backup og meta

โรค หัวใจ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

โรค หัวใจ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

โรคหัวใจ เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน แต่โรคที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

[embed-health-tool-heart-rate]

โรค หัวใจ คืออะไร

โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือและน้ำตาลสูง

โรคหัวใจแบ่งออกแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้

อาการของโรค หัวใจ

อาการของโรคหัวใจ อาจแบ่งออกตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจ

  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
  • หายใจถี่
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

โรคหัวใจเต้นผิดปกติ

  • หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจถี่
  • วิงเวียนศีรษะ มึนหัว
  • เป็นลมหมดสติ
  • ใจสั่น
  • อัมพฤกษ์หรืออัมพาต

หัวใจพิการแต่กำเนิด

  • ผิวซีด
  • อาการบวมที่ขา หน้าท้อง และบริเวณรอบดวงตา
  • หายใจถี่
  • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงวัยทารก
  • หายในลำบาก หรือหายใจหอบขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือออกกำลังกาย
  • อาการบวมที่มือ ข้อมือ และเท้า
  • เล็บมือ เล็บเท้าปุ้มหรือเขียว

โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

  • รู้สึกหายใจไม่อิ่มในระหว่างทำกิจกรรม หรือขณะพักผ่อน
  • มือ แขน ขา ข้อเท้าและเท้าบวม
  • รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
  • หัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า ใจสั่น
  • นอนราบไม่ได้

โรคลิ้นหัวใจ

  • เหนื่อยล้า
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เจ็บหน้าอก
  • เป็นลม หมดสติ

อาการของโรคหัวใจที่ควรพบคุณหมอ

ควรพบคุณหมอทันทีที่สังเกตว่ามีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ และเป็นลมบ่อยครั้ง เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวาย และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

สาเหตุของโรคหัวใจ

สาเหตุของโรคหัวใจอาจแตกต่างกันตามประเภทของโรคหัวใจที่เกิดขึ้น ดังนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจมีสาเหตุมาจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลในปริมาณมาก และขาดการออกกำลังกาย ทำให้ไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด และส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน และอาจทำให้หัวใจขาดเลือดได้

โรคหัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ ความเครียด ยาบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป

หัวใจพิการแต่กำเนิด มักเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การรับประทานยากลุ่มสแตติน (Statin) การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการหดและขยายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่

  • หัวใจติดเชื้อ
  • ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วอย่างต่อเนื่อง
  • ปัญหาลิ้นหัวใจ
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ
  • โรคโควิด-19
  • ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ เช่น วิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง
  • ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • การฉายรังสี และเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง

โรคลิ้นหัวใจ สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เยื่อบุหัวใจอักเสบ ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การติดเชื้อ และโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกผิดปกติ (Aortic Valvular Stenosis)

วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจ

วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจ อาจทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ขนมหวาน น้ำอัดลม
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เพราะหากมีดัชนีมวลกายเกินกว่า 25 ขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เดินเร็ว วิ่ง กระโดดเชือก เต้น เพราะการออกกำลังกายอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หยุดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีสารพิษที่อาจทำลายหลอดเลือดหัวใจและทำให้หลอดเลือดตีบตัน
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มระดับความดันโลหิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรคและอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Heart disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/symptoms-causes/syc-20353118.Accessed August 08, 2022.

About Heart Disease. https://www.cdc.gov/heartdisease/about.htm.Accessed August 08, 2022.

Heart Disease: Types, Causes, and Symptoms. https://www.webmd.com/heart-disease/heart-disease-types-causes-symptoms.Accessed August 08, 2022.

How to take care of your heart health. https://www.who.int/philippines/news/feature-stories/detail/how-to-take-care-of-your-heart-health.Accessed August 08, 2022.

Heart disease.  https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/diagnosis-treatment/drc-20353124.Accessed August 08, 2022.

Overview-Congenital heart disease. https://www.nhs.uk/conditions/congenital-heart-disease/.Accessed August 08, 2022.

Cardiomyopathy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cardiomyopathy/symptoms-causes/syc-20370709.Accessed August 08, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/09/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รับมือได้

กินไข่ต้มวันละ 2 ฟอง ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ ได้จริงหรือ?


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์

โรคหัวใจ · สถาบันโรคทรวงอก


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา