backup og meta

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อันตรายหรือไม่

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อันตรายหรือไม่

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการตกไข่ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน (Progesterone) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงของการตกไข่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดขับตกขาวที่มีลักษณะเหนียวและข้นกว่าตกขาวในช่วงตกไข่ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าตกขาวมีสีที่เปลี่ยนไป เช่น สีเขียว สีเทา สีเหลือง รวมถึงมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีอาการคันช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อในช่องคลอด

[embed-health-tool-ovulation]

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน เกิดจากอะไร

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อาจเกิดจากการตกไข่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดขับสารคัดหลั่งออกมาเป็นน้ำเมือกสีใสในปริมาณมาก หรืออาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่วงหลังจากการตกไข่ ที่อาจทำให้มีอาการตกขาวที่มีลักษณะหนา เหนียว และอาจมีสีขาวหรือสีเหลือง แต่จะไหลออกมาในปริมาณที่น้อยกว่าช่วงตกไข่ บางคนอาจมีตกขาวสีน้ำตาลที่เกิดจากการผสมกับเลือดก่อนเป็นประจำเดือน ซึ่งอาจบ่งบอกได้ว่าใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ประจำเดือนจะมา

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือนอันตรายหรือไม่

ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว ก่อนจะถูกขับออกจากช่องคลอด เป็นกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอดของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ดังนั้น การมีตกขาวไหลออกมาจากช่องคลอดก่อนเป็นประเดือน จึงถือเป็นเรื่องปกติและอาจไม่ส่งผลอันตราย ยกเว้นกรณีที่มีตกขาวผิดปกติ ดังนี้

  • ตกขาวสีน้ำตาล อาจเป็นตกขาวที่ผสมกับเลือดเก่าที่ค้างอยู่ภายในช่องคลอด แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือดออกกะปริบกะปรอย หรืออาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของหญิงแต่ละคน
  • ตกขาวสีเทา อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคัน แสบร้อนช่องคลอด และช่องคลอดบวมแดง
  • ตกขาวสีขาวเป็นก้อนหนา อาจเกิดจากการติดเชื้อราในช่องคลอด ที่อาจสังเกตได้จากอาการคัน ช่องคลอดบวม และเจ็บช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวสีเขียว อาจเกิดจากการติดเชื้อปรสิตเช่น โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) ที่ส่งผลให้มีอาการตกขาวสีเหลืองไปจนถึงสีเขียว มีลักษณะเป็นฟอง มีอาการคัน มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และอาจมีอาการเจ็บแสบช่องคลอดขณะปัสสาวะ
  • ตกขาวสีเหลืองเป็นก้อน อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือ เชื้อรา เช่น โรคหนองใน ภาวะช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย โรคพยาธิในช่องคลอด ที่ส่งผลให้มีอาการปวดอุ้งเชิงกราน 

อาการตกขาวผิดปกติ ที่ควรพบคุณหมอ

อาการตกขาวผิดปกติ ที่ควรพบคุณหมอ มีดังนี้

  • ตกขาวเปลี่ยนสี มีกลิ่นเหม็น
  • ตกขาวเป็นก้อนหนาหรือเป็นฟอง
  • มีอาการคันช่องคลอด หรือบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ช่องคลอด
  • มีผื่นบริเวณช่องคลอด
  • ช่องคลอดบวมแดง และอาจเป็นแผล
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือปวดเกร็งท้องน้อย

การดูแลช่องคลอด ช่วงที่เป็นตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน

การดูแลช่องคลอดในช่วงที่ตกขาวมามาก อาจทำได้ดังนี้

  • ล้างอวัยวะเพศหรือช่องคลอดด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนและน้ำอุ่น ไม่ควรสวนล้างภายในช่องคลอด เพราะอาจทำให้แบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุล
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีส่วนประกอบของน้ำหอม และหลีกเลี่ยงการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำที่มีฟองสบู่ เนื่องจากอาจทำให้ช่องคลอดระคายเคืองและเกิดตกขาวได้
  • เลือกกางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย และหลีกเลี่ยงการสวมกางเกงที่รัดรูปจนเกินไป เพื่อป้องกันการอับชื้น
  • หลังจากเข้าห้องน้ำควรให้กระดาษชำระซับให้แห้ง โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องคลอด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaginal Discharge: What’s Abnormal?. https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-discharge-whats-abnormal. Accessed May 31, 2022

Vaginal discharge. https://www.nhs.uk/conditions/vaginal-discharge/. Accessed May 31, 2022

Vaginal discharge. https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-discharge/basics/causes/sym-20050825. Accessed May 31, 2022

Vaginal itching and discharge – adult and adolescent. https://medlineplus.gov/ency/article/003158.htm. Accessed May 31, 2022

Vaginal discharge. https://www.mayoclinic.org/symptoms/vaginal-discharge/basics/when-to-see-doctor/sym-20050825. Accessed May 31, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประจำเดือนเลื่อน เกิดจากอะไร มาช้าหรือเร็วแค่ไหนคือผิดปกติ

ช่องคลอดมีกลิ่น กินยาอะไรดี มีสาเหตุมาจากอะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา