backup og meta

แอลกอฮอล์ และ สุขภาพหัวใจ สัมพันธ์กันอย่างไร

แอลกอฮอล์ และ สุขภาพหัวใจ สัมพันธ์กันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่าง แอลกอฮอล์และสุขภาพหัวใจ นั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน หากคุณต้องการป้องกันโรคหัวใจ คุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์เป็นของที่ไม่มีประโยชน์ การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่แอลกอฮอล์นั้นมีคุณสมบัติทั้งปกป้องหัวใจและสามารถทำลายหัวใจได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้แอลกอฮอล์อย่างไร ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมข้อเท็จจริงว่า แอลกอฮอล์ มีความเชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไรบ้าง

การดื่ม แอลกอฮอล์ หนักเกินไปสามารถส่งผลต่อ สุขภาพหัวใจ ได้อย่างไรบ้าง

สำหรับผู้เริ่มต้น การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก (มากกว่า 2 แก้วต่อวัน) อาจทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณดื่มเบียร์ 6 กระป๋อง วิสกี้ 1 ขวด ไวน์ ½-1 ขวด ทุกวันเป็นเวลา 10 ปี จะส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน โรคส่วนใหญ่ที่มักพบ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือดแดง ฉะนั้น แอลกอฮอล์คือสาเหตุอันดับสองของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ

เมื่อหัวใจได้รับความเสียหาย จะไม่สามารถฟื้นฟูหัวใจได้อย่างสมบูรณ์ หากหัวใจมีภาวะลิ่มเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย (แพทย์บางท่านเรียกอาการนี้ว่า “โรคหัวใจช่วงสุดสัปดาห์” (เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักดื่มอย่างหนักในช่วงวันหยุด) หากคุณยังคงดื่มต่อไปอาจมีผลเสียตามมาอย่างร้ายแรง ผู้ที่เสพติดแอลกอฮอล์กว่าครึ่ง อาการจะพัฒนาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจเสียชีวิตภายใน 4 ปี

ข่าวดีก็คือความเสียหายส่วนใหญ่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อผู้ที่ติดสุรามีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจงดดื่มสุราแล้วนั้น ความดันโลหิตและสุขภาพของหัวใจจะกลับมาดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่งดดื่มมากกว่า 90% จะกลับมามีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 4 ปี

การดื่มอย่างหนัก เช่น ดื่มมากกว่า 3 แก้วหรือมากกว่าต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากจะความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ของ แอลกอฮอล์ และ สุขภาพหัวใจ จึงมีทั้งด้านดีและด้านเสีย แอลกอฮอล์อาจช่วยเพิ่มอายุขัยให้คุณได้แต่ก็ต้องมีความยับยั้งชั่งใจ ไม่เช่นนั้นแอลกอฮอล์ก็อาจจะเป็นภัยคุมคามต่อชีวิตคุณได้

แอลกอฮอล์ อาจส่งเสริม สุขภาพหัวใจ ให้แข็งแรงได้จริงหรือไม่?

เมื่อนักดื่มควรหยุดดื่มวิสกี้วันละ 1 ขวดหรือเบียร์วันละ 6 กระป๋อง นั่นคือสิ่งที่ดีเพราะว่าการดื่มในปริมาณที่เหมาะสมจะสามารถปกป้องโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการศึกษามากกว่า 60 ชิ้น แนะนำว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมจะสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ถึง 40 %

คำจำกัดความของการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมคือ สำหรับผู้ชายควรดื่มแอลกอฮอล์ 2 แก้วต่อวัน และสำหรับผู้หญิงคือ 1 แก้วต่อวัน

ข้อดีของแอลกอฮอล์ คือมีประโยชน์สำหรับหัวใจหลายประการ เช่น ช่วยเพิ่มไขมันที่ดีและช่วยป้องกันการสร้างไขมันเลวสำหรับหัวใจ และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดแดง

อย่างไรก็ตาม สมาคมโรคหัวใจอเมริกา (The American Heart Association : AHA) กล่าวว่า การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างไขมันที่ดีสำหรับหัวใจ ดังนั้นการไปออกกำลังกายที่ยิมแทนการไปหาเครื่องดื่ม อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสุขภาพ แอลกอฮอล์ยังอาจทำให้เลือดเจือจาง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตรายได้ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยอาจช่วยลดความดันโลหิต แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน

แอลกอฮอล์บางประเภท ดีกว่าแอลกอฮอล์ประเภทอื่น ๆ หรือไม่

ยังไม่มีหลักฐานข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน แต่มีบางการศึกษาแนะนำว่า ไวน์แดงมีประโยชน์มากกว่าแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ไวน์แดงประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสารเรสเวอราทอล (สารยืดอายุยีนมนุษย์)  ซึ่งอาจช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดง (การอุดตันของหลอดเลือดแดงที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของแข็งตัวของเลือดและลิ่มเลือด)

ตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจอเมริกาเกี่ยวกับไวน์และโรคหัวใจนั้น ยังไม่มีข้อสรูปที่บ่งชี้ได้ว่าไวน์แดงมีประโยชน์ต่อหัวใจมากกว่าไวน์ขาว เบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ พร้อมทั้งกล่าวอีกว่าไวน์แดงไม่ได้มีประโยชน์พิเศษใด ๆ ที่ไปมากกว่าน้ำองุ่นธรรมดาอีกด้วย

คนที่ไม่ดื่ม แอลกอฮอล์ ควรเริ่มดื่มหรือไม่

ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ควรสนับสนุนให้ดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น สมาคมโรคหัวใจอเมริกาเน้นย้ำว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่สามารถดื่มแอลกอฮอล์เพื่อทดแทนอาหารเพื่อสุขภาพหรือการออกกำลังกายได้เมื่อคุณมีสุขภาพหัวใจที่ดีอยู่แล้ว

ผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ อาจลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายได้โดยการดื่มเบียร์ ไวน์หรือสุราได้ แต่จะเสียเงินไปทำไมล่ะ เหตุผลที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการดื่ม คือ การดื่มไวน์สักแก้วเพื่อหัวใจ อาจไม่สามารถหลบซ่อนความเสี่ยงที่จะเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ นอกจากนี้ ปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางอาจเพิ่มความเสี่ยงของอุบัติเหตุ โรคมะเร็งบางชนิด (มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่) และส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์

หากคุณไม่ใช่คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มดื่ม สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น คนหนุ่มสาวที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นโรคหัวใจ อาจมีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์

นอกจากนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์หากคุณเป็นผู้ชายที่ดื่มสุรามากกว่า 2 แก้วต่อวัน หรือเป็นผู้หญิงที่ดื่มมากกว่า 1 แก้วต่อวันเป็นระยะเวลานาน แม้ว่าคุณจะดื่มในปริมาณที่ไม่สามารถเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ แต่ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การปกป้องหัวใจเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่ใช่การจ่ายเงินสำหรับแอลกอฮอล์เพื่อรักษาร่างกายของคุณ

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alcohol and Heart Disease https://www.ahajournals.org/doi/full/10.1161/01.cir.94.11.3023 Accessed June 30, 2020

Alcohol and Heart Health.American Heart Association.http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/NutritionCenter/HealthyEating/Alcohol-and-Heart-Health_UCM_305173_Article.jsp Accessed June 30, 2020

Alcohol and Heart Disease https://www.webmd.com/heart-disease/guide/heart-disease-alcohol-your-heart Accessed June 30, 2020

Mortality and light to moderate alcohol consumption after myocardial infarction https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(05)66947-4/fulltext. Accessed June 30, 2020

Wine and Your Heart https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/01.CIR.103.3.472 Accessed June 30, 2020

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/05/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 05/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา