backup og meta

9 อาการโรคหัวใจ ระยะแรก และวิธีป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    9 อาการโรคหัวใจ ระยะแรก และวิธีป้องกัน

    โรคหัวใจ เป็นโรคที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีไขมันสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่ง อาการโรคหัวใจ ระยะแรก อาจไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก แต่ก็อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอและตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจ รวมถึงควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

    อาการโรคหัวใจ ระยะแรก

    อาการโรคหัวใจ ระยะแรกที่พบบ่อย อาจสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

    1. รู้สึกเจ็บหน้าอก

    อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคหัวใจที่พบบ่อย และอาจเป็นสัญญาณฉุกเฉินของโรคหัวใจวาย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นเหมือนมีแรงกดที่หน้าอกและรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะหากพบว่าตัวเองรู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อออกแรงและอาการหายไปเมื่อหยุดออกแรง อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้เ

    1. หัวใจเต้นผิดปกติ

    อาการหัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีความรู้สึกตื่นเต้น ประหม่า เหนื่อย หรือกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวเองมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นนานกว่า 2-3 วินาที หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจการเต้นของหัวใจและวินิจฉัยอาการ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ได้

    1. ปวด ชา หรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือแขน

    อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดบริเวณนั้นตีบตันจนทำให้เกิดเป็นอาการปวด ชา หรืออ่อนแรง

    1. เหงื่อออกมาก

    หากพบว่าตัวเองมีอาการร้อนเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและมีเหงื่อออกมากอย่างไม่มีสาเหตุ ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจวายซึ่งควรเข้าพบคุณหมอทันที

    1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เวียนหัวหรือหน้ามืด

    หากมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยตลอดเวลา หรือเป็นลมอย่างไม่มีสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคหัวใจอื่น ๆ เนื่องจากหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่จนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ

    นอกจากนี้ บางคนอาจมีอาการเวียนหัว หน้ามืด และเป็นลมกะทันหัน หรืออาจมีอาการเจ็บหน้าอกหรือหายใจถี่เกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะความดันโลหิตต่ำ เพราะหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ

  • สำลัก หรือนอนกรน

  • หากพบว่ามีอาการสำลักที่เกิดร่วมกับอาการแน่นหน้าอกและเจ็บในลำคอ หรือในขณะนอนหลับมีอาการกรนดังกว่าปกติ หายใจหอบและสำลักขณะหลับ อาจเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้หัวใจทำงานหนักกว่าปกติได้ ซึ่งควรเข้าพบคุณเพื่อรักษาอาการดังกล่าว

    1. ปวดกราม ปวดคอ ท้องส่วนบน หรือปวดหลัง

    โดยทั่วไปอาการปวดกรามและปวดคอไม่เกี่ยวกับสัญญาณโรคหัวใจ แต่หากอาการเกิดขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกที่ลามไปบริเวณกรามและคอ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจวายได้

    นอกจากนี้ อาการปวดท้องส่วนบนแถวลิ้นปี่อาจเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่หากปวดหลังบริเวณบั้นเอว ร่วมกับอาการหน้ามืด มือเท้าเย็น อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง

  • ขา เท้า ข้อเท้าบวม

  • อาการขา เท้า ข้อเท้าบวมอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้ไตไม่สามารถกำจัดน้ำและโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้เท่าที่ควร ส่งผลให้มีอาการบวมน้ำเกิดขึ้น

    1. ไอเรื้อรังไม่หายไป

    โดยทั่วไปอาการไอไม่ใช้สัญญาณปัญหาของโรคหัวใจ แต่หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นร่วมด้วย อาจเป็นไปได้ว่าอาการไอเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณระยะแรกของโรคหัวใจ

    ดังนั้น จึงควรสังเกตว่าตัวเองว่ามีอาการไอติดต่อกันร่วมกับมีเสมหะสีขาวหรือสีชมพูหรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากหัวใจไม่ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้เลือดไหลกลับสู่ปอดจนเสมหะอาจมีเลือดปน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา