backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ เมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หลอดเลือดอาจตีบหรืออุดตันได้ จนส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่ดีพอ เมื่อเลือดและออกซิเจนไม่สามารถเดินทางเเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ทำให้เสี่ยงส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ และก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจได้

คอเลสเตอรอลคืออะไร

คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายไขมัน ที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์และฮอร์โมนใหม่ ๆ รวมถึงช่วยสร้างปลอกประสาท  ปกติ ทั้งนี้ คอเลสเตอรอลจะเดินทางผ่านกระแสเลือดในสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือที่รู้จักกันในชื่อของไขมันเลว ซึ่งมีความสามารถในการเกาะผนังหลอดเลือด หากมีปริมาณสูงอาจก่อให้เกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน และยังพบได้ในสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งถูกยกให้เป็นไขมันดี เพราะมีความสามารถในการกำจัดคอเลสเตอรอลออกจากเลือด ถ้าร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 

โดยปกติ คอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นสร้างจากตับ ทั้งนี้ หากรับประทานอาหารอย่างเช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ การรับประทานอาหารจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อระดับคอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

หากมีคอเลสเตอรอลอยู่ในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ปริมาณของคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเสี่ยงเกิดโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง และบางครั้งอาจเกิดการอุดกั้นจนเลือดไม่อาจไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

นอกจากนั้น เลือดมีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ หากหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอ นำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก หรืออาจรุนแรงกว่านั้นถึงขั้นหัวใจวายเมื่อหลอดเลือดอุดตันจนหัวใจเกิดภาวะขาดเลือด

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

ไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว

ไขมันทรานส์สามารถเพิ่มให้จำนวนไขมันเลว LDL สูงมากขึ้น และทำให้ไขมันดี HDL ลดน้อยลง หากบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นอีกด้วย

ไขมันทรานส์มักพบได้ในอาหารแปรรูปหลายชนิด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ จึงควรงดรับประทานอาหารที่ระบุว่ามี PHOs ซึ่งหมายถึงน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ไขมันทรานส์ปริมาณสูง หรืออาหารที่มีป้ายแปะว่ามีไขมันทรานส์ 

นอกจากนี้ ยังพบไขมันเลว LDL ได้ในไขมันอิ่มตัว ซึ่งควรรับประทานแต่เพียงน้อย ตัวอย่างอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว มีดังต่อไปนี้

  • ขนมหวาน
  • ขนมพาย
  • ของทอด
  • เนื้อแดง
  • เนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป
  • เนื้อติดมัน
  • น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันนมทุกชนิด
  • การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงมากเกินไป รวมทั้งการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารแปรรูป จะทำให้เกิดโรคอ้วน และภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคแทรกซ้อนชนิดอื่น ๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    Heart Disease and Lowering Cholesterol. http://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-lower-cholesterol-risk#1. Accessed August 15, 2022.

    Cardiovascular Disease: Prevention & Reversa. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/17385-cardiovascular-disease-prevention–reversal. Accessed August 15, 2022.

    Cholesterol and Heart Disease: Current Concepts in Pathogenesis and Treatment. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2571342/. Accessed August 15, 2022.

    Cholesterol Myths and Facts. https://www.cdc.gov/cholesterol/myths_facts.htm. Accessed August 15, 2022.

    High cholesterol. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/symptoms-causes/syc-20350800. Accessed August 15, 2022.

    เวอร์ชันปัจจุบัน

    15/08/2022

    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

    อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet

    avatar

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/08/2022

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา