คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล คือสารที่มีลักษณะคล้ายไปไขมัน พบได้ภายในเลือด ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอลเพื่อช่วยรักษาเซลล์ให้แข็งแรง แต่หากมีมากเกินไป คอเลสเตอรอลก็อาจจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

คอเลสเตอรอล

ยาลดไขมันในเลือด และผลข้างเคียง

ยาลดไขมันในเลือด คืออีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดระดับไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด นอกเหนือจากการควบคุมอาหาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่การใช้ยาลดไขมันในเลือดก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของยาแต่ละชนิดให้ดี ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ยาลดไขมันในเลือดใช้เพื่ออะไร เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพันธุกรรม ก็อาจทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้อาจเกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตับ ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด แล้วอาจทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานแก่อวัยวะต่าง ๆ ได้ยาก นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว การลดระดับไขมันในเลือด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงการใช้ยาลดไขมันในเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดสะสม และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ยาลดไขมันในเลือดก็มีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อหาวิธีลดไขมันในเลือดที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน ยาลดไขมันในเลือด ที่แพทย์นิยมเลือกใช้ ยาลดไขมันมีอยู่หลายประเภท ซึ่งอาจมีการทำงานและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มยาสแตติน(Statin) เป็นกลุ่มยาที่แพทย์นิยมใช้มากที่สุด เพื่อช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ และอาจช่วยเพิ่มระดับของไขมันดีในร่างกายได้ ยาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาสแตติน ได้แก่ อะทอร์วาสแททิน (Atorvastatin) ฟลูวาสแตติน (Fluvastatin) โลวาสแตติน (Lovastatin) ซิมวาสแตติน (Simvastatin) พราวาสแตติน (Pravastatin) โรซูวาสแตติน (Rosuvastatin) พิทาวาสแตติน (Pitavastatin) ผลข้างเคียง : กลุ่มยาสแตตินอาจส่งผลให้ตับและลำไส้ได้รับความเสียหาย กล้ามเนื้ออักเสบ ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสูญเสียความจำและสับสนเล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตราย และจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มสแตตินอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่น […]

สำรวจ คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล

ไขมันในเลือดสูง อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) หรือ คอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ โดยไขมันหลัก ๆ ที่พบในเลือดมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และคอเลสเตอรอล (Cholesterol)  [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ไขมันในเลือดสูง คืออะไร ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) หรือคอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ โดยไขมันหลัก ๆ ที่พบในเลือดมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และคอเลสเตอรอล (Cholesterol)  อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูงมักไม่มีอาการแสดงออกภายนอก หากร่างกายมีไขมันในเลือดสูงเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง  ไขมันในเลือดสูงพบได้บ่อยเพียงใด  ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูงส่วนใหญ่มักเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมถึงสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติไขมันในเลือดสูง อาการ อาการของไขมันในเลือดสูง  ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงมักไม่มีอาการแสดงออกในช่วงแรก แต่หากร่างกายมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สะสมในไขมันในหลอดเลือดแดงมากจนเกินไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง เลือดจะไหลเวียนได้ยากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย หรือถ้าเกิดขึ้นบริเวณสมองก็อาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดสมอง  สาเหตุ สาเหตุของไขมันในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และอาหารดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันในเลือดสูง  ชีส  ไข่แดง อาหารทอดและแปรรูป ไอศกรีม ขนมอบ เนื้อแดง นอกจากนี้ การขาดการออกกำลังกาย รวมถึงอายุที่มากขึ้น ก็อาจนำไปสู่ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน  ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูง ปัจจัยต่อไปนี้ อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากเกินไป […]


คอเลสเตอรอล

วิธีการลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

คอเลสเตอรอล เป็นไขมันในเลือดที่ได้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพบางประการ เช่น ช่วยให้ฮอร์โมนปกติ ช่วยให้เซลล์มีความแข็งแรง แต่หากร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนั้น จึงควร ลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลง ไลฟ์สไตล์ เพื่อช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ [embed-health-tool-heart-rate] คอเลสเตอรอลสูง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร อย่างที่ทราบกันดีว่า คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่อยู่ในเลือด แต่หากเมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นสูงขึ้น ก็อาจทำให้คอเลสเตอรอลเกาะตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว และตีบตัน ส่งผลทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง บางครั้งคราบเหล่านั้นอาจไปอุดตันเส้นเลือด หรือเกิดลิ่มเลือดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจ จนขัดขวางการไหลเวียนไปยังหัวใจอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ และหากลิ่มเลือดมีการไปอุดตันยังเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงในสมอง ก็อาจยังเป็นการขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองก็อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเพียงแค่ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นมาก็สามารถทำให้สุขภาพร่างกายเข้าสูความเสี่ยงการเกิดโรคที่รุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในอนาคตเลยทีเดียว ปัจจัยที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีสูงขึ้น ปัจจัยที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีอยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้ อาหาร คอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งที่ร่างกายได้รับนั้นมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยอาหารบางชนิดช่วยทำให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรลชนิดไม่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัวที่พบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไขมันทรานส์ ที่พบได้ในคุกกี้ นอกจากนี้ยังมีอาหารจำพวก เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนม ก็สามารถช่วยให้คอเลสเตอรอลนั้นสูงขึ้นได้อีกด้วย โรคอ้วน หากเมื่อมีการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วพบว่าตนเองนั้นอยู่ในระดับ ตั้งแต่ 30 […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันได้อย่างไร

คอเลสเตอรอลสูง เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก อย่างเนื้อสัตว์ติดมันหรืออาหารทะเล รวมทั้งอาหารหวาน มัน เค็ม ซึ่งหากร่างกายมีคอเลอเตอรอลสูง จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น ควรจำกัดอาหารและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmi] คอเลสเตอรอลสูง คืออะไร คอเลสเตอรอล เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกระแสเลือด มีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ไม่ดี ส่วนคอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นสูงกว่าปกติ โดยปัญหาคอเลสเตอรอลสูงสามารถทำให้หลอดเลือดตีบตันหรืออุดตัน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหัวใจ ปัญหาคอเลสเตอรอลสูง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลสูง รวมถึงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ดังนั้น เพื่อป้องกันคอเลสเตอรอลสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย โดยวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัด คอเลสเตอรอลสูง ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ หากร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงในระยะยาว จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เพราะไขมันจะเข้าไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน หรือตีบตัน นำไปสู่การขาดเลือด จนร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจ  สมอง และระบบการทำงานต่าง ๆ ได้ตามปกติ ส่งผลให้หัวใจเกิดการขาดเลือด เสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ ตามมา วิธีป้องกัน คอเลสเตอรอลสูง การรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่ปกติขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถปฏิบัติตนตมคำแนะนำต่อไปนี้ […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ เมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หลอดเลือดอาจตีบหรืออุดตันได้ จนส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่ดีพอ เมื่อเลือดและออกซิเจนไม่สามารถเดินทางเเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ทำให้เสี่ยงส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ และก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ [embed-health-tool-bmi] คอเลสเตอรอลคืออะไร คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายไขมัน ที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์และฮอร์โมนใหม่ ๆ รวมถึงช่วยสร้างปลอกประสาท  ปกติ ทั้งนี้ คอเลสเตอรอลจะเดินทางผ่านกระแสเลือดในสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือที่รู้จักกันในชื่อของไขมันเลว ซึ่งมีความสามารถในการเกาะผนังหลอดเลือด หากมีปริมาณสูงอาจก่อให้เกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน และยังพบได้ในสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งถูกยกให้เป็นไขมันดี เพราะมีความสามารถในการกำจัดคอเลสเตอรอลออกจากเลือด ถ้าร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ  โดยปกติ คอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นสร้างจากตับ ทั้งนี้ หากรับประทานอาหารอย่างเช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ การรับประทานอาหารจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากมีคอเลสเตอรอลอยู่ในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ปริมาณของคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเสี่ยงเกิดโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง และบางครั้งอาจเกิดการอุดกั้นจนเลือดไม่อาจไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้น เลือดมีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ หากหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอ นำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก หรืออาจรุนแรงกว่านั้นถึงขั้นหัวใจวายเมื่อหลอดเลือดอุดตันจนหัวใจเกิดภาวะขาดเลือด อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์สามารถเพิ่มให้จำนวนไขมันเลว LDL สูงมากขึ้น และทำให้ไขมันดี HDL ลดน้อยลง หากบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นอีกด้วย ไขมันทรานส์มักพบได้ในอาหารแปรรูปหลายชนิด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ จึงควรงดรับประทานอาหารที่ระบุว่ามี PHOs ซึ่งหมายถึงน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน […]


คอเลสเตอรอล

อาหารคอเลสเตอรอลสูง ที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง เพื่อป้องกันโรคหัวใจ

อาหารคอเลสเตอรอลสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอล โดยคอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งที่เกาะอยู่ตามเซล์ต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย โดยปกติคอเลสเตอรอลจะถูกสร้างขึ้นจากตับของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่สร้างฮอร์โมน วิตามินดี  เส้นประสาท และการย่อยอาหาร  หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงมากจนเกินไป อาจสร้างคราบจุลินทรีย์หนาอุดตันทางเดินของหลอดเลือดส่งผลให้เลือดมีการไหลเวียนได้ไม่ดี นำไปสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ อย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองได้ [embed-health-tool-bmi] อาหารคอเลสเตอรอลสูง ที่ควรหลีกเลี่ยง คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และ คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) โดยอาหารที่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอลไม่ดี ซึ่งควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการรับประทานเพื่อป้องกันโรคหัวใจ มีดังนี้ 1. ไข่แดง ไข่ 1 ฟอง มีคอเลสเตอรอลประมาณ 186 มิลลิกรัม ซึ่งจัดอยู่ในปริมาณมาก แต่เนื่องจากไข่มีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย จึงควรจำกัดปริมาณในการรับประทาน หรือควรรับประทานควบคู่ไปกับอาหารประเภทไฟเบอร์ 2. ชีส ถึงแม้ว่าชีสเพียงแค่เศษเล็กเศษน้อยที่โรยอยู่ตามหน้าอาหาร อาจจะดูเหมือนว่าไม่มี คอเลสเตอรอล มากมายแต่แท้จริงสามารถเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลให้ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อรับประทานคู่กับอาหารที่มีไขมันสูงร่วมด้วย 3. กุ้ง กุ้งหนึ่งตัวมีคอเลสเตอรอลประมาณ 170 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำต่อวันจึงควรรับประทานแต่พอเหมาะ และไม่ควรรับประทานบ่อยเกินไปเพราะอาจทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลสูงเกินไป 4. ตับ ตับอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหาร แต่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการจะลดปริมาณคอเลสเตอรอล อย่างตับเนื้อวัว 85 กรัม มีคอเลสเตอรอล 333 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจได้หากรับประทานบ่อยเกินไป 5. […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงกว่าปกติ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังมีการประมาณการณ์ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2.6 ล้านราย (ร้อยละ 4.5 ของทั้งหมด) ได้เลยทีเดียว คำจำกัดความคอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) คืออะไร คอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงกว่าปกติ คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายขึ้ผึ้งชนิดหนึ่งที่พบในหลอดเลือด เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นอาจมีไขมันสะสมจำนวนมากภายในหลอดเลือด ท้ายที่สุดแล้วไขมันเหล่านี้อาจทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดอย่างได้ยาก และทำให้หัวใจอาจไม่ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนได้มากเพียงพอ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย (heart attack) และอาการรุนแรงอื่น ๆ จากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง อาการอาการของ คอเลสเตอรอลสูง เมื่อคอเลสเตอรอลสูงสิ่งที่จะสังเกตได้ชัดคือตัวเลขขณะตรวจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเนื่องจากเป็นภาวะที่ไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ ออกมา นอกเหนือจากว่ามีอาการของโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยค่าคอเลสเตรอลที่บ่งบอกถึงระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นอยู่ที่ 160–190 มก./ดล. ขึ้นไป หากวัดด้วยตนเองแล้วพบว่าค่าตัวเลขอยู่ในระดับสูงดังกล่าว โปรดเข้ารับคำปรึกษา และการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อทำการลดคอเลสเตอรอลกลับมาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติดังเดิม สาเหตุสาเหตุของ คอเลสเตอรอลสูง สาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงส่วนใหญ่อาจมาจากอาหารที่เราเลือกรับประทานในแต่ละวัน และพฤติกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังหายเพื่อนำไขมันส่วนเกินออก เนื่องจากอาหารในแต่ละมื้อที่เลือกรับประทานมักประกอบไปด้วย คอเลสเตอรอล หลายชนิดที่อยู่ภายใน โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) […]


คอเลสเตอรอล

กินยาลดคอเลสเตอรอล ก่อนกินอาหารไขมันสูง..ช่วยได้หรือไม่ช่วย?

คนจำนวนมากมีนิสัยชอบ กินยาลดคอเลสเตอรอล ก่อนการรับประทานอาหารที่มีไขมัน อย่างไรก็ดี นี่เป็นสิ่งจำเป็นจริงๆ หรือ? บทความต่อไปนี้จะให้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ คอเลสเตอรอลคืออะไร อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า คอเลสเตอรอลทั้งหมดเป็นสิ่งไม่ดี ในความเป็นจริงแล้ว คอเลสเตอรอลในปลาเป็นคอเลสเตอรอลที่ดี เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง (high-density lipoproteins or HDL) ซึ่งสามารถช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสมอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าคอเลสเตอรอลในบางระดับ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่หากบริโภคในปริมาณมาก ก็สามารถทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย (heart attack) โรคหัวใจ (heart diseases) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ได้ ยาลดคอเลสเตอรอลคืออะไร ยาลดคอเลสเตอรอลใช้เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลในระดับสูง ถึงแม้ว่าการใช้ยาลดคอเลสเตอรอล สามารถช่วยเกี่ยวกับระดับคอเลสเตอรอลได้ หากก็คล้ายกับยาประเภทอื่นๆ นั่นก็คือ ยาดังกล่าวมาพร้อมผลข้างเคียง ความรุนแรงของผลข้างเคียงมีความหลากหลาย ตามแต่ละบุคคลและภาวะสุขภาพ อาการข้างเคียง ได้แก่ ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องผูก ปวดกล้ามเนื้อ รวมทั้งอ่อนเพลีย ข้อควรจำในการใช้ยาลดคอเลสเตอรอล ทันทีที่คุณเริ่มใช้ยาลดคอเลสเตอรอล คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เวลาที่คุณควรใช้ยา จากข้อมูลของ British Heart Foundation หากคุณใช้ยาสเตติน (statins) ควรรับประทานยาก่อนนอน เนื่องจากหลังเวลาเที่ยงคืน การสร้างคอเลสเตอรอลที่ตับจะมีระดับสูงที่สุด ดังนั้น จำไว้ว่าให้รับประทานยาชนิดนี้ก่อนนอน ทางเลือกในการลดระดับคอเลสเตอรอล หากคุณปรารถนาที่จะลดระดับคอเลสเตอรอลตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ยาช่วย […]


คอเลสเตอรอล

ตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Cholesterol And Triglycerides Test)

การ ตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Cholesterol And Triglycerides Test) เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดค่าไขมันในเลือด ที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ ข้อมูลพื้นฐานการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Cholesterol And Triglycerides Test) เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารไขมันทั้งหมดในเลือด คอเลสเตอรอลมาพร้อมกับโปรตีนที่ไหลผ่านกระแสเลือด สารทั้งสองชนิดที่ควบคู่กันนี้เรียกว่า ลิโปโปรตีน การวิเคราะห์ลิโปโปรตีน (ลิปิดโปรไฟล์) เป็นการวัดระดับคอเลสเตอรอลรวม ไขมันเลว ไขมันดี รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด ร่างกายใช้คอเลสเตอรอล เพื่อช่วยสร้างเซลล์และสร้างฮอร์โมน ปริมาณคอเลสเตอรอลที่มากเกินไป อาจสะสมอยู่ในหลอดเลือด และกลายเป็นคราบไขมัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ยิ่งมีคราบไขมันในผนังหลอดเลือดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นเท่านั้น ชนิดของไขมันในเลือด เอชดีแอล (ลิโปโปรตีนความเข้มข้นสูง หรือ HDL) ช่วยขับไขมันจากร่างกาย โดยการจับไขมันไว้ในกระแสเลือด และลำเลียงไปที่ตับเพื่อขับออกจากร่างกายต่อไป บางครั้งเรียกว่า “ไขมันดี” ระดับเอชดีแอลที่สูงเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจที่ต่ำลง แอลดีแอล (ลิโปโปรตีนความเข้มข้นต่ำ หรือ LDL) จะลำเลียงไขมันส่วนใหญ่และโปรตีนเล็กน้อยไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การมีระดับแอลดีแอลในกระแสเลือดในระดับหนึ่งถือว่าปกติ และส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะแอลดีแอลช่วยส่งคอเลสเตอรอลไปยังส่วนต่างๆ ตามที่ร่างกายต้องการ แต่คอเลสเตอรอลประเภทนี้เรียกว่า “ไขมันเลว” เพราะหากมีมากเกินไป อาจเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้ วีแอลดีแอล (ลิโปโปรตีนความเข้มข้นต่ำมาก หรือ VLDL) จะมีปริมาณโปรตีนอยู่น้อยมาก […]


คอเลสเตอรอล

สาเหตุไขมันในเลือดสูง มาจากพันธุกรรมได้หรือไม่?

ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial hypercholesterolemia: FH) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยที่ระดับคอเลสเตอรอลแอลดีแอล (LDL) ในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากผลกระทบที่ยีนมากกว่า 100 ยีนในร่างกาย มีต่อการจัดการระดับคอเลสเตอรอลของร่างกาย กล่าวคือ คุณอาจรับภาวะนี้จากกรรมพันธุ์ของบุคคลในครอบครัว ซึ่งโดยปกติแล้ว ภาวะนี้สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดได้ตั้งแต่ที่คุณยังอยู่ในช่วงวัยเด็ก ประมาณร้อยละ 10 บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับ สาเหตุไขมันในเลือดสูง จากพันธุกรรมมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ สาเหตุไขมันในเลือดสูง จากพันธุกรรม กระแสเลือดมีบทบาทสำคัญในการส่งคอเลสเตอรอลในร่างกายของเรา หลังจากอนุภาคที่เล็กมากของคอเลสเตอรอลแอลดีแอล (LDL) ไปเกาะกับหน่วยรับของเซลล์ อนุภาคเหล่านั้นจะถูกดูดซึม จากนั้น ยีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแอลดีแอลอาร์ (LDLR) บนโครโมโซม 19 จะทำหน้าที่ในการผลิตหน่วยรับเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมเกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของยีนแอลดีแอลอาร์ซึ่งส่งผลต่อจำนวนและโครงสร้างของหน่วยรับ สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนชนิดอื่น เช่น ยีนเอพีโอบี (APOB) หรือยีนส์พีซีเอสเค9 (PCSK9) ดังนั้น คอเลสเตอรอลแอลดีแอล จึงไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ตามที่ควรจะเป็น รูปแบบของการได้รับภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม โดยปกติแล้วลูกได้รับยีนจากฝ่ายพ่อหรือแม่ แต่มีบางกรณีที่เป็นส่วนน้อย ที่เด็กจะได้รับยีนจากทั้งพ่อและแม่ จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่ได้รับยีนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เด็กมีโอกาสถึงร้อยละ 50 […]


คอเลสเตอรอล

การดื่มเบียร์ ส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร

การดื่มเบียร์ เป็นกิจกรรมยอดนิยมในหลายประเทศ ผู้คนมากมายมีความสุขกับการดื่มเบียร์ และมีการดื่มกันเป็นประจำ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า เบียร์สามารถทำร้ายสุขภาพของคุณได้ จากผลเสียหลายอย่างที่ตามมากับการ ดื่มเบียร์ เช่น ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อระดับของไขมันดีและไขมันเลวในร่างกาย Hello คุณหมอ ขอนำเสนอบทความนี้ ซึ่งจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเบียร์และระดับคอเลสเตอรอลของคุณ [embed-health-tool-bmi] เบียร์มีส่วนประกอบของไฟโตสเตอรอล ที่ทำหน้าที่จับคอเลสเตอรอล เบียร์ (Beer) เป็นขนมปังในรูปของเหลว เนื่องจากเบียร์ประกอบไปด้วยมอลต์ ยีสต์ และฮ็อป คล้ายกับส่วนประกอบในการทำขนมปัง ส่วนประกอบเหล่านี้มีไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ซึ่งจะจับเข้ากับคอเลสเตอรอล และขับมันออกจากร่างกาย ไฟโตสเตอรอลบางชนิด หรือสเตอรอลจากพืช จะใส่ลงในอาหารต่าง ๆ และได้รับการโฆษณาว่าเป็นอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล จากการทดลองบางชิ้นในหนูทดลองพบว่า การดื่มเบียร์ในปริมาณปานกลาง สามารถช่วยลดอัตราคอเลสเตอรอลในตับ และเส้นเลือดเอออร์ต้า (Aorta)ได้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปิดเผยว่า มีองค์ประกอบบางอย่างที่ระบุไม่ได้ในเบียร์ ที่อาจเปลี่ยนการย่อยลิโปโปรตีน (Lipoprotein) และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ การดื่มเบียร์ ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร คอเลสเตอรอลเกือบทั้งหมดในร่างกายของคนเรา ถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติ แต่บางส่วนมาจากอาหารที่รับประทาน นอกจากส่วนประกอบ เช่น มอลต์ ยีสต์ และฮ็อป เบียร์ยังประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและแอลกอฮอล์ ดังนั้น เมื่อคุณ ดื่มเบียร์ ระดับไตรกลีเซอไรด์อาจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระดับไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนหนึ่งของคอเลสเตอรอลโดยรวม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน