backup og meta

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง

เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี
  • โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน

เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ

คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลือกกินอาหารที่มีแต่คอเลสเตอรอล

ที่สำคัญหากเป็นไปได้ควรนำคนรอบข้างที่สามารถดูแลคุณได้มาในวันที่ตรวจด้วย เพื่อเข้าร่วมช่วยรับฟัง และจดจำข้อมูลในการดูแลได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน

เทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้ ตรวจสุขภาพหัวใจ

เมื่อคุณแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติทางสุขภาพให้แพทย์ทราบแล้ว ขั้นตอนต่อไปแพทย์อาจนำพาคุณเข้าร่วม การตรวจสุขภาพหัวใจ ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้

  • การทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การแสกนหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • การถ่ายภาพหัวใจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก
  • สวนหัวใจ โดยใช้สายสวนที่มีความยืดหยุ่นเข้าผ่านทางแขน และขาหนีบ

สำหรับผลตรวจที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาตามสภาวะในทันที เช่น การรับประทานยา วางแผนการปรับวิถีชีวิต รวมถึงอาจได้รับการผ่าตัดอีกด้วยหากคุณอยู่ในกรณีที่มีอาการโรคหัวใจที่แย่ลง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Heart Test You May Need—but Likely Haven’t Heard of. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/the-heart-test-you-may-need-but-likely-havent-heard-of . Accessed June 28, 2021

Time to book a Heart Health Check?. https://www.heartfoundation.org.au/heart-health-education/heart-health-checks . Accessed June 28, 2021

Simple Ways to Check Your Heart Health. https://www.webmd.com/heart-disease/diagnosing-doctors-exam . Accessed June 28, 2021

heart disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/diagnosis-treatment/drc-20353124 . Accessed June 28, 2021

Heart-Health Screenings. https://www.heart.org/en/health-topics/consumer-healthcare/what-is-cardiovascular-disease/heart-health-screenings . Accessed June 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/11/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด

การวินิจฉัยโรคหัวใจและการตรวจหัวใจด้วย Computed Tomography (CT)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 26/11/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา