backup og meta

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน เป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD หรือ Gastroesophageal reflux disease) ซึ่งนอกจากอาหารบางประเภท เช่น กาแฟ  น้ำอัดลม มะเขือเทศ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต จะกระตุ้นอาการนี้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจเป็น สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่ไม่ใช่อาหาร

1. ยาบางชนิด

หากคุณใช้กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-inflammatory Drug: NSAID ) เป็นประจำ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (naproxen) อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ คุณควรปรึกษาแพทย์ หากคิดว่ายาที่ใช้รักษาโรคส่งผลต่ออาการกรดไหลย้อนของคุณ และไม่ควรตัดสินใจหยุดกินยาด้วยตัวเอง

สำหรับยาบางชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสามารถกระตุ้นอาการแสบร้อนกลางอก ได้แก่ ยารักษาอาการของโรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ หรือการอักเสบอื่นๆ ยารักษาโรคกระดูกพรุน รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า และยาบรรเทาความเจ็บปวด

2. การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากการสูบบุหรี่ส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอ่อนแอลง กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร และน้ำดีที่ใช้ในการย่อยไขมัน ย้ายจากลำไส้เล็กไปสู่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังลดปริมาณน้ำลาย ที่โดยปกติแล้วมีหน้าที่กำจัดกรดออกจากหลอดอาหาร โดยในน้ำลายจะมีไบคาร์บอเนต ซึ่งเป็นตัวต้านกรดโดยธรรมชาติ

3. ความเครียด

ความเครียดสามารถเป็นตัวกระตุ้นอาการกรดไหลย้อน แต่ความเครียดไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้การผลิตกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยใน Journal of Psychosomatic Research ที่ชี้ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อน มักรู้สึกถึงอาการนี้เมื่อเครียด แต่ไม่ได้บ่งชี้ถึงระดับของกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มขึ้นจริงแต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ที่เครียดอาจรู้สึกถึงอาการกรดไหลย้อนมากขึ้น หรือผลกระทบจากความเครียดทางประสาทวิทยา อาจจะส่งผลให้เพิ่มความเจ็บปวดในหลอดอาหารมากขึ้นได้

4. การกินอาหารมากเกินไป

ผู้ที่ชื่นชอบการกินบุฟเฟต์ ควรระวังปริมาณในการกิน เพราะการกินอาหารมากเกินไป อาจกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากกระเพาะอาหารจะขยายเวลาที่มีอาหารในกระเพาะอาหารมาก ยิ่งกระเพาะอาหารของคุณขยายขนาดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างจะปิดได้ไม่ดีมากเท่านั้น จึงไม่สามารถป้องกันไม่ให้อาหารและน้ำย่อยในกระเพาะาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้

5. นิสัยการกิน

การกินเร็วเกินไป อาจกระตุ้นอาการกรดไหลย้อน รวมถึงการกินอาหารในท่านอน หรือกินอาหารตอนกลางคืน ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง ก็อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้เช่นกัน มีงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นที่ชี้ว่า ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนไม่ควรกินอาหารแล้วเอนตัวลงนอนทันที ดังนั้น นิสัยการกิน ทั้งการกินเร็ว กินแล้วเอนตัวลงนอนทันที รวมถึงการกินก่อนเวลาเข้านอน ต่างก็อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้

6. โรคไส้เลื่อนกะบังลม

กะบังลมคือผนังกล้ามเนื้อที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารกับช่องอก ซึ่งมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างสามารถรักษากรดในกระเพาะอาหาร ให้อยู่แค่ภายในกระเพาะอาหารได้ แต่เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างและส่วนบนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน กะบังลมจะทำให้เกิดโรคไส้เลื่อนกะบังลม (Hiatal Hernia) ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะส่งผลให้เกิดอาการกรดไหลย้อน และคุณอาจไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการโรคไส้เลื่อนกะบังลมก็เป็นได้ แต่โดยปกติ อาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน อาจไม่ได้หมายถึงภาวะไส้เลื่อนกะบังลมเสมอไป

7. ความอ้วนหรือน้ำหนักเกิน

8. การออกกำลังกาย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Beyond Food: Other Causes of Heartburn and GERD. https://www.webmd.com/heartburn-gerd/causes-of-heartburn#1. Accessed on September 13, 2018.

Surprising Heartburn Triggers. https://www.health.com/health/gallery/0,,20307301,00.html#your-genes-0. Accessed on September 13, 2018.

It’s Not Food Causing Your Heartburn—Here Are The 5 Real Culprits. https://www.prevention.com/food-nutrition/a20482845/5-real-causes-of-heartburn/. Accessed on September 13, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/07/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

เปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน

โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย Sopista Kongchon · แก้ไข 15/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา