วิงเวียน หรือหรือมึนศีรษะ คืออาการอย่างหนึ่ง ที่มักจะพบได้ในโรคต่างๆ วิงเวียน ใช้อธิบายถึงอาการที่ร่างกายรู้สึกไม่สมดุล มึนงง ส่วนใหญ่แล้ว อาการวิงเวียนนั้นจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง และมักจะหายไปได้เอง
คำจำกัดความ
วิงเวียน คืออะไร
วิงเวียน หรือหรือมึนศีรษะ คืออาการอย่างหนึ่ง ที่มักจะพบได้ในโรคต่างๆ วิงเวียนใช้อธิบายถึงอาการที่ร่างกายรู้สึกไม่สมดุล มึนงง อาการวิงเวียนนี้สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีก แม้ว่าจะรักษาไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้ว อาการวิงเวียนนั้นจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง และมักจะหายไปได้เอง
วิงเวียนพบได้บ่อยแค่ไหน
อาการวิงเวียนสามารถพบได้บ่อย และสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยการรักษาที่ต้นเหตุ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์
อาการ
อาการวิงเวียน
อาการวิงเวียนศีรษะนั้นเป็นลักษณะของอาการ ไม่ใช่โรค นอกจากอาการวิงเวียนแล้ว ยังอาจมีอาการอื่นๆ ที่มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการวิงเวียน เช่น
นอกจากนี้ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรรีบติดต่อแพทย์ในทันที
- ปวดหัวเฉียบพลัน หรือปวดหัวอย่างรุนแรง
- หมดสติ
- เจ็บหน้าอก
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- อ่อนแรง หรือมีอาการชา
- หายใจติดขัด
- ไข้สูง
- มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- ชัก
- อาเจียน
สาเหตุ
สาเหตุของการวิงเวียน
อาการวิงเวียนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุรวมถึงภาวะต่อไปนี้
- หูชั้นในมีปัญหา
- การเมารถ
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านซึมเศร้า ยานอนหลับ และยาคลายกังวลต่างๆ
- การไหลเวียนเลือดไม่ดี ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย
- การติดเชื้อ
- การได้รับบาดเจ็บ
- ไมเกรน
- น้ำในหูไม่เท่ากัน
- โรควิตกกังวล
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ภาวะโลหิตจาง
- อากาศร้อนเกินไป
- ภาวะขาดน้ำ
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของอาการวิงเวียน
ปัจจัยเสี่ยงของการวิงเวียนมีหลายปัจจัยได้แก่
- อายุ ผู้สูงอายุมักจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการวิงเวียนได้มากกว่า โดยเฉพาะอาการรู้สึกไม่สมดุล เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมักจะมีโอกาสที่จะใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียน
- อาการวิงเวียนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หากคุณเคยมีอาการวิงเวียนในอดีตมาก่อน คุณก็อาจจะมีโอกาสที่จะวิงเวียนได้ในอนาคต
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการวิงเวียน
- ตรวจร่างกาย
- เอ็มอาร์ไอ หรือซีทีแสกน สำหรับกรณีของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ตรวจสอบความสามารถในการทรงตัวขณะเดิน
- ตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
- ตรวจสอบความสามารถในการได้ยินและการทรงตัว
- ตรวจการเคลื่อนไหวจองลูกตาและศีรษะ
การรักษาอาการวิงเวียน
โดยทั่วไปอาการวิงเวียนจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา แต่หากจำเป็นต้องรักษาก็จะรักษาตามสาเหตุและอาการ โดยการใช้ยา และการออกกำลังกาย
ยาที่อาจจะใช้มีดังต่อไปนี้
- ยาลดอาการวิงเวียน เช่น ยาต้านฮีสตามีน ยาต้านโคลิเนอร์จิก
- ยาต้านอาการคลื่นไส้
- ยาลดความวิตกกังวล เช่น ยาอัลปราโซแลม
นอกจากนี้ยังมีการบำบัดความสมดุล โดยการออกกำลังกายด้วยวิธีพิเศษ เพื่อช่วยให้ร่างกายมีความสมดุล และมีความไวต่อการเคลื่อนไหวมากขึ้น
[embed-health-tool-bmi]