backup og meta

สุขภาพหัวใจแข็งแรงแค่ไหน การขึ้นบันได บอกได้นะ

สุขภาพหัวใจแข็งแรงแค่ไหน การขึ้นบันได บอกได้นะ

หัวใจ” เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย เพราะหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วทุกส่วนในร่างกาย หากหัวใจทำงานผิดปกติ หรือถึงขั้นหยุดเต้น ย่อมส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายไปด้วย การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ จึงถือเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง และวันนี้ Hello คุณหมอ ก็มีอีกหนึ่งวิธีเช็กสุขภาพหัวใจเบื้องต้นด้วยตัวคุณเองมาฝาก นั่นก็คือ การขึ้นบันได ว่าแต่การขึ้นบันไดจะบ่งบอกถึงความแข็งแรงของสุขภาพหัวใจได้ยังไง เราไปหาคำตอบกันเลย

การขึ้นบันได 2 ชั้น กับสุขภาพหัวใจ

นายแพทย์ Jesús Peteiro แพทย์โรคหัวใจประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโกรูญา (Coruña University Hospital) เปิดเผยว่า การขึ้นบันไดถือเป็นวิธีทดสอบสุขภาพหัวใจด้วยตัวคุณเองในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ หากคุณใช้เวลาขึ้นบันได 2 ชั้น หรือ 4 ช่วง (เช่น จากชั้น 1 ไปถึงชั้น 3) นานกว่าหนึ่งนาทีครึ่ง นั่นแปลว่า สุขภาพหัวใจของคุณอาจมีปัญหา และคุณควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปและสุขภาพหัวใจได้แล้ว

ข้อสรุปนี้เป็นผลจากการศึกษาวิจัยความเชื่อมโยงของกิจวัตรประจำวัน เช่น การขึ้นบันได กับผลที่ได้จากการทดสอบออกกำลังกายในห้องทดลอง ซึ่งจุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ก็คือ การหาวิธีประเมินสุขภาพหัวใจที่ง่ายและราคาถูก เพื่อให้แพทย์สามารถคัดแยกผู้ป่วยในเบื้องต้น และทำการตรวจวินิจฉัยวิธีอื่นต่อไปได้

กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ ผู้ป่วยจำนวน 165 คน ที่มีอาการซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่มขณะออกกำลังกาย โดยทีมวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างวิ่งหรือเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้า แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความเร็วและความชันขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกเหนื่อย โดยที่ค่า METs (Metabolic Equivalents Tasks) อยู่ที่ 2 จากนั้นจึงให้กลุ่มตัวอย่างพัก 15-20 นาที ก่อนจะให้ก้าวขึ้นบันได 2 ชั้น (ขั้นบันได 60 ขั้น) แบบเร็ว ๆ แต่ไม่ถึงกับวิ่ง และห้ามหยุดพัก แล้วบันทึกเวลาที่แต่ละคนทำได้เอาไว้

ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้

เมื่อทีมวิจัยวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างค่า METs ซึ่งค่า METs หมายถึง หน่วยของการใช้พลังงานหรือออกซิเจนในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ที่ได้จากการทดสอบออกกำลังกาย กับเวลาที่ใช้ในการขึ้นบันได 2 ชั้น ผลปรากฏว่า

ผู้ป่วยที่ใช้เวลาขึ้นบันได 2 ชั้นน้อยกว่า 40-45 วินาที มีค่า METs มากกว่า 9-10 และหากอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่มีค่า METs ระหว่างออกกำลังกายเท่ากับ 10 จะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า 1% ต่อปี ส่วนผู้ที่ใช้เวลาขึ้นบันได 2 ชั้น นานเกิน 1.5 นาที มีค่า METs น้อยกว่า 8 และมีอัตราการเสียชีวิต 2-4% ต่อปี นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้บันทึกภาพการทำงานของหัวใจขณะที่ผู้ป่วยวิ่งบนลู่ไฟฟ้า หากหัวใจทำงานปกติ แปลว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ จากนั้นทีมวิจัยได้นำภาพการทำงานของหัวใจที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลจากการขึ้นบันได

ผลปรากฏว่า 58% ของผู้ป่วยที่ใช้เวลาขึ้นบันได 2 ชั้น เกิน 1.5 นาที จะมีปัญหาหัวใจทำงานผิดปกติในระหว่างวิ่งบนลู่ไฟฟ้า ส่วนผู้ที่ใช้เวลาขึ้นบันได 2 ชั้นน้อยกว่า 1 นาที พบว่ามีปัญหาหัวใจทำงานผิดปกติขณะวิ่งบนลู่ไฟฟ้า 32%

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนทดสอบสุขภาพหัวใจด้วยการขึ้นบันได 2 ชั้น

แม้การขึ้นบันได 2 ชั้นจะเป็นวิธีทดสอบสุขภาพหัวใจเบื้องต้นที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่ามีประสิทธิภาพ แต่วิธีนี้ก็อาจไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ยาก ผู้สูงอายุ อาจขึ้นบันไดลำบาก หรือทำไม่ได้เลย และเนื่องจากบันไดแต่ละที่อาจแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นประเภทของบันได ความสูงของขั้นบันได จำนวนขั้นบันไดแต่ละชั้น ความเร็วในการขึ้นบันได เป็นต้น

นั่นจึงทำให้ผลการทดลองที่ได้อาจไม่ใช่มาตรฐานเดียวกัน แต่หากคุณอยากทดสอบสุขภาพหัวใจด้วยวิธีนี้ แนะนำให้ขึ้นบันไดเดิมทุกครั้ง เพื่อให้การทดสอบในแต่ละครั้งของคุณออกมาได้มาตรฐานใกล้เคียงกันที่สุด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Fast Can You Climb 4 Flights of Stairs? It May Reveal Your Heart Health. https://www.healthline.com/health-news/how-fast-can-you-climb-4-flights-of-stairs-it-may-reveal-your-heart-health. Accessed December 24, 2020

How to tell if your heart is in good health: Can you climb 4 flights of stairs in 90 seconds?. https://www.studyfinds.org/heart-health-good-climb-four-flights-stairs-90-seconds/. Accessed December 24, 2020

Test your heart health by climbing stairs. https://www.sciencedaily.com/releases/2020/12/201211083104.htm. Accessed December 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะหัวใจวาย กับ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แม้คล้ายคลึง... แต่แตกต่าง

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา