backup og meta

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก
เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก

เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers) คือ ยาลดความดัน ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าคุณเป็นโรคนี้อยู่ก็อาจจะคุ้นกับชื่อยานี้ก็ได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าทำไมคุณถึงต้องรับประทาน แล้วยานี้จะช่วยลดความดันลงได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความเรื่องนี้ จาก Hello คุณหมอ ค่ะ

ตัวอย่างของ ยาลดความดัน เบต้าบล็อกเกอร์

มี ยาเบต้าบล็อกเกอร์ หลายประเภท ที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดก็จะมีผลทั้งกับหัวใจของคุณ และหลอดเลือดของคุณ ขณะที่บางชนิดจะมีผลแค่เฉพาะหัวใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วคุณจะไม่ใช้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ทั้งหมด แพทย์ของคุณจะเป็นคนจ่ายยาที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ

ตัวอย่างของ ยาเบต้าบล็อกเกอร์

  • ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) อย่างเช่น เซคทราล (Sectral)
  • ยาอะทีโนลอล (Atenolol) อย่างเช่น เทนอร์มิน (Tenormin)
  • ยาเบตาโซลอล (Betaxolol) อย่างเช่น เคอร์โลน (Kerlone)
  • ยาบิโซโพรลอล(Bisoprolol) อย่างเช่น ซีเบต้า (Zebeta) หรือ ซีแอค (Ziac)
  • ยาคาร์ทีโอลอล ไฮโดรคลอไรด์ (Carteolol hydrochloride) อย่างเช่น คาร์ทรอล (Cartrol)
  • ยาคาร์วีดิลอล (Carvedilol) อย่างเช่น คอเร็ก (Coreg)
  • ยาเมโทโพรลอล ทาร์เทรต (Metoprolol tartrate) อย่างเช่น โลเพรสโซ (Lopressor)
  • ยาเมโทโพรลอล ซัคซิเนส (Metoprolol succinate) อย่างเช่น โทรโพรล-เอ็กซ์แอล (Toprol-XL)
  • ยานาโดลอล (Nadolol) อย่างเช่น คอร์การ์ด (Corgard)
  • ยาเนบิโวโลล (Nebivolol) อย่างเช่น บิสโทลิก (Bystolic)
  • ยาเพนบูโทลอล ซัลเฟต (Penbutolol sulfate) อย่างเช่น เลวาทอล (Levatol)
  • ยาพินโดลอล (Pindolol) อย่างเช่น วิสเคน (Visken)
  • ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) อย่างเช่น อินดีรัล แอลเอ (Inderal LA) หรือ อินโนพราน เอ็กซ์แล(InnoPran XL)
  • ยาโซโลทอล ไฮโดรคลอไรด์ (Solotol hydrochloride) อย่างเช่น เบต้าเพซ (Betapace)
  • ยาทิโมลอล มาลีเอท (Timolol maleate) อย่างเช่น โบลคาเดรน (Blocadren)

ทำไมถึงต้องใช้เบต้าบล็อกเกอร์

เราสามารถใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เพื่อรักษา ป้องกัน และควบคุมอาการต่างๆ เช่น

  • ความดันโลหิตสูง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หัวใจล้มเหลว
  • หัวใจวาย
  • เจ็บหน้าอก
  • ไมเกรน (ประเภทของการปวดหัวที่สามารถพัฒนาไปเป็นการปวดที่รุนแรงได้)
  • อาการสั่นบางประเภท

แพทย์อาจสั่งยาตัวอื่นให้ก่อน เช่น ยาขับปัสสาวะ แต่ถ้ายานั้นใช้ไม่ได้ผล คุณก็อาจขอให้แพทย์จ่ายยาเบต้าบล็อกเกอร์ให้แทน โดยอาจใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ร่วมกับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น ๆ ได้ เช่น ACE inhibitors ยาขับปัสสาวะ และ Calcium Channel Blockers เพราะในบางครั้งเบต้าบล็อกเกอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าไม่ได้ใช้ร่วมกับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น ๆ

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ทำงานอย่างไร

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ อาจช่วยหยุดยั้งผลกระทบของอะดรีนาลีน การเต้นของหัวใจ และเลือดที่ถูกส่งออกมาจากหัวใจก็จะลดลงด้วย ส่งผลให้หลอดเลือดมีขนาดกว้างขึ้น จนสามารถลดความดันโลหิตให้คุณได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลข้างเคียงของ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ มีอยู่หลายประการ ซึ่งบางคนอาจจะไม่พบผลข้างเคียงอะไรเลย แต่บางคนอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น น้ำหนักเพิ่มขึ้น 

ส่วนอาการที่พบได้ไม่บ่อยก็คือ อาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า หัวใจเต้นช้าลง อาการคล้ายโรคหอบหืด (ไอ หายใจหอบหืด หายใจสั้นลง เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก)

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ อาจกระตุ้นอาการหอบในผู้ที่มีอาการหอบหืดได้  และอาจหยุดยั้งสัญญานของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ยังอาจทำให้มีระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วย การหยุดรับประทานยาเบต้าบล็อกเกอร์โดยทันที ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายได้

ใครบ้างที่ไม่ควรรับประทาน ยาเบต้าบล็อกเกอร์

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ อาจจะทำงานได้ไม่ดีกับผู้สูงอายุและคนผิวสี คนที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ความดันโลหิตต่ำขั้นรุนแรง หัวใจเต้นช้า ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้หญิงที่ให้นมบุตรเอง หรือผู้หญิงที่พยายามตั้งครรภ์

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ สามารถปิดกั้นสัญญาณอาการน้ำตาลในเลือดตกได้ ฉะนั้นจึงควรทำการตรวจสอบน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ

ข้อควรกังวลอื่น ๆ

มีข้อควรระวังบางประการในการใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ดังนี้

  • น้ำเกรปฟรุตเป็นน้ำผลไม้ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของยาเบต้าบล็อกเกอร์ได้
  • แสงแดดและอากาศเย็น ยาเบต้าบล็อกเกอร์อาจทำให้คุณไวต่อแสงแดด และอากาศเย็นๆได้ จึงควรป้องกันตัวเองไม่ให้มีอาการผื่นแดง อาการไหม้แดด และโรคหวัด

เราสามารถใช้ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ สำหรับโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตลง ด้วยการทำให้หัวใจเต้นช้า และบีบหัวใจของคุณเอาไว้ อย่างไรก็ตามยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้เหมือนกัน  ฉะนั้นถ้ามีอาการรุนแรงใดๆ  เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Types of Blood Pressure Medications. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/PreventionTreatmentofHighBloodPressure/TypesofBloodPressureMedications_UCM_303247_Article.jsp. Accessed June 1, 2017.

BetaBlockers for High Blood Pressure. http://www.webmd.com/hypertensionhighbloodpressure/guide/hypertensiontreatmentbetablockers#1. Accessed June 1, 2017.

BetaBlockers for High Blood Pressure. http://www.webmd.com/hypertensionhighbloodpressure/betablockersforhighbloodpressure. Accessed June 1, 2017.

High blood pressure (hypertension) – Beta blockers. http://www.mayoclinic.org/diseasesconditions/highbloodpressure/indepth/betablockers/art20044522. Accessed June 1, 2017.

Migraine. https://medlineplus.gov/migraine.html. Accessed June 1, 2017.

Asthma. http://www.mayoclinic.org/diseasesconditions/asthma/basics/symptoms/con20026992. Accessed June 1, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/01/2024

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

5 วิธีธรรมชาติที่ช่วย ลดความดันโลหิต สำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/01/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา