backup og meta

ช็อกโกแลตซีส อาการเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่

ช็อกโกแลตซีส อาการเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่

ช็อกโกแลตซีส เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิง โรคนี้มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดได้ในผู้หญิงทุกคน และมักมีอาการปวดท้องร่วมด้วย คล้ายกับอาการปวดประจำเดือน ช็อกโกแลตซีส อาการเป็นอย่างไร โรคนี้รักษาได้หรือไม่

[embed-health-tool-ovulation]

ลักษณะของโรคช็อกโกแลตซีส

ช็อกโกแลตซีสหรือถุงน้ำช็อกโกแลต ชื่อโรคที่แพทย์เรียก คือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง พบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป หรือช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน ทำให้ผู้หญิงไม่แน่ใจว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะการปวดประจำเดือนหรือปวดเพราะเป็นช็อกโกแลตซีสกันแน่ เรื่องของอาการปวดในบางรายอาจไม่มีอาการปวดเลย แต่เมื่อขนาดของช็อกโกแลตซีสโตขึ้นมาก จะไปกดอวัยวะข้างเคียง หรือแตกออกมา ส่งผลให้เกิดภาวะปวดท้องรุนแรง 

สาเหตุของโรคช็อกโกแลตซีส

ส่วนใหญ่ช็อกโกแลตซีส จะเกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่น โดยนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนจะเกิดเป็นถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบจุดเกิด ช็อกโกแลตซีสต์บ่อย ๆ ได้แก่ ช็อกโกแลตซีสในรังไข่ เมื่อเจริญเติบโตผิดที่ก็จะยังคงทำหน้าที่ในการสร้างประจำเดือน ทำให้มีเลือดสีแดงคล้ำหรือสีดำข้นคล้ายช็อกโกแลต ขังอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ หากเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน  

จากเดิมที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโตภายในโพรงมดลูก เมื่อไปเจริญเติบโตผิดที่จะทำให้เกิดอาการแสดงของโรคได้  2 ชนิด

  • ชนิดที่พบภายนอกมดลูก : พบได้บ่อยที่บริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ รังไข่ ท่อนําไข่ เยื่อบุช่องท้อง ในอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลําไส้ใหญ่ รวมถึงท่อไต ลําไส้เล็ก ปอด สมอง และบริเวณผิวหนัง หรือแผลผ่าตัด 
  • ชนิดพบได้ในกล้ามเนื้อมดลูก : เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก เกิดการปวดประจําเดือน และมักจะตรวจพบว่ามดลูกมีขนาดโตขึ้น 

อาการของช็อกโกแลตซีส

  • มีอาการปวดท้องมาก 
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรังเมื่อมีประจำเดือน 
  • ปวดมากขึ้นทุกเดือน 
  • ปวดบริเวณด้านหน้าตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน 
  • ปวดบริเวณด้านหลังตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ 
  • มีอาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 

กลุ่มเสี่ยงช็อกโกแลตซีส

  • ผู้ที่มีประจำเดือนมามากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง หรือมานานกว่า 7 วัน 
  • ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคช็อกโกแลตซีสมาก่อน 

การรักษาช็อกโกแลตซีส

ช็อกโกแลตซีส รักษาได้โดยการใช้ยาและการผ่าตัด หากพบถุงน้ำขนาดเล็ก แพทย์จะให้ยารักษาหรือฉีดยาเพื่อลดขนาด หากเป็นช็อกโกแลตซีสขนาดใหญ่ แพทย์จะทำการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง 

อันตรายของช็อกโกแลตซีส

  • ช็อกโกแลตซีสทำให้เกิดอาการปวดประจําเดือนอย่างมาก 
  • เสี่ยงต่อการแตกของถุงน้ำ ซึ่งเป็นผลให้เกิดอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน ต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน 
  • โรคนี้อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เพราะทําให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน 
  • บางกรณีเกิดการอุดตันของท่อนําไข่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด 

หากพบว่ามีอาการต่าง ๆ หรือมีความเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีส ให้รีบมาพบสูตินรีแพทย์ เพื่อทำการรักษาโรคช็อกโกแลตซีส และป้องกันไม่ให้ลุกลาม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดท้องรุนแรง ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะโรคนี้หากปล่อยไว้นาน อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ไขข้อข้องใจกับโรคช็อกโกแลตซีส

https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/11022020-1608 

accessed June 30, 2023

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5105/ 

accessed June 30, 2023

แพทย์เตือน อาการปวดท้องรุนแรงเมื่อมีประจำเดือน เสี่ยงป่วยเป็นช็อกโกแลตซีสต์

https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/128121 

accessed June 30, 2023

“โรคเยื่อบุมดลูกต่างที่” สุภาพสตรีควรต้องรู้

https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1378 

accessed June 30, 2023

ไขข้อข้องใจกับโรคช็อกโกแลตซีส

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C/ 

accessed June 30, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/04/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซีสเกิดจากอะไร มีกี่ประเภท รักษาได้อย่างไร

Sebaceous cyst (ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง) คืออะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา