backup og meta

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia)

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia)

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ผิวหนังเปลี่ยนสี ระบบหายใจผิดปกติ เป็นต้น

คำจำกัดความ

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คืออะไร

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ผิวหนังเปลี่ยนสี ระบบหายใจผิดปกติ เป็นต้น

ภาวะพร่องออกซิเจน พบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะพร่องออกซิเจนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน  โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจและปอด โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

อาการ

อาการของภาวะพร่องออกซิเจน

ผู้ป่วยที่อยู่ภาวะพร่องออกซิเจน จะมีอาการดังต่อไปนี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของของภาวะพร่องออกซิเจน

โดยปกติปอดจะต้องสูดลมอากาศแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้เพียงพอต่อการหายใจ มีการไหลเวียนเลือดไปยังปอดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

โดยภาวะพร่องออกซิเจนนั้นเกิดจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย ดังนี้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะพร่องออกซิเจน 

ในการวินิจฉัย แพทย์จะทำการตรวจร่างกายฟังเสียงหัวใจและปอดของผู้ป่วย เพื่อดูสัญญาณความผิดปกติ รวมถึงการวินิจฉัยอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบระดับออกซิเจนในร่างกาย ดังนี้

  • ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oximetry) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์หนีบที่ปลายนิ้วเพื่อดูปริมาณออกซิเจนในเลือด
  • ทดสอบหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas test) แพทย์จะนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปทดสอบเพื่อดูระดับออกซิเจนในเลือด
  • ทดสอบการหายใจอื่น ๆ แพทย์อาจใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ตรวจสอบอาการผิดปกติของระบบหายใจ

การรักษาภาวะพร่องออกซิเจน 

การรักษาภาวะพร่องออกซิเจนมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดให้กับผู้ป่วย ในเบื้องต้นแพทย์อาจใช้รักษาภาวะขาดออกซิเจน โดยการให้ออกซิเจนผ่านทางเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสูดดมยาเข้าไปในปอดได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์อาจบำบัดด้วยออกซิเจนผ่านท่อที่เรียกว่าแคนนูล่า (Cannula) เพื่อให้ระบบออกซิเจนในเลือดดีขึ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะพร่องออกซิเจน 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะพร่องออกซิเจน มีดังนี้

  • ฝึกสูดลมหายใจ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่มือสอง
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ การเดิน
  • หากคุณเป็นโรคหอบหืด โปรดหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นโรคหอบหืด และรับประทานยาที่แพทย์สั่งจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคุณควรพกพาผลิตภัณฑ์ยาสูดพ่นเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉินใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hypoxia and Hypoxemia. https://www.webmd.com/asthma/guide/hypoxia-hypoxemia Accessed October 11, 2020

Hypoxemia. https://www.mayoclinic.org/symptoms/hypoxemia/basics/causes/sym-20050930. Accessed October 11, 2020

Hypoxemia. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17727-hypoxemia. Accessed October 11, 2020

Bancalari E, et al. (2018). Respiratory instability and hypoxemia episodes in preterm infants. DOI: 10.1055/s-0038-1637760. Accessed May 07, 2021

Congenital heart defects information for healthcare providers. (2018). cdc.gov/ncbddd/heartdefects/hcp.html. Accessed May 07, 2021

Hiremath G, et al. (2015). Diagnostic considerations in infants and children with cyanosis. DOI: 10.3928/00904481-20150203-12. Accessed May 07, 2021

Hypoxemia. (2018). my.clevelandclinic.org/health/diseases/17727-hypoxemia. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2018). Hypoxemia. mayoclinic.org/symptoms/hypoxemia/basics/causes/sym-20050930. Accessed May 07, 2021

Respiratory failure. (n.d.). nhlbi.nih.gov/health-topics/respiratory-failure. Accessed May 07, 2021

Samuel J, et al. (2008). Hypoxemia and hypoxia. link.springer.com/chapter/10.1007/978-0-387-75246-4_97. Accessed May 07, 2021

Sarkar M, et al. (2017). Mechanisms of hypoxemia. DOI: 10.4103%2F0970-2113.197116. Accessed May 07, 2021

Sharma S, et al. (2019). Partial pressure of oxygen (PO2). ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK493219/. Accessed May 07, 2021

Sue DY. (2016). Treating hypoxemia with supplemental oxygen. Same game, different rules. DOI: 10.1513/AnnalsATS.201606-441CC. Accessed May 07, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/05/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรียนรู้กับเทคนิค การฝึกหายใจ ทำอย่างไร ระบบหายใจถึงดี

ภาวะขาดออกซิเจน ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา