backup og meta

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่านะ

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่านะ

มีหลายคนยังสงสัยว่า ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่า ความจริงคือ ไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบชนิดซี (HCV) เป็นสาเหตุให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบและถูกทำลาย เมื่อเกิดการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปประกอบร่วมกับการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบซี ตับจึงสามารถเกิดความเสียหายได้อย่างน่ากลัว

ผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์

ตับมีบทบาทสำคัญหลายอย่างในกระบวนการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยย่อยอาหาร คัดกรองสารพิษในเลือด และช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อและเชื้อโรค เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ตับจะแบ่งโมเลกุลของแอลกอฮอล์ เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจึงไปทำลายและฆ่าเซลล์ตับได้ ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักจะเป็นโรคไขมันพอกตับ โรคตับอักเสบที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ และโรคตับแข็งจากการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก แม้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ก็สามารถก่อให้เกิดไขมันในตับได้เช่นกัน ภาวะนี้เรียกกันว่า โรคไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ โรคไขมันพอกตับนั้นแทบไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีสัญญาณเตือน หากดื่มคุณแอลกอฮอล์ในปริมาณที่อันตราย โรคไขมันพอกตับและโรคตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรกเริ่ม สามารถรักษาหายได้ถ้าหยุดดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ที่ได้รับความเสียหายการดื่มแอลกอฮอล์และโรคตับแข็งที่รุนแรงนั้น จะคงอยู่ถาวร และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงทำให้เสียชีวิตได้

ผลกระทบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ใน ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ

ผลกระทบสะสมที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ใน ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ นั้น ถือว่าเสี่ยงต่อสุขภาพของตับอย่างยิ่ง คุณหมอหลายท่านเคยกล่าวไว้ว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ในการดื่มแต่ละวันหากเกิน 50 กรัม (หรือเท่ากับสามแก้วครึ่งแก้วต่อวัน) ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดและโรคตับแข็งชนิดเรื้อรัง รวมถึงโรคตับร้ายแรงชนิดอื่นๆ อีกด้วย

การดื่มแอลกอฮอล์ขัดขวางการรักษา HCV

วิธีการรักษาด้วยอินเตอร์เฟอรอน (interferon) คือทางเลือกในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี การรักษาชนิดนี้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับอย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยอินเตอร์เฟอรอนมีข้อห้ามคือผู้ป่วยต้องหยุดดื่มแอลกอฮอล์ และมักมีขั้นตอนการรักษาที่ปฏิบัติตามได้ยาก แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่มีการใช้สารในทางที่ผิด หรือฉีดยาเข้าสู่ร่างกายก็ตาม ยิ่งกว่านั้นด้วยวิธีการการรักษาที่ซับซ้อน ก็ถือว่าเป็นเรื่องยากสำหรับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ที่ดื่มหนักที่จะใช้การรักษาวิธีนี้

โดยสรุปก็คือ การดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี แม้จะดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อย ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ตับเกิดความเสียหาย และผลักดันให้โรคตับมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้

นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ยังไปลดประสิทธิภาพของการใช้ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า สำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีนั้น การหยุดดื่มแอลกอฮอล์นับเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวของตัวคุณเอง

การดื่มแอลกอฮอล์และโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส HCV

เป็นที่ชัดเจนว่าการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเกี่ยวพันกับโรคตับแข็ง ทั้งในแบบที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และโรคตับแข็งก็เป็นความเสี่ยงขั้นพื้นฐานต่อการป่วยเป็นมะเร็งตับ ดังนั้น การดื่มแอลกอฮอล์จึงเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งตับ ในฐานะสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับแข็งที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งอย่างชัดเจน

สิ่งสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงการรับสารพิษใดๆ เข้าสู่ตับ โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ ผลกระทบสะสมที่แอลกอฮอล์มีต่อตับ และการอักเสบที่เกิดขึ้นเพราะไวรัสตับอักเสบซีอาจมีอาการรุนแรงได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ จึงควรหยุดดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dangerous Cocktail: Alcohol & Hepatitis C. http://www.healthline.com/health/alcohol-and-hepatitis-c#2. Accessed February 5, 2017.

Hepatitis C and Alcohol. http://www.hepatitis.va.gov/provider/reviews/alcohol.asp. Accessed February 5, 2017.

Alcohol-related liver disease. http://www.nhs.uk/conditions/Liver_disease_%28alcoholic%29/Pages/Introduction.aspx. Accessed February 5, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตับของเรา ทำงานอย่างไรและสำคัญขนาดไหน?

ฟอกตับ ขับสารพิษจากตับด้วยวิธีธรรมชาติทำได้อย่างไร?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา