backup og meta

วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ ทำได้อย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2024

    วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ ทำได้อย่างไร

    กลาก เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา ส่งผลทำให้ผิวหนังมีผื่นเป็นวงกลมจุดสีน้ำตาล สีแดง หรือสีชมพูบนผิวหนัง มีขุยบริเวณขอบผื่น และมีอาการคัน วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ อาจต้องเริ่มจากการดูแล รักษา และป้องกันปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหรือทำให้กลากที่เป็นอยู่แย่ลง ด้วยการป้องกันไม่ให้ผิวติดเชื้อ ไม่สัมผัสกับดิน ต้นไม้ สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ การรักษาให้ตรงจุดด้วยตัวเองและการรักษาด้วยยาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงอาจช่วยให้กลากหายได้เร็วขึ้น

    วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ ด้วยตัวเอง    

    การปรับเปลี่ยนวิธีดูแลผิวเมื่อเป็นโรคกลาก ดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดอาการคันและบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังได้

    • รับประทานยาแก้แพ้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน ได้แก่ ยารักษาโรคภูมิแพ้ เซทิริซีน (Cetirizine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
    • ทาครีม โลชั่น หรือขี้ผึ้ง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิว ป้องกันผิวแห้ง
    • หลีกเลี่ยงการเกา เพื่อป้องกันผิวระคายเคือง ถลอก หรือมีรอยขีดข่วน หากคันหรือระคายผิว อาจใช้มือลูบบริเวณที่คันแทน และตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสที่ผิวหนังจะเป็นแผลหากเผลอเกา
    • สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล เลือกที่เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศได้ดี ไม่คับแน่นจนเสียดสีกับผิว
    • หากเหงื่อออกเยอะ ไม่ควรปล่อยให้หมักหมมไว้นาน ควรรีบล้างทำความสะอาด

    วิธีรักษากลากให้หายเร็วๆ โดยคุณหมอ

    หากต้องการให้โรคกลากหายเร็วขึ้น อาจต้องเข้ารับการรักษาจากคุณหมอร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม โดยคุณหมออาจรักษาโรคกลากด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    การรักษาด้วยยา

  • ยารักษาการติดเชื้อ คุณหมออาจสั่งยาปฏิชีวนะกลุ่มยาฆ่าเชื้อราในรูปแบบครีมหรือยารับประทานร่วมกับยาฟอกฆ่าเชื้อ เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อบนผิวหนังที่ส่งผลให้เป็นโรคกลาก
  • การป้องกันโรคกลาก

    การป้องกันโรคกลากและอาการคันบนผิวหนัง สามารถทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน ต้นไม้ สัตว์ที่ติดโรค ด้วยมือเปล่า
  • ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ
  • หากเหงื่อออกมากให้รีบล้างทำความสะอาด
  • ไม่เดินเท้าเปล่า และควรผึ่งรองเท้าให้แห้ง ซักให้สะอาด ถ้ามีเหงื่อที่เท้าออกมาก
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา