backup og meta

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

โรคหลอดเลือดแข็งตัว เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมจำนวนมากตามผนังหลอดเลือด จนส่งผลให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด โดยการก่อตัวของจุลินทรีย์นี้สามารถมาได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น ไขมัน ระดับกลูโคส การสูบบุหรี่ เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จัก การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการเตรียมตัวเข้ารับการวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อรับมือให้พร้อมกับอาการที่เกิดขึ้นมาฝากกันค่ะ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับวินิจฉัย โรคหลอดเลือดแข็งตัว

ส่วนใหญ่ โรคหลอดเลือดแข็งตัว มักส่งสัญญาณเตือนมาในรูปแบบอาการเจ็บหน้าอก แขนขาอ่อนแรง การสื่อสารผิดปกติ ปวดขาขณะเคลื่อนไหว และเริ่มสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นเมื่อใดที่คุณพบกับสัญญาณเตือนข้างต้นนี้ ไม่ว่าจะอาการใดอาการหนึ่ง โปรดรีบขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในทันที และตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุโรคหลอดเลือดแข็งตัว ดังนี้

  • จดบันทึกโรคประจำตัว อาการ ที่คุณกำลังเป็น รวมถึงยา วิตามิน ที่คุณกำลังใช้ในปัจจุบัน เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • หากคนในครอบครัวของคุณเคยมีประวัติโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด อาจต้องแจ้งให้แพทย์ทราบร่วมด้วย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มก่อนการเข้าทดสอบ
  • นำคนรอบข้างคนใดคนหนึ่งไปด้วย เพื่อช่วยจดจำข้อมูลที่แพทย์จะแจ้งเพิ่มเติม

เทคนิคการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็งตัว

หลังจากที่แพทย์สอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของคุณแล้ว คุณอาจได้รับการวินิจฉัยด้วยเทคนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือ 2-3 เทคนิคร่วมกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของอาการ และสาเหตุเผยออกมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

  • ตรวจเลือด แพทย์ หรือพยาบาลผู้ช่วยจะดำเนินการเจาะเลือดนำไปวิเคราะห์หาระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลว่ามีระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถส่งผลก่อให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดได้
  • ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว เชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ ทำให้ตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดี
  • อัลตราซาวน​ด์เทคนิคดอปเปลอร์ (Doppler Ultrasound) เป็นการวัดความดันโลหิตเฉพาะจุด ตามแขน และขา ตลอดจนการเช็กว่าภายในคุณมีระบบไหลเวียนของเลือดได้เร็วแค่ไหน
  • การสวนหัวใจ และหลอดเลือด เป็นการทดสอบที่แสดงให้เห็นว่าคุณเสี่ยงเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือไม่ โดยจะสอดท่อที่มีความยืดหยุ่นเข้าใจยังหัวใจ และเติมสีย้อมทางการแพทย์ลงไปในหลอดเลือด ซึ่งจะมองเห็นได้จากมอนิเตอร์ด้านนอกว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  • ซีทีแสกน (CT Scan) การตรวจด้วยเทคนิคนี้เป็นการถ่ายภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างโครงสร้างบริเวณโดยรอบหัวใจ และจะสามารถแสดงผลให้เห็นถึงแคลเซียมที่เกาะตามผนังในหลอดเลือดของคุณออกมาร่วมด้วยว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำไปพิจารณาการรักษา

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว

  • การใช้ลวดขยายหลอดเลือด แพทย์จะทำการผ่าตัดสอดสายสวน และขดลวดให้เปิดหลอดเลือดที่มีการอุดตัน ทำให้หลอดเลือดกว้างจนเลือดไหลเวียนได้ง่าย
  • ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดที่แข็งแรงในส่วนอื่นของร่างกายเข้ามาสร้างต่อเป็นทางเลี่ยงรอบหลอดเลือดแดงที่มีการอุดตัน หรือบางครั้งก็อาจใช้การปลูกถ่ายอวัยวะที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์แทน เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปทางอื่นได้อย่างงสะดวก
  • การผ่าตัดเอาคราบพลัคออก เทคนิคนี้จะใช้ต่อเมื่อผลการวินิจฉัยระบุว่าคุณมีคราบพลัคจำนวนมากในหลอดเลือด แพทย์จึงจะทำการนัดหมายผ่าตัดนำคราบพลัคที่อุดตันเหล่านี้ออกไป

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to know about atherosclerosis. https://www.medicalnewstoday.com/articles/247837. Accessed July 07, 2021

Atherosclerosis (arteriosclerosis). https://www.nhs.uk/conditions/atherosclerosis/. Accessed July 07, 2021

Atherosclerosis. https://www.heart.org/en/health-topics/cholesterol/about-cholesterol/atherosclerosis. Accessed July 07, 2021

Atherosclerosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arteriosclerosis-atherosclerosis/symptoms-causes/syc-20350569. Accessed July 07, 2021

Atherosclerosis.  https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/atherosclerosis. Accessed July 07, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไข 19/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา