backup og meta

หยุด! 6 พฤติกรรมต่อไปนี้ที่ทำให้โรค ตับอักเสบ แย่ลง

หยุด! 6 พฤติกรรมต่อไปนี้ที่ทำให้โรค ตับอักเสบ แย่ลง

การใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อป่วยเป็นโรค ตับอักเสบ เป็นสิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรังได้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพไม่เพียงช่วยเราป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อตับได้เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคต่อบุคคลอื่นอีกด้วย ถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หากคุณยังมีพฤติกรรมเหล่านี้ต่อไปล่ะก็ ควรพิจารณา ลด ละ เลิก เพื่อผลดีต่อตัวคุณเองในระยะยาว

1.สูบบุหรี่

หากคุณป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ยาเส้นในมวนบุหรี่คือสารก่อมะเร็งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ นอกจากนี้ มันยังทำลายปอดของคุณด้วย ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายตับก็ลดน้อยลงมากขึ้นหากอาการของโรคไวรัสตับอักเสบซีแย่ลง และอาจก่อให้เกิดโรคตับแข็ง รวมถึงตับวายตามมา ถ้าไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยทันที ก็ควรลองปรึกษาแพทย์ หรือขอความช่วยเหลือจากครอบครัวและคนที่คุณรัก

2.ดื่มแอลกอฮอล์

ไม่มีครั้งไหนที่แอลกอฮอล์จะถูกบรรจุในรายชื่อของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สุขภาพดี และยังเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบอีกด้วย หากคุณดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมาก จะทำให้ตับทำงานหนัก เนื่องจากตับต้องทำหน้าที่กำจัดพิษของแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นแล้ว จึงถือได้ว่าแอลกอฮอล์คือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งหรือแม้แต่มะเร็งตับ หากคุณผู้อ่านยังดื่มอยู่ การลด ละ เลิกจะเป็นการดีที่สุด

3.ใช้ยาและสารกระตุ้น

การใช้ยาผ่านการฉีด การสูด หรือการสูบ รวมถึงการใช้สารกระตุ้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ตามมา รวมถึงติดเชื้อร้ายแรงอย่างเช่น HIV หรือโรคเอดส์ หากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ติดทั้งเชื้อไวรัส ตับอักเสบ ซี และไวรัสตับอักเสบบี พร้อมกัน ก็จะรักษาได้ยากมากกว่าผู้ที่ติดเชื้อเพียงชนิดเดียว

4.มีเซ็กส์ที่ไม่ปลอดภัย

ไม่ควรมีเซ็กส์แบบไร้การป้องกัน ควรใช้ถุงยางอยู่เสมอเมื่อมีกิจกรรมทางเพศกับคู่ของคุณ เพราะมันเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันคู่ของคุณจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เป็นการป้องกันตัวคุณเองจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นๆ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โปรดจำไว้ว่าอย่าให้ถุงยางห่างมือ และใช้ถุงยางเสมอแม้กระทั่งในการทำ ออรัลเซ็กส์ ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายทำหรือถูกทำก็ตาม และอย่าลืมว่าคุณไม่ควรวาสลีนทาริมฝีปากขณะใช้ถุงยาง เพราะมันอาจจะทำให้ถุงยางเสียหายได้

5.ความเครียด

หลีกเลี่ยงความเครียดเมื่อป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบ ความเครียดคือสาเหตุของการเหนื่อยล้า และส่งผลให้เกิดความคิดในแง่ลบได้ง่ายมาก เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ป่วยเครียด ให้ลองทำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ หรือทำกิจกรรมบางอย่างกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ รวมถึงการพูดคุยเปิดอกกับคนที่เชื่อใจเกี่ยวกับปัญหาของตัวผู้ป่วย เช่นเดียวกับการปรึกษาแพทย์ และรับกำลังใจจากกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง

6.หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่กับที่นานๆ

หากผู้ป่วยไม่ยอมเคลื่อนไหวร่างกายเลย ร่างกายก็จะไม่อยู่ในสภาพที่ดีนัก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเครียด เหนื่อยล้า หรือแม้แต่ซึมเศร้า ลองทำให้ตนเองตื่นตัวด้วยกิจกรรมหลายๆ อย่าง แม้จะเป็นเพียงแค่การทำความสะอาดบ้านก็ตาม ไม่ว่าเลือกกิจกรรมแบบไหน ให้เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ทำให้แน่ใจว่า มันจะกลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก

เราสามารถอยู่ร่วมกับโรคตับอักเสบได้อย่างมีสุขภาพแข็งแรง หากรู้ว่าควรทำอะไร และ ลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ควรทำให้หมด อย่าลืมว่าการมองโลกในแง่บวก คือกุญแจสำคัญสำหรับความสุขและชีวิตที่สุขภาพดี แต่ในก้าวแรกนั้น ผู้ป่วยต้องเลิกนิสัยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตนเอง และแทนที่สิ่งเหล่านั้นด้วยพฤติกรรมในแง่บวกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Living with hepatitis. http://www.liver.ca/files/Brochures/Eng_Hep_C_WEB.pdf. Accessed February 20, 2017.

Living With Hepatitis C: What to Expect. https://www.webmd.com/hepatitis/living-with-hepatitis-c#1. Accessed February 25, 2020.

Living With Hepatitis. https://www.verywellhealth.com/hepatitis-living-with-4013555. Accessed February 25, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยารักษาตับอักเสบ แต่ละชนิดและข้อควรรู้ในการใช้

ไวรัสตับอักเสบบี กับความเชื่อผิด ๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา