backup og meta

ใส่บราผิดขนาด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ใส่บราผิดขนาด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

สำหรับหลาย ๆ คน การใส่เสื้อชั้นในอาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หรือบางครั้งเสื้อชั้นในที่หลวมเกินไป จนสายเสื้อชั้นในหลุดไหล่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความรำคาญ และอึดอัดให้กับเราเท่านั้น ปัญหาการ ใส่เสื้อชั้นในผิดขนาด อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่มาจากการเลือก ใส่บราผิดขนาด พร้อมเทคนิคการเลือกบราอย่างไรให้พอดีมาฝากกันค่ะ

[embed-health-tool-ovulation]

ใส่บราผิดขนาด ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

ระคายเคืองผิวหนัง

การใส่บราที่แน่นเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ เช่น ผิวหนังอักเสบ รูขุมขนอักเสบ เกิดผื่นที่มาจากความร้อน เป็นลมพิษ การใส่เสื้อชั้นในที่รัดรูปเกินไป จะทำให้มีเหงื่อมากกว่า จนทำให้เกิดการอักเสบที่รูขุมได้ อีกทั้งยังทำให้เชื้อราและแบคทีเรียแทรกซึมเข้าไปในผิวหนังได้ง่ายและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

มีอาการกรดไหลย้อน

การใส่เสื้อชั้นในที่แน่นเกินไป อาจทำให้เกิดแรงกดที่ช่องท้อง จนทำให้อาการกรดบริเวณช่องท้องไหลย้อนขึ้นมาถึงที่ลำคอ จนทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

ปวดลำตัวส่วนบน

การใส่เสื้อชั้นในที่แน่นหรือหลวมไปจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว จนบางครั้งเกิดอาการปวดไหล่และปวดหลังได้ สำหรับผู้ที่ซื้อเสื้อชั้นในมาหลวมเกินไป ก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการปรับสายเสื้อในให้ตึงขึ้น ซึ่งบางครั้งสายอาจจะตึงไปจนทำให้เกิดอาการปวดไหล่ได้ แต่สำหรับผู้ที่เลือกใส่เสื้อชั้นในที่แน่นเกิดไป เมื่อไรไปแล้วอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้

บุคลิกภาพไม่ดี

การใส่เสื้อชั้นในผิดขนาด นอกจากจะทำให้รู้สึกปวดไหล่และปวดหลังแล้ว อาการปวดเหล่านั้นยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สวมใส่จนทำให้เกิดปัญหาหลังค่อม ซึ่งปัญหาหลังค่อมไม่เพียงแต่ทำให้เสียบุคลิกภาพเท่านั้น การเดินหลังค้อม หลังงอ จะทำให้เราไม่สามารถหายใจได้สั้นลง ส่งผลให้อากาศเข้าไปในปอดได้อย่างไม่เต็มที่

เลือก เสื้อชั้นใน อย่างไรให้พอดี

การเลือกเสื้อชั้นในให้พอดี เหมาะสมกับเรามากที่สุด ไม่ใหญ่ไป ไม่เล็กไป จะช่วยให้การใส่บรานั้นรู้สึกสบายขึ้น ที่สำคัญการเลือกขนาดที่ถูกต้องยังมีส่วนช่วยลดปัญหาสุขภาพได้ด้วย ซึ่งพื้นฐานในการเลือกเสื้อชั้นในควรเลือก ดังนี้

สายรัดรอบอกมีขนาดพอดี

การเลือกสายรัดรอบอกควรเลือกขนาดที่มีความพอดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป ที่สำคัญตรงกลางระหว่างเต้าทั้งสองไม่ควรโค้งหรือบุ๋มลงไป ควรที่จะเรียบแนบลงไปกับกระดูกอก

มีเต้าชั้นใน

การเลือกเต้าชั้นในควรเลือกแบบที่กระชับ ใส่แล้วรู้สึกสบาย ที่สำคัญเต้าชั้นในจะต้องห่อหุ้มหน้าอก และช่วยให้กระชับขึ้น ที่สำคัญไม่ควรมีเนื้อล้นออกไปด้านข้าง นอกจากนี้หากเสื้อชั้นในมีโครงเหล็ก ควรเลือกแบบที่โครงเหล็กโค้งไล่ไปตามทรงหน้าอก ไม่แคบจนกดทับเนื้อหน้าอก หรือกว้างไปจนเหลือพื้นที่ว่าง

ทดสอบความพอดีของ เสื้อชั้นใน

การทดสอบอย่างง่ายว่าเสื้อชั้นในนั้นพอดีกับหน้าอกของเราหรือไม่ ทำได้ง่าย ๆ โดยการ เมื่อใส่เสื้อชั้นในแล้ว โน้มตัวไปข้างหน้า ใช้มือทั้งสองข้างโกยเนื้อรอบ ๆ มาด้านหน้า การทำเช่นนี้จะช่วยให้เนื้อบริเวณหน้าอกทั้งหมดอยู่ในเสื้อชั้นใน และช่วยให้เรารู้ได้ว่าเสื้อชั้นในที่ใส่อยู่นั้นพอดีกับหน้าอกของเราหรือไม่

การใส่เสื้อชั้นในที่แน่นเกินไปอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ ถึงแม้ว่าการเลือกเสื้อชั้นในที่มีความเหมาะสมกับตัวเองจะใช้เวลามาก แต่การเลือกบราที่มีความเหมาะสมก็คุ้มค่ากับเวลาที่เลือกไป เนื่องจากจะช่วยให้คุณรู้สึกสวมใส่เสื้อชั้นในได้สบายขึ้น ไม่อึดอัด และลดอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมบุคลิกภาพอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

5 Signs Your Bra Is Definitely Too Tight – and How to Find Your PerfectSize

https://www.healthline.com/health/tight-bra

Wearing an ill-fitting bra isn’t just uncomfortable, it’s bad for your health

https://theconversation.com/wearing-an-ill-fitting-bra-isnt-just-uncomfortable-its-bad-for-your-health-100292

5 Side Effects of Wearing the Wrong Bra Size That Could Be Harmful forHealth | Are You Wearing the Right One?

https://her.womenworking.com/consequences-of-wearing-wrong-bra-size-right-cup-size-back-neck-shoulder-pain

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/02/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เสื้อในคนท้อง ควรเลือกใส่แบบไหนถึงจะเหมาะสม

เลือกเสื้อชั้นใน แบบไหน ถึงจะเหมาะกับหน้าอก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา