backup og meta

โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ความสัมพันธ์ที่คุณควรรู้ เพื่อดูแลตัวเองให้ถูกต้อง

โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ความสัมพันธ์ที่คุณควรรู้ เพื่อดูแลตัวเองให้ถูกต้อง

การทำงานของตับกับระดับคอเลสเตอรอลนั้นเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก โรคตับ และปัญหาที่เกิดขึ้นในตับสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และนี่คือความเกี่ยวข้องของ โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล ที่คุณควรรู้ เพื่อการป้องกันและดูแลตัวเอง

ความสัมพันธ์ของ โรคตับกับระดับคอเลสเตอรอล

การทำงานของตับส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร

หน้าที่หลักของตับ คือ การผลิตน้ำดี น้ำดีจะช่วยให้ร่างกายย่อยสลายไขมันและกำจัดคอเลสเตอรอลได้ หากตับของคุณได้รับความเสียหาย ประสิทธิภาพการทำงานของตับจะลดลง จนนำไปสู่การเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล จึงทำให้ไขมันและคอเลสเตอรอลจะก่อตัวขึ้นในตับและเลือด ยิ่งคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความเสียหายต่อตับได้มากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การก่อตัวของไขมันในตับอาจก่อให้เกิดโรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Nonalcoholic Steatohepatitis : NASH) หรือไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

โรคตับที่อาจนำไปสู่ภาวะคอเลสเตอรอลสูง

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานของตับ จะขัดขวางการทำงานของตับต่อคอเลสเตอรอล อาการบางชนิด ได้แก่

  • ไขมันพอกตับในคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา

โรคไขมันพอกตับในคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา (NAFLD) เป็น ความผิดปกติของไตที่พบเห็นได้ทั่วไป จำนวน 25% ของประชากรทั่วโลกมีอาการของ NAFLD หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นเบาหวานก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

NAFLD นำไปสู่การเป็นโรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipedemia) ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ด้วยระดับคอเลสเตอรอล และสารประกอบแบบเดียวกันในเลือดที่ผิดปกติ NAFLD ยังเชื่อมโยงกับภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ (lipodystrophy) ซึ่งหมายถึงความผิดปกติของร่างกายในการกระจายไขมัน

อาการของ NAFLD มีหลากหลายรูปแบบ อย่างหนึ่งก็คือ ไขมันพอกตับแบบร้ายแรง (NASH) ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่อาจนำไปสู่โรคตับแข็ง ตับล้มเหลว และมะเร็งตับ

  • ตับแข็ง

โรคตับแข็งเกิดจากพฤติกรรมการดื่มหรือโรคบางชนิด เช่น โรคตับอักเสบ ที่สร้างความเสียหายให้ตับในระยะยาว โรคตับแข็งจะสร้างบาดแผลทิ้งไว้ในตับ และขัดขวางการเผาผลาญของตับ จึงอาจนำไปสู่การเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอล

นอกจากโรคตับที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงต่อตับได้ก็คือ ยา นั่นเอง ตับมีหน้าที่สำคัญในการเผาผลาญสารเคมีในร่างกาย ยาชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ยาที่ซื้อได้เองจากร้านขายยา หรือยาเสพติด สามารถทำให้ตับเสียหายได้ทั้งสิ้น

ผลกระทบของคอเลสเตอรอลสูง

ระดับของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ที่สูงเกินไป จะทำให้ไขมันก่อตัวขึ้นในหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสู่หัวใจยากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ไปทำลายคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดคราบพลัคไขมัน (ไขมันที่สะสมจนเกิดเป็นแผ่นไขมันในหลอดเลือด) ออกไปได้ ทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหัวใจวายมากขึ้น

ทางแก้ไขหาก คอเลสเตอรอลสูง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และอาหารบางชนิด จะช่วยให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เราควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอ

หากมีสัญญาณและอาการที่บ่งชี้ว่าตับกำลังมีปัญหาเหล่านี้ คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

  • เป็นดีซ่าน
  • เหนื่อยล้า อ่อนแรง
  • เบื่ออาหาร
  • มีของเหลวสะสมในช่องท้อง
  • เกิดรอยช้ำบ่อยครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Liver and Cholesterol: What You Should Know. http://www.healthline.com/health/liver-cholesterol. Accessed August 09, 2017

Liver Function and Cholesterol Levels. http://www.livestrong.com/article/272648-liver-function-and-cholesterol-levels/. Accessed August 09, 2017

How are liver function and cholesterol production linked?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/322017.php. Accessed August 09, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการ ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล

การดื่มเบียร์ ส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา