backup og meta

ความดันโลหิตสูง VS โรคความดันโลหิตสูง ความแตกต่างที่ควรรู้

ความดันโลหิตสูง VS โรคความดันโลหิตสูง ความแตกต่างที่ควรรู้

ภาวะความดันโลหิตสูง (High blood pressure) และ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มักเป็นคำที่ใช้แทนกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูง และ โรคความดันโลหิตสูงก็ ยังคงมีความแตกต่างเล็กน้อยสำหรับ โดยจะมีความต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนให้หายข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตในอัตราที่เหมาะสมของคนเรานั้น ควรอยู่ระหว่าง 90/60 มม. ปรอท และ 120/80 มม. ปรอท หากความดันโลหิตมีค่าถึง 140/90 มม. ปรอท หรือสูงไปกว่านี้ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังมีภาวะ ความดันโลหิตสูง นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าความดันโลหิตมักไม่มีตัวเลขคงที่เสมอไป เพราะมักมีการเปลี่ยนแปลงค่าตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ และแม้กระทั่งอาหา หรือเครื่องดื่มที่รับประทานในแต่ละมื้อ

อีกทั้งความดันโลหิตของคุณอาจเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดินในระยะไกล หรือการปีนขั้นบันได หรือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ และมีอัตราของค่าความดันเพียงระยะสั้น ๆ ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการมีภาวะความดันโลหิตสูงนาน ๆ ครั้ง มักไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังเสมอไป เพื่อให้ทราบผลลัพธ์ที่แน่ชัด และแม่นยำ คุณอาจต้องเข้าขอรับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วยตามการนัดหมายแพทย์

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันเลือดสูง เกิดขึ้นเมื่อความดันโลหิตของคุณมีค่าสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยปัจจัยหลักของโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่ความเสี่ยงของโรคดังกล่าวได้

ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน และโรคเบาหวาน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้โรคความดันโลหิตสูงยังได้รับการจัดว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม ดังนั้น หากคุณมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังแต่เดิม ก็สามารถนำพาส่งต่อมาทางยีนส์สู่คุณ หรือบุตรหลานสืบเนื่องต่อ ๆ กันไป

รู้ให้ทันก่อนเสี่ยงเป็น ความดันโลหิต และ โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตระหว่าง 120/80 มม. ปรอท และ 140/90 มม. ปรอท เป็นสัญญาณเตือนสำหรับความดันโลหิตสูง หากคุณไม่เข้ารับการตรวจวัด เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ในการลดความดันโลหิต ก็อาจส่งผลให้คุณสามารถเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังจนทำลายสุขภาพ และยากต่อการรักษามากกว่าเดิมได้

หากคุณสามารถลดโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง วิธีปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยรักษาสุขภาพไว้ได้ไม่มากก็น้อย

  • งดสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พยายามจำกัดการบริโภคคาเฟอีน และเกลือ
  • หากคุณเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ให้เข้ารับการรักษาหรือคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ผู้ที่มีค่าความดันเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้มีค่าสูงจนเกินกว่าเกณฑ์

โดยสรุปแล้ว การมีความดันเลือดสูงเป็นครั้งคราว ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม คุณควรที่จะมีการดูแลในเรื่องของการออกกำลังกาย การพักผ่อน และการทานอาหารที่มีประโยชน์ ตลอดจนการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เพื่อให้รูปแบบการใช้ชีวิตเหล่านั้นส่งผลดีต่อสุขภาพ และควรหาโอกาสไปพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อติดตามอาการของคุณอย่างต่อเนื่อง

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High blood pressure (hypertension). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410. Accessed October 24, 2018

Everything you need to know about hypertension. https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109.php. Accessed October 24, 2018

Hypertension/High Blood Pressure Health Center. https://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/default.htm. Accessed October 24, 2018

High blood pressure (hypertension). https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-pressure-hypertension/ . Accessed October 24, 2018

High Blood Pressure. https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure. Accessed October 24, 2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/05/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เรื่องของความดันโลหิตสูง ที่คุณคิดว่ารู้ แต่จริงๆ เข้าใจผิดทั้งเพ!

วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเอง ทำอย่างไรให้ถูกต้อง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 21/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา