ท้องอืดคืออะไร
ท้องอืดหรืออาการเกิดก๊าซในท้อง คืออาการอึดอัดในท้องเนื่องจากอากาศและก๊าซ ท้องอาจมีอาการบวม ปวดและแข็ง เมื่อมีอาการท้องอืดคุณอาจรู้สึกปวดท้อง มีก๊าซส่วนเกิน เรอหรือเรอเปรี้ยว รวมถึงมีเสียงครืดคราดภายในท้อง บางครั้งอาจสร้างความรู้สึกไม่สบายตัวให้กับคุณหากต้องออกไปพบปะผู้คนหรือทำกิจกรรมต่างๆตามปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อม สาเหตุและการป้องกันอาการท้องอืด ให้ได้ลองอ่านกันค่ะ
ทำไมถึงรู้สึกท้องอืด
ก๊าซและอากาศ
ก๊าซเป็นหนึ่งใน สาเหตุและการป้องกันอาการท้องอืด เมื่ออาหารที่ย่อยไม่ได้เกิดการเน่าเสียหรือเมื่อคุณกลืนอากาศเข้าไปก่อให้เกิดการสะสมของก๊าซ ปกติแล้วอากาศสามารถเข้าสู่ร่างกายของคุณได้ทางปากเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ แต่ในบางครั้งคุณอาจได้รับอากาศเข้าไปมากกว่าปกติด้วยพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป
- สูบบุหรี่
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- สวมใส่ฟันปลอมที่หลวม
ปกติแล้วอากาศที่กลืนเข้าไปสามารถออกจากร่างกายได้โดยการเรอหรือผายลม นอกจากการสะสมก๊าซแล้ว กระเพาะอาหารทีทำหน้าที่ในการย่อยช้าก่อให้เกิดอาการท้องอืดและแน่นท้อง
สาเหตุของอาการท้องอืด
ท้องผูกเป็นสาเหตุหลักของอาการท้องอืด อย่างที่ทราบดีว่าอาการท้องผูกเกิดขึ้นเมื่อลำไส้เคลื่อนตัวน้อยลงผิดปกติ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะสามารถลำไส้สามารถทำงานได้เป็นปกติ ก็สามารถเกิดอาการท้องผูกขึ้นได้ ซึ่งอาจแสดงอาการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :
- อุจจาระแข็งเหมือนหินหรือก้อนกรวด
- เริ่มต้นขับถ่ายลำบากหรือหยุดขับถ่ายได้ยาก
ท้องผูกมักก่อให้เกิดอาการท้องอืดและปวดท้อง เมื่อมีอุจจาระตกค้างในลำไส้เป็นเวลานาน แบคทีเรียภายในลำไส้จะทำการหมักสิ่งต่างๆภายในนั้นนานมากขึ้น ก่อให้เกิดความรู้สึกท้องอืดและบวมเพิ่มขึ้น จนท้ายที่สุดท้องของคุณจะเต็มไปด้วยก๊าซ
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการโรคบางชนิด
- ลำไส้แปรปรวน (IBS)
- ความผิดปกติของลำไส้
- ภูมิแพ้อาหารแฝง
- การติดเชื้อปรสิตในลำไส้เล็ก
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- ภาวะโรคอะนอเร็กเซีย หรือโรคบูลิเมีย
- โรคลำไส้อักเสบ
- ปัญหาทางสุขภาพจิต: ความเครียด, ซึมเศร้า, วิตกกังวล
- เสียดท้อง
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
สาเหตุที่คุณควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
- โรคเซลิแอค
- การสะสมของเหลวทางพยาธิวิทยาภายในช่องท้องอันเป็นผลมากจากมะเร็ง ไตวาย หรือโรคตับ
การป้องกัน
วิธีป้องกันตนเองจากอาการท้องอืดที่ได้ผลดีที่สุดคือการเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน คุณสามารถบรรเทาการเกิดก๊าซได้ด้วยการลดการทานอาหารต่อไปนี้ อาหารที่มีการหมักของน้ำตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์ต่ำ(พบได้ในข้าวสาลี หอมหัวใหญ่ และถั่ว), น้ำตาลโมเลกุลคู่ (พบได้ในโยเกิร์ต และนม), น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (พบได้ในแอปเปิ้ล และสาลี่), และโพลิออลส์ (ส่วนใหญ่พบได้ในแอปริคอต พลัม และกระหล่ำดอก) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า อาหารกลุ่ม FODMAP (Fermentable Oligo-Di-Monosaccharide and Polyols)
[embed-health-tool-bmr]