backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) กับความรู้พื้นฐานของโรค ที่คุณควรทราบ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/07/2021

หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) กับความรู้พื้นฐานของโรค ที่คุณควรทราบ

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตนเองนั้นเริ่มมีปัญหาในการสื่อสาร หรือเริ่มพูดคุยกับบุคคลรอบข้างติด ๆ ขัด ๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คำจำกัดความ

หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน คืออะไร

โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดของคุณมีการสะสมของไขมัน จนเกิดการอุดตันของหลอดเลือด จนไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังหลอดเลือดสมองได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจน เซลล์สมองเริ่มตาย และการรับรู้ช้าลงในที่สุด ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้มากถึง 10-20% รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ลิ่มเลือดขนาดใหญ่ คราบพลัคในหลอดเลือด หากคุณปล่อยไว้เป็นเวลานาน แน่นอนว่าเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด

หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน พบบ่อยได้เพียงใด

หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน สามารถพบได้บ่อยในทุกช่วงวัย และจะมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ ตามช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน ขาดการดูแลสุขภาพ

อาการ

อาการของหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน

ในระยะแรกเมื่อหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน อาจจะไม่แสดงอาการเผยให้เห็นเท่าไหร่นัก จนกว่าอาการจะเข้าสู่ในระดับที่รุนแรง ดังนั้นคุณจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และโปรดสังเกตตนเองหากพบอาการผิดปกติต่าง ๆ ดังนี้

  • ปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุ
  • วิงเวียนศีรษะจนหมดสติล้มลงอย่างกะทันหัน
  • สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
  • มองเห็นวัตถุรอบตัวเป็นภาพซ้อน
  • การสื่อสารด้านการพูดคุยติดขัด
  • การเคลื่อนไหวช้าลง
  • ร่างกายเป็นอัมพาต

สาเหตุ

สาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน

โรคหลอดเลือดแดงคาโรตีบตีน มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง โดยประกอบด้วยคอเลสเตอรอล แคลเซียม เนื้อเยื่อ เส้นใย และเซลล์อื่น ๆ ที่รวมตัวกันจนอุดตัน ก่อให้เกิดมีปัญหาของการส่งออกซิเจน และสารอาหารไปยังโครงสร้างสมอง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน มักมาจากโรคประจำตัว และพฤติกรรมบางอย่างของคุณ โดยคุณสามารถเช็กปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ ดังนี้

อีกทั้งปัจจัยทางด้านอายุที่มากขึ้น รวมถึงประวัติของบุคคลในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือด ก็อาจสามารถทำให้คุณเสี่ยงต่อการเผชิญกับโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตันได้เช่นเดียวกัน

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน

หากคุณเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ สิ่งแรกที่คุณควรปฏิบัติคือ การแจ้งประวัติของโรคที่คุณเป็น รวมถึงยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่คุณรับประทานในปัจจุบัน เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินเบื้องต้น จากนั้นจึงจะใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการตรวจสุขภาพคุณเพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตันอีกครั้ง ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • อัลตราซาวด์ เป็ยการเช็กระบบการไหวเวียนของเลือด
  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หาความผิดปกติออกมาในรูปแบบภาพถ่ายเพื่อให้เห็นรายละเอียดของหลอดเลือดได้ชัดเจนขึ้น
  • เครื่องเอกซเรย์เอ็มอาร์เอ (Magnetic Resonance Angiography) เป็นการตรวจหลอดเลือด ด้วยการใช้เครื่องถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็ก หาความผิดปกติของหลอดเลือด และอาจมีการฉีดสีย้อมเฉพาะทางการแพทย์เข้าไปเล็กน้อยเพื่อดูการอุดตัน

การรักษา โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน

หากผลวินิจฉัยพบว่าคุณกำลังเป็นโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน แพทย์อาจดำเนินการรักษาตามสาเหตุที่พบ และอาการที่คุณเป็น เช่น การใช้ยาลดความดันสำหรับผู้ที่เป็นภาวะความดันในเลือดสูง ยาลดระดับไขมันในเลือด แต่กหากผู้ป่วยยังมีอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจำเป็นต้องนำวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้ เข้ามาช่วย

  • การผ่าตัดเปิดหลอดเลือด เป็นการรักษาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับโรคหลอดเลือดแดงระดับรุนแรง โดยจะใช้วิธีกรีดหลอดเลือด และนำคราบจุลินทรีย์ที่อุดตันออกมา
  • ผ่าตัดใส่ขดลวด หากการรักษาในเทคนิคข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจต้องใช้บอนลูนขยาย หลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบตันในอนาคต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน อีกครั้ง คุณควรปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตามคำแนะนำแพทย์ มิเช่นนั้นอาจทำให้คุณเสี่ยงที่จะเผชิญกับโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่รุนแรงเพิ่มเติมได้

  • หยุดสูบบุหรี่
  • จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานผัก ผลไม้ ปริมาณมาก
  • ลดปริมาณการรับประทานอาหารแปรรูป และมีโซเดียมสูง
  • รักษาน้ำหนักให้คงที่ด้วยการออกกำลังกาย และวางแผนการรับประทานอาหารร่วมกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/07/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา