backup og meta

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ส่งผลอันตรายมากน้อยแค่ไหน มาดูกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/07/2021

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ส่งผลอันตรายมากน้อยแค่ไหน มาดูกัน

    โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ภาวะที่คุณอาจมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ระดับความดันโลหิตสูง  โรคปอด และการติดเชื้อไวรัสตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หากคุณไม่เร่งรักษา หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ โปรดระวังให้ดี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีอะไรบ้าง

    หากพบว่าตนเองกำลังเป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สิ่งที่ควรระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้นนั้น คงไม่พ้นภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาในภายหลัง จนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • โรคหลอดเลือดสมอง

    เมื่อหัวใจห้องบนไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเช่นเดิม ก็อาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นจนเคลื่อนตัวไปยังหัวใจห้องล่าง เข้าไปสู่ปอด และไหลเวียนออกไปอุดตันปิดกั้นหลอดเลือดในสมอง ผู้ที่เป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการที่จะต้องเผชิญกับโรคหลอดเลือดในสมองได้ถึง 5 เท่า เลยทีเดียว

  • หัวใจล้มเหลว

  • ในกรณีที่ผู้ป่วย โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ยังไม่มีอาการที่ดีขึ้น อาจทำให้สุขภาพหัวใจคุณอ่อนแอลง เนื่องจาก หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ จนอาจทำให้เกิดกรณีร้ายแรงอย่างหัวใจล้มเหลวขึ้นมาได้ในทันที

    • เกิดปัญหาด้านการรับรู้ สติปัญญา

    จากการศึกษาในวารสารสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ป่วยเป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ในระยะยาว มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียด้านการรับรู้การเข้าใจ จนเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ เนื่องจาก ไม่มีเลือดไหลเวียนเข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณสมอง

    อาการที่พบบ่อยใน โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

    ส่วนใหญ่อาการของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจไม่ปรากฏออกมาจนกว่าคุณจะหมั่นเข้าตรวจร่างกายจนพบได้เอง แต่ในบางครั้งก็อาจเผยสัญญาณเตือนเล็กน้อยที่บ่งบอกถึงความผิดปกติขึ้นมา ได้แก่

  • อาการใจสั่น
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หายใจถี่
  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยล้าง่าย
  • วิธีป้องกันให้คุณห่างไกลจาก โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

    สำหรับการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คุณอาจจะต้องปรับพฤติกรรมบางอย่างที่จะช่วยป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงให้มากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่ควรจะต้องปรับมีดังนี้

    • หยุดใช้สารอันตราย เช่น ยาสูบ ยาเสพติด แอลกอฮอล์
    • จัดการกับความเครียด ด้วยการนั่งสมาธิ โยคะ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจาก ความเครียดที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อระดับความดันโลหิต
    • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ
    • ออกกำลังกายให้เพียงพอ ในระดับความเข้มข้นที่พอดี ไม่ควรหักโหม

    สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณควรสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อให้ดี พร้อมทั้งจดบันทึกเอาไว้ว่า มีอาการต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลานานเท่าใด เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ และจะได้รับการวินิจฉัยเกี่ยวกับสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากรูปแบบของอาการ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นครั้งคราว โดยไม่สามารถกำหนดเวลาได้ จึงควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา