทาครีมหรือยาสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ เมื่อไปพบคุณหมอหรือเภสัชกร อาจได้รับยาต้านเชื้อราต่าง ๆ ดังนี้

  • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ในรูปแบบของครีม เจล หรือแชมพู
  • ไซโคลพิรอกซ์ (Ciclopirox) ในรูปแบบของครีม เจล หรือแชมพู
  • ฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ในรูปแบบยาเม็ดหรือยาน้ำสำหรับรับประทาน
  • ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) ในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน
  • ซีลีเนียม ซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) ในรูปแบบของโลชั่นหรือแชมพู

หลังจากรักษาเกลื้อนจนหายดีแล้ว สีผิวมักยังไม่กลับเป็นปกติในทันที อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในการฟื้นฟูสีผิวและสภาพผิวให้กลับมาเป็นปกติ

เกลื้อนป้องกันได้อย่างไร

การป้องกันโรคเกลื้อน อาจทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม
  • หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด  อากาศร้อนอบอ้าว
  • ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ หรือเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่น เสื้อผ้าที่ทอจากฝ้าย
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อราเป็นครั้งคราว เช่น ฟอกตัวด้วยแชมพูที่มีซีลีเนียม ซัลไฟด์หรือคีโตโคนาโซลเป็นส่วนผสมเดือนละ 1 ครั้ง

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tinea versicolor. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tinea-versicolor/diagnosis-treatment/drc-20378390. Accessed August 8, 2022

Tinea Versicolor. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tinea-versicolor-cause-symptoms-treatments. Accessed August 8, 2022

เกลื้อน. https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=21. Accessed August 8, 2022

Pityriasis rosea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pityriasis-rosea/symptoms-causes/syc-20376405. Accessed August 8, 2022

Vitiligo. Overview. https://www.nhs.uk/conditions/vitiligo/#:~:text=Vitiligo%20is%20a%20long%2Dterm,hands%2C%20and%20in%20skin%20creases. Accessed August 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

กลาก เกลื้อน ต่างกันอย่างไร

กลากเกลื้อนเกิดจากอะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 29/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา