ข้อมูลพื้นฐาน
การตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด คืออะไร
การตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด (Carbon Monoxide Blood Test) ใช้เพื่อตรวจจับความเป็นพิษจากการหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เข้าไป ซึ่งก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีพิษ การตรวจนี้ช่วยวัดปริมาณฮีโมโกลบินที่จับตัวกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ออกมาเป็นค่าวัดผลที่เรียกว่า “ระดับคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน’ (carboxyhemoglobin level)
เมื่อคนหนึ่งหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะรวมกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้ออกซิเจนในเลือดถูกแทนที่ด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ การลำเลียงออกซิเจนไปยังสมองและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายจึงมีปริมาณน้อยลง โดยคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำให้เกิดความเป็นพิษรุนแรงที่อันตรายต่อชีวิตได้
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดขึ้นระหว่างการเผาไหม้ เมื่อไม่มีออกซิเจนที่เพียงพอสำหรับการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ แหล่งที่มาหลักของคาร์บอนมอนอกไซด์ คือ ควันจากเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เรือ การเผาไหม้จากไฟที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี เช่น เครื่องทำความร้อน เตาทำอาหารภายในบ้าน โรงงาน รวมถึงการสูบบุหรี่ด้วย
ความจำเป็นในการ ตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด
ผู้ที่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจนี้ คือผู้ที่สงสัยว่าได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยจะปรากฏอาการดังต่อไปนี้
ความเป็นพิษที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆ เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น
- อาการชัก
- อาการโคม่า
อาการของการได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเด็กเล็กมากระบุได้ยากกว่าในผู้ใหญ่ เช่น เด็กอาจมีเพียงอาการโวยวายและ
ไม่ยอมรับประทานอาหาร
นอกจากนี้ผู้ที่จำเป็นเข้ารับการตรวจนี้ คือ ผู้ที่สัมผัสก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสูดควันในระหว่างไฟไหม้ หรืออยู่ใกล้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ทำงานในพื้นที่ปิดเป็นเวลานาน
ข้อควรรู้ก่อนตรวจ
ข้อควรรู้ก่อนตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด
ผู้ที่มีอาการต่างๆ และมีการสัมผัสกับคาร์บอนมอนอกไซด์ เช่น ผู้ที่อาศัยในบ้านที่มีระบบทำความร้อนที่เก่าและมีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว ควรเข้ารับการตรวจความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์
ผู้ที่อาจมีความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ควรออกจากสถานที่ที่มีการสัมผัสคาร์บอนมอนอกไซด์ และควรได้รับออกซิเจนเพื่อหายใจก่อนเข้ารับการตรวจ
หากสงสัยว่ามีความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ควรเข้ารับการทดสอบอื่น ๆ เช่น การตรวจก๊าซจากหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas หรือ ABG) การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โดยแพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจก๊าซจากหลอดเลือดแดง เพื่อดูว่าอาการต่าง ๆ เกิดจากความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ หรือจากโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกัน
ขั้นตอนการตรวจ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด
ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวสำหรับการตรวจนี้เป็นพิเศษ แต่ควรงดสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการตรวจ รวมทั้งควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยา สมุนไพร วิตามิน และอาหารเสริมทั้งหมดที่ใช้อยู่ รวมถึงยาทั่วไปและยาผิดกฎหมายใดๆ
ขั้นตอนการ ตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ทำการเจาะเลือดจะดำเนินการต่อไปนี้
- รัดยางรอบต้นแขน เพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือด หลอดเลือดด้านล่างยางรัดจะขยายตัวขึ้น ทำให้เจาะหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
- ทำความสำอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
- เจาะเข็มเข้าไปในหลอดเลือด อาจจำเป็นต้องเจาะมากกว่าหนึ่งครั้ง
- ติดหลอดบรรจุเลือดเข้ากับเข็มเจาะเลือด
- นำยางรัดออกจากแขน เมื่อเก็บเลือดเพียงพอแล้ว
- วางผ้ากอซหรือก้อนสำลีไว้บนบริเวณที่เจาะเลือดในขณะที่ดึงเข็มออก
- กดบริเวณที่เจาะเลือดแล้วปิดด้วยผ้าพันแผล
หลังการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด
การรัดยางที่ต้นแขนอาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใดๆ จากเข็มเจาะ หรืออาจมีเพียงความรู้สึกเหมือนมดกัดหรือแมลงต่อยเท่านั้น
นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจให้มีการตรวจดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
- การตรวจภาวะเป็นพิษ
- การเอกซเรย์หน้าอก
- การตรวจการตั้งครรภ์ในผู้หญิง เนื่องจากการสัมผัสคาร์บอนมอนอกไซด์จะทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงในการเกิดอาการผิดปกติต่างๆ มากขึ้น
แพทย์ยังอาจให้มีการตรวจเอ็มอาร์ไอ หากมีอาการต่างๆ เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทอีกด้วย
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจข้อควรปฏิบัติได้ดีขึ้น
ผลการตรวจ
ผลการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด
ผลการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์มีการรายงานเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ โดยคำนวณจากปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จับตัวกับฮีโมโกลบินหารด้วยปริมาณฮีโมโกลบินทั้งหมด (แล้วคูณด้วย 100) ยิ่งเปอร์เซ็นต์สูงมากเท่าใด ความเสี่ยงในการเกิดอาการจากพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น หากพบค่าที่ต่ำกว่าร้อยละ 10 อาจไม่มีอาการใดๆ เกี่ยวกับพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์
ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้องปฏิบัติการของคุณใช้
นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่นๆนั่นหมายความว่า ค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ
ค่าปกติ
คาร์บอนมอนอกไซด์สำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ : น้อยกว่า 2% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด
คาร์บอนมอนอกไซด์สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ : 4%–8% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด
ค่าสูง
ค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดสูงเกิดจากความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยอาการต่างๆ จากพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์จะมีความรุนแรงมากขึ้นหากระดับคาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มขึ้น
อาการต่างๆ เกี่ยวกับค่าความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์สูง แบ่งตามเปอร์เซ็นต์ของฮีโมโกลบินโดยรวม
- 20%–30% ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และมีปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจ
- 30%–40% เวียนศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น สับสนงุนงง อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเพิ่มสูงขึ้น
- 50%–60% ไม่รู้สึกตัว
- มากกว่า 60% มีอาการชัก ภาวะโคม่า หรือเสียชีวิต
เด็กและผู้หญิงอาจมีอาการต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ที่รุนแรงกว่าในผู้ชาย แม้จะมีระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ต่ำกว่า เนื่องจากผู้หญิงและเด็กส่วนใหญ่จะเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่า
จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดอาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบอย่างละเอียด
หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]