backup og meta

AHA คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพผิว

AHA คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพผิว

AHA เป็นกรดที่ได้มาจากผลไม้ตามธรรมชาติ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล มักนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ไม่ว่าจะเป็นเซรั่ม โทนเนอร์ และครีมที่อาจช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและป้องกันการเกิดสิว 

[embed-health-tool-bmr]

AHA คืออะไร 

AHA คือ กรดอัลฟ่าไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) เป็นกรดสังเคราะห์ที่ได้จากผลไม้ เช่น กรดซิตริก (Citric Acid) จากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จำพวกส้ม มะนาว เป็นต้น กรดแลคติก (Lactic Acid) จากนมเปรี้ยว มะเขือเทศ กรดมาลิก (Malic Acid) จากแอปเปิ้ล มักนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับผิวแห้ง ผิวที่มีริ้วรอยและสิว โดยอาจช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและลดการอักเสบ รวมถึงกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวใหม่ให้เรียบเนียน กระจ่างใสขึ้น 

ประเภทของ AHA 

กรดอัลฟ่าไฮดรอกซี อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 

  • กรดซิตริก (Citric Acid) จากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว 
  • กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) จากอ้อย
  • กรดแลคติก (Lactic Acid) จากนมเปรี้ยว มะเขือเทศ 
  • กรดมาลิก (Malic Acid) จากแอปเปิ้ล 
  • กรดทาร์ทาริก (Tartaric Acid) จากองุ่น

ประโยชน์ของกรดอัลฟ่าไฮดรอกซี

กรดอัลฟ่าไฮดรอกซี อาจมีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยผลัดเซลล์ผิวและช่วยให้ผิวกระจ่างใส โดยกรดอัลฟ่าไฮดรอกซีอาจช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกจากชั้นผิวหนัง และเผยผิวใหม่ที่เรียบเนียน กระจ่างใส แม้ร่างกายจะมีกระบวนการผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอาจทำให้การผลัดเซลล์ผิวตามธรรมชาติช้าลง หากมีเซลล์ผิวที่ตายสะสมมากเกินไป อาจส่งผลทำให้เกิดริ้วรอยจุดด่างดำ และสิวได้ 
  • ช่วยป้องกันการเกิดสิว สิวเกิดจากรูขุมขนอุดตันด้วยเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ไขมัน และแบคทีเรีย การขัดผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกรดอัลฟ่าไฮดรอกซี อาจช่วยขจัดสิ่งอุดตันและลดขนาดของรูขุมขน รวมถึงอาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง อย่างไรก็ตาม อาจต้องใช้เป็นประจำประมาณ 2-3 เดือนถึงจะเห็นผล
  • ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว คอลลาเจนเป็นไฟเบอร์ที่อุดมไปด้วยโปรตีน ช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิว ทำให้ผิวเปล่งปลั่ง แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น และโดนรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ก็อาจทำให้ผิวสูญเสียคอลลาเจน ส่งผลให้ผิวหย่อนคล้อย

ทั้งนี้ ควรใช้กรดอัลฟ่าไฮดรอกซีในปริมาณที่เหมาะสม โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) แนะนำผลิตภัณฑ์กรดอัลฟ่าไฮดรอกซีที่มีความเข้มข้นโดยรวมน้อยกว่า 10% เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อผิวหนังได้ เช่น ระคายเคือง คัน ผิวหนังไหม้ 

ข้อควรระวังในการใช้กรดอัลฟ่าไฮดรอกซี

  • สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย กรดอัลฟ่าไฮดรอกซีอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง เช่น คัน รอยแดง ไหม้ ควรหยุดการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นทันที และควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา
  • ทาผิว กรดอัลฟ่าไฮดรอกซีควรมีความเข้มข้นไม่เกิน 10% หากความเข้มข้นสูงถึง 15% ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนังเท่านั้น 

ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกรดอัลฟ่าไฮดรอกซีควรระมัดระวังในการออกไปในที่กลางแจ้ง เนื่องจากกรดอัลฟ่าไฮดรอกซีที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้ผิวไวต่อรังสี UV มากขึ้น ดังนั้น ควรทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันแดดเผา รวมถึงผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดอัลฟ่าไฮดรอกซีว่าสามารถใช้ได้หรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alpha Hydroxy Acids (Ahas). https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-977/alpha-hydroxy-acids-ahas. Accessed December 21, 2021

Alpha Hydroxy Acids. https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/alpha-hydroxy-acids. Accessed December 21, 2021

HOW TO FADE DARK SPOTS IN SKIN OF COLOR. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-secrets/routine/fade-dark-spots. Accessed December 21, 2021

Comparative effectiveness of alpha-hydroxy acids on skin properties. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19245467/. Accessed December 21, 2021

Over-the-counter acne products: What works and why. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/in-depth/acne-products/art-20045814. Accessed December 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/01/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝีคัณฑสูตร คือ อะไร อาการและวิธีการรักษามีอะไรบ้าง

ฉีดวิตามินผิวดีอย่างไรและเสี่ยงหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 25/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา