นอกจากการรับประทานอาหาร วิตามิน หรือการออกกำลังกาย อย่างเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว การฉีดเกล็ดเลือด เข้าสู่ร่างกาย ก็อาจเป็นอีกสิ่งที่สามารถส่งผลดีแก่สุขภาพของคุณได้เช่นกัน แต่ก่อนคุณจะเข้ารับการฉีดนั้น ควรจำเป็นอย่างมากที่ต้องทำการศึกษาถึงประโยชน์ และผลข้างเคียงเบื้องต้น จากบทความ Hello คุณหมอ เสียก่อนค่ะ
การฉีดเกล็ดเลือด (PRP) คืออะไร
การฉีดเกล็ดเลือด (Platelet-Rich Plasma Injections; PRP) คือการฉีดพลาสมาที่ประกอบด้วยเกล็ดเลือด น้ำและโปรตีนเข้าไปช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อให้สร้างเซลล์ในร่างกายได้แข็งแรงขึ้น ซึ่งมักนิยมนำมาฉีดบริเวณศีรษะ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และผิวหนัง โดยมีกระบวนการ หรือขั้นตอนการฉีด ดังนี้
- แพทย์จะทำการวินิจฉัย พร้อมประเมินปัญหา และกำหนดปริมาณของพลาสมาด้วยการดูดเลือดจากตัวคุณเองออกมา
- เลือดที่ได้จากตัวคุณจะถูกนำไปห้องปฏิบัติการ หรือเข้าเครื่องปั่นเฉพาะ เพื่อให้ส่วนประกอบของเลือดที่ต้องการจะนำมาฉีดแยกออกจากกัน ซึ่งมักใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาที
- เมื่อได้พลาสมาที่แยกออกมาแล้ว แพทย์จะเริ่มทำการเตรียมฉีดเข้าสู่บริเวณร่างกายที่คุณต้องการรักษา
- ในขณะฉีดแพทย์อาจมีการใช้เครื่องมืออัลตร้าซาวด์ร่วม เพื่อเป็นการระบุบริเวณที่จะได้รับพลาสมาเข้าไปได้อย่างตรงจุด
ก่อนเข้าขั้นตอนการฉีด แพทย์อาจมีการนัดหมายล่วงหน้า พร้อมให้คำแนะนำถึงการเตรียมตัว ซึ่งคุณควรปฏิบัติตามทุกข้ออย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผลลัพธ์นั้นออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การฉีดเกล็ดเลือด เหมาะกับการรักษาภาวะสุขทางภาพใด
ส่วนใหญ่การฉีดเกล็ดเลือด หรือพลาสมาตามจุดต่าง ๆ บนร่างกาย แพทย์มักนิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ประสบกับปัญหาทางสุขภาพ ดังนี้
-
อาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็น
เส้นเอ็นเป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อ และกระดูกที่ค่อนข้างมีลักษณะเหนียว และหนาอย่างมาก และเมื่อประสบกับอาการบาดเจ็บจึงทำให้เส้นเอ็นนั้น ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูได้นานกว่าปกติ ซึ่งแพทย์จึงมักเลือกใช้การฉีดเกล็ดนี้นำไปรักษาด้วยการฉีดเข้าสู่บริเวณเส้นเอ็นโดยตรง เพื่อบรรเทาอาการปวด และกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ได้เร็วขึ้น
-
ภาวะผมขาดหลุดร่วง
จากการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 ในวารสาร Stem Cells Translational Medicine ที่มีผู้ร่วมทำการศึกษาจำนวน 20 คน พบว่าอาสาสมัครเพศชายที่เข้ารับการรักษาด้วยการฉีดเกล็ดเลือดมีผมที่งอกใหม่ และหนาขึ้นกว่า อาสาสมัครอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดอย่างมีนัยสำคัญ
-
อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเฉียบพลัน
จากการวิจัยอาการบาดเจ็บของนักกีฬาจำนวน 28 คน ที่ถูกตีพิมพ์เป็นบทความใน American Journal of Sports Medicine ปี พ.ศ. 2557 พบว่านักกีฬาที่ได้รับการฉีดเกล็ดเลือดเข้าสู่บริเวณกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บนั้นส่วนใหญ่เริ่มมีอาการเจ็บปวดที่น้อยลง
-
โรคข้อเข่าเสื่อม
ในปีพ พ.ศ. 2556 American Journal of Sports Medicine พบว่าการฉีดเกล็ดเลือดเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถช่วยลดอาการปวดข้อเข่าเสื่อมได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับการฉีดน้ำเกลือ
-
รักษาซ่อมแซมเส้นเอ็นหลังการผ่าตัด
หลังจากที่ทำการผ่าตัดอาการที่เกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นเป็นที่เสร็จสิ้น แพทย์อาจมีความจำเป็นที่ต้องให้คุณได้รับการฉีดเกล็ดเลือดนี้ร่วมด้วยเพื่อเป็นการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่ได้รับความเสียหายอีกขึ้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น หลังได้รับการ ฉีดเกล็ดเลือด
เนื่องจากเป็นเทคนิคการฉีดสารที่เข้าสู่ผิวหนังโดยตรง บางครั้งจึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น อาการระคายเคือง ปวดบวม เจ็บเส้นประสาท ติดเชื้อ เนื้อเยื่อได้รับความเสียหาย รวมถึงอาจมีเลือดออกบริเวณที่ได้รับการฉีดออกมาร่วม ดังนั้นก่อนการตัดสินใจได้รับการฉีด คุณควรปรึกษาแพทย์ พร้อมสอบถามถึงผลข้างเคียงอย่างละเอียด เพราะบางปัญหาทางสุขภาพที่คุณต้องการรักษาแพทย์อาจแนะนำเป็นการใช้เทคนิคอื่นที่เหมาะสม และให้ความปลอดภัยกว่าเข้ามาทดแทน
[embed-health-tool-bmi]