backup og meta

อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง ระดับรุนแรง ที่คุณต้องเข้าพบคุณหมอโดยด่วน!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง ระดับรุนแรง ที่คุณต้องเข้าพบคุณหมอโดยด่วน!

    โรคหลอดเลือดแข็ง อาจเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดมีการตีบตัว หรือมีคราบพลัคเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด จนขัดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ และอาจส่งผลให้ อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น เจ็บหน้าอก แขนขาอ่อนแรง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

    สาเหตุที่ส่งผลให้คุณเป็น โรคหลอดเลือดแข็ง

    สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง อาจมาจากโรคเรื้อรังและภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ภาวะดื้ออินซูอิน
  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคลูปัส
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • นอกจากนี้พฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกกินอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน การไม่ออกกำลังกาย ก็อาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิด อาการหลอดเลือดแข็ง ได้เช่นกัน

    อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง ที่ควรระวัง

    ในระยะแรกอาการของโรคหลอดเลือดแข็ง มักไม่ปรากฏ จนกระทั่งเมื่อหลอดเลือดเริ่มตีบลงจึงจะค่อยเผยอาการรุนแรงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • อาการหลอดเลือดแข็ง บริเวณหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก จังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ หายใจถี่ อาเจียน
    • อาการหลอดเลือดแข็ง บริเวณหลอดเลือดสมอง ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อบนใบหน้าตาย อัมพาต ปวดศีรษะรุนแรง มีปัญหาด้านการมองเห็นอาจถึงขั้นตาบอด
    • อาการหลอดเลือดแข็ง บริเวณแขน ขา และกระดูกเชิงกราน ได้แก่ ปวดแขนขาขณะเคลื่อนไหว รู้สึกชา
    • อาการหลอดเลือดแข็ง ที่เกี่ยวข้องกับไต ได้แก่ ระดับความดันโลหิตสูง เท้าแขนบวม ไม่มีสมาธิ ไตวาย

    ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแข็ง

    โรคหลอดเลือดแข็ง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่งจะมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแข็งได้มากกว่าถึง 50% นอกจากนี้ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย ไม่รักษาสมดุลของน้ำหนักตัว รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งด้วยเช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา