backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย อาการ สาเหตุ การรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/09/2022

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เป็นภาวะที่ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมของผู้ชายบวมขึ้น มันเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้กับเต้านมทั้ง 2 ข้าง หรือจะเกิดขึ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่งของเต้านมก็ได้เช่นกัน

คำจำกัดความ

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย คืออะไร

ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia) เป็นภาวะที่ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมของผู้ชายบวมขึ้น มันเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testostrone) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับเต้านมทั้ง 2 ข้าง หรือจะเกิดขึ้นเพียงข้างใดข้างหนึ่งของเต้านมก็ได้เช่นกัน

โดยทั่วไปแล้วภาวะเต้านมโตในผู้ชายไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่มันยากที่จะรับกับสภาพที่เกิดขึ้นได้ เพราะเด็กผู้ชายและผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโตบางครั้งจะมีอาการเจ็บหน้าอกและอาจทำให้เสียความมั่นใจ สำหรับภาวะเต้านมโนใตผู้ชายที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะหายไปเองก็ได้ แต่ถ้าใช้ยาแล้วยังไม่หาย การผ่าตัดอาจจะช่วยได้เช่นกัน

ภาวะเต้านมโตในผู้ชายพบบ่อยเพียงใด

โดยปกติแล้วภาวะเต้านมโตในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นได้กับทารกเพศชาย เด็กวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่ง และเกิดขึ้นได้ 2 ใน 3 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาคุณหมอ

อาการ

อาการของภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

สัญญาณแรกของภาวะเต้านมโตในผู้ชายนั้น อาจจะเป็นก้อนของเนื้อเยื่อไขมันใต้หัวนม ทั้งยังทำให้เกิดการขยายตัวของหน้าอกของเพศชาย ซึ่งการขยายตัวของหน้าอกมักจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ด้านของเต้านม แต่ในบางกรณีก็อาจจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นนี้อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนไหวง่ายบริเวณเต้านม มีอาการเจ็บ อาการปวด แต่จะไม่ปวดรุนแรง

ภาวะเต้านมโตในผู้ชายจะมีความแตกต่างจากมะเร็งเต้านมในเพศชาย ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโดยรวม โดยปกติแล้วมะเร็งเต้านมนั้นจะมีก้อนเนื้อแข็ง ๆ อยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านม ไม่จำเป็นต้องอยู่กึ่งกลางของรอบหัวนมเสมอไป

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

ภาวะเต้านมโตในผู้ชายส่วนใหญ่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในเวลาที่ต่างกันของผู้ชาย ดังนี้

  • หลังคลอด เด็กชายแรกเกิดยังคงอยู่ในภายใต้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้รับจากแม่ในขณะที่กำลังพัฒนาอยู่ในครรภ์ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่เกิดมาพร้อมหน้าอกโต ภาวะเต้านมโตที่เกิดขึ้นจะหายไปใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด
  • วันแรกรุ่น ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงใยช่วงวันแรกรุ่น ปกติคือ 12-14 ปี การขยายเต้านมมักจะหายไป 6 เดือนถึง 2 ปี หลังจากเริ่มต้นวัยแรกรุ่น
  • ในช่วงกลางชีวิตและอื่น ๆ การขยายเต้านมมักมีจุดสูงสุดในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 50 และ 80 ปี โดยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ชายในช่วงอายุนี้มักจะมีการขยายเต้านม
  • นอกจากนั้น ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชายได้อีกด้วย ซึ่งได้แก่

    • ความอ้วน
    • ขาดสารอาหารที่เหมาะสม
    • เนื้องอกในอัณฑะหรือต่อมหมวกไต
    • โรคตับ
    • ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)
    • ภาวะแอนโดรเจนทำงานพร่อง (Hypoandrogenism)
    • ฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Hypogonadism)
    • ไตล้มเหลว

    ยาบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชายได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่

    • อนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) ซึ่งเป็นสเตียรอยด์สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพการกีฬา
    • เอสโตรเจนส์ (Estrogen)
    • ฟีแนสเตอร์ไรด์ (Finasteride) ซึ่งเป็นยาสำหรับรักษาต่อมลูกหมากโต
    • สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) ดิช็อกซิน (Digoxin) อะมิโอดาโรน (Amiodarone) และตัวบล็อกช่องแคลเซียม
    • ไซเมททิดีน (Cimetidine) และยาลดการหลั่งกรด (Proton Pump Inhibitors)
    • ไดอะซีแพม (Diazepam) สำหรับคลายสำหรับความวิตกกังวล
    • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) สำหรับรักษาการติดเชื้อรา
    • เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ฮอร์โมนฮิวแมนคอริโอนิกโกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin) สำหรับรักษาปัญหาภาวะเจริญพันธุ์
    • การใช้สารเสพติดต่าง ๆ เช่น กัญชา เฮโรอีน เมทาโดน (Methadone) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

    สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะเต้านมโตในผู้ชาย ได้แก่

    • วัยรุ่น
    • อายุที่มากขึ้น
    • การใช้อนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) หรือแอนโดรเจน (Androgen) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกีฬา
    • ภาวะสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่เกิดจากฮอร์โมน (Hormonally Active Tumors) กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome)

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

    หากคุณหมอสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะเต้านมโต คุณหมออาจตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีก้อนเนื้อแข็ง ของเหลว หรือปัญหาผิวหนัง ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง ซึ่งคุณหมออาจจะถามคำถามบางอย่างเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ซึ่งรวมถึง

    • โรคที่เคยเป็น เช่น คางทูม โรคไต หรือโรคตับหรือไม่
    • การใช้สารเสพติดต่าง ๆ

    นอกจากนั้น คุณหมออาจทำการทดสอบต่าง ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

    • ตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมน
    • แมมโมแกรม (Mammogram) หรือการตรวจชิ้นเนื้อ คุณหมออาจต้องการตรวจเต้านมด้วยการเอ็กซเรย์เต้านม หรือเอาเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ ไปตรวจ เพื่อหาสัญญาณของโรคมะเร็ง

    การรักษาภาวะเต้านมโตในผู้ชาย

    กรณีส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา แต่เมื่อมีภาวะเต้านมโต คุณหมออาจนักวิทยาต่อมไร้ท่อ (Endocrinologist) ซึ่งจะเป็นผู้ที่จัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

    วิธีการรักษาอาจจะต้องขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ ระยะเวลาที่เกิดภาวะเต้านมโต เพราะอาจมีผลต่อการตอบสนองต่อยาบางชนิด หากภาวะเต้านมโตในผู้ชาย เกิดขึ้นในช่วงวัยแรกรุ่นมักจะหาไปเอง โดยใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 3 ปี

    ถ้าผลปรากฏว่า ฮอร์โมนไม่สมดุลเนื่องจากปัญหาสุขภาพอื่น ผู้ป่วยอาจจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คุณหมอให้คำแนะนำ บางครั้งอาจจะเป็นการใช้ยาเพื่อแก้ไขความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ทำให้เต้านมโต ในบางกรณีคุณหมออาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อดูดไขมันส่วนเกิน หรือผ่าตัดเพื่อเอาเต้านมออก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา