ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

บางคนอาจจะกลัวการเข้าโรงพยาบาล หรือกลัวการเข้ารับการรักษา ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด จะทำให้คุณเข้าใจขั้นตอนในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำวิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา มาฝากผู้ป่วยโรคเบาหวาน กันค่ะ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ศึกษาถึงวิธีการฉีดอินซูลิน และการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ แต่จะมีวิธีอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ  ทำความรู้จัก การ ฉีดอินซูลินด้วยปากกา (Insulin injection) ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดจากตับอ่อนได้ การฉีดอินซูลินด้วยปากกาเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสะดวกและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ปากกาอินซูลินประเภทใช้แล้วทิ้ง ประกอบด้วยตลับอินซูลินที่บรรจุไว้ล่วงหน้า เมื่อใช้แล้วหน่วยปากกาทั้งหมดจะหายไป ไม่สามารถนำปากกากลับมาใช้ซ้ำอีกได้ ปากกาอินซูลินประเภทใช้ซ้ำได้ ประกอบด้วยตลับอินซูลินที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ เมื่อใช้อินซูลินหมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนการฉีดควรศึกษาถึงข้อมูลและวิธีการใช้อย่างละเอียด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  บริเวณที่ดีที่สุดในการฉีดอินซูลินด้วยปากกา คือ บริเวณหน้าท้อง เพราะสามารถดูดซึมตัวยาได้เร็วกว่าบริเวณส่วนอื่น ๆ เช่น ต้นขา บั้นท้าย เป็นต้น และที่สำคัญควรฉีดห่างจากบริเวณสะดือประมาณ 1 นิ้ว โดยมีวิธีดังต่อไปนี้ หากอินซูลินขุ่นควรทำให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน โดยการนำมาแกว่งกลิ้งบนฝ่ามือ ทดสอบเข็ม ควรไล่อากาศ หมุนไปที่หมายเลข 2 และกดจนเห็นตัวยาออกจากเข็ม ปรับขนาดยาตามที่แพทย์สั่ง หลังจากนั้นแทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนัง 90 องศา กดยาลงไปมิดเข็มแล้วนับ 1-10 […]

สำรวจ ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

แก้หมันชาย (Vasectomy Reversal)

ข้อมูลพื้นฐานการแก้หมันชาย คืออะไร การแก้หมันชาย (Vasectomy Reversal) คือ การผ่าตัดเพื่อต่อท่อนำเชื้ออสุจิหรือสเปิร์มเข้าด้วยกันใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยตัดท่อน้ำเชื้อออกจากกันแล้วผูกปลายทั้งสองข้างเอาไว้ หรือที่เรียกว่าการทำหมันชาย (Vasectomy) ซึ่งถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดถาวรที่นิยมมากวิธีหนึ่ง โดยทั่วไป อัตราการมีบุตรของผู้ชายที่แก้หมันจะอยู่ที่ประมาณ 30-90 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด และระยะเวลาในการทำหมัน อายุของฝ่ายหญิง ความชำนาญของแพทย์ เป็นต้น ความจำเป็นในการ แก้หมันชาย การแก้หมันเป็นการแก้ปัญหาสำหรับใครที่เคยทำหมันไปแล้ว และต้องการจะมีบุตรอีกครั้ง ความเสี่ยงความเสี่ยงของการแก้หมันชาย โอกาสที่การแก้หมันชายจะประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับว่าทำหมันชายมานานแค่ไหนแล้ว เพราะยิ่งทำหมันนาน ก็ยิ่งมีโอกาสที่ท่อนำเชื้ออสุจิจะอุดตันมากขึ้น ทั้งยังพบว่าบางคนที่แก้หมันชายไปแล้ว อาจเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอสุจิของตนเองได้ด้วย ซึ่งหากเกิดการอุดตันระหว่างท่อนำเชื้ออสุจิและท่อเก็บอสุจิ ก็จะยิ่งทำให้การผ่าตัดแก้หมันชายใช้เวลานานและซับซ้อนขึ้นไปอีก หากอยากมีลูก แต่ไม่อยากผ่าตัดแก้หมันชาย คุณอาจจะพิจารณาใช้อสุจิจากผู้บริจาค ซึ่งอาจจะเป็นของคนรู้จัก หรือจากธนาคารอสุจิก็ได้ บางครั้งหมอจะเลือกใช้เข็มดูดอสุจิจากอัณฑะออกมา ซึ่งเป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF Treatment) ก่อนตัดสินใจผ่าตัดแก้หมันชาย คุณควรทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนให้ดี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์ ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ แก้หมันชาย ก่อนผ่าตัด แพทย์จะซักถามข้อมูลสุขภาพ ยาที่กิน อาการแพ้ต่างๆ จากนั้นคุณจะได้พบวิสัญญีแพทย์ เพื่อวางแผนการใช้ยาระงับความรู้สึก คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรงดรับประทานอาหารและน้ำดื่มก่อนการผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ แพทย์จะแจ้งวิธีการปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงการงดน้ำงดอาหาร ว่าต้องงดก่อนผ่าตัดกี่ชั่วโมง โดยปกติแล้ว คุณควรเริ่มงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด แต่อาจสามารถจิบเครื่องดื่มบางอย่างได้ เช่น กาแฟ และไม่ควรทานอะไรเลยก่อนการผ่าตัด […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant Surgery)

การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาในส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา เพื่อให้กลับมามองเห็นได้ปกติ และช่วยให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น รู้เรื่องเบื้องต้น การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา คืออะไร การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (Cornea Transplant) คือการตัดเอาเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่มีปัญหาของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยกระจกตาของผู้บริจาคดวงตา กระจกตาเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสส่วนหน้าสุดของลูกตา ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่าง ช่วยให้จอประสาทตาสามารถโฟกัสแสงได้เป็นปกติ ก่อนส่งภาพที่ได้ไปแปลผลในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน เมื่อกระจกตาถูกทำลาย ความโปร่งใสก็จะลดลง รูปร่างของกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กระบวนการนำแสงไปสู่จอประสาทตาผิดปกติ ภาพที่ถูกส่งไปแปลผลที่สมองจึงผิดรูปหรือไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นปกติอีกครั้ง ความจำเป็นของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา สาเหตุที่ทำให้กระจกตาขุ่น และเสี่ยงต่อปัญหากระจกตาล้มเหลว ได้แก่ แผลจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา แผลจากขนตาทิ่มตา เนื่องจากขนตางอกยาวเข้าไปในตา เมื่อขยี้ตาอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้ โรคทางพันธุกรรม เช่น Fuchs’ corneal dystrophy (ความผิดปกติของเซลล์ชั้นในสุดของกระจกตา) โรคตาบางชนิด เช่น โรคกระจกตาโป่งพองขั้นรุนแรง กระจกตาบางมากหรือผิดรูป ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยจากการทำเลสิก กระจกตาได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือสารเคมี กระจกตาบวมน้ำ ปฏิกิริยาต่อต้านจากการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาครั้งก่อน กระจกตาล้มเหลวจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้อาการของโรคที่กระจกตาหรือบาดแผลที่กระจกตาดีขึ้น และสามารถทำให้การมองเห็นกลับมาดีดังเดิมได้ การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ร่างกายปฏิเสธกระจกตาใหม่ที่ได้รับจากผู้บริจาค ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก ความเสี่ยงที่ควรรู้ ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา การปลูกถ่ายกระจกตาเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น การติดเชื้อที่ตา เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้น เกิดปัญหากับไหมที่ใช้เย็บกระจกตาของผู้บริจาค ภาวะปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย (กระจกตา) ของผู้บริจาค ภาวะกระจกตาบวม ในบางกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ร่างกายอาจปฏิเสธกระจกตาใหม่จากผู้บริจาค ถือเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ หรือต้องทำการปลูกถ่ายกระจกตาใหม่อีกครั้ง ควรนัดหมายกับจักษุแพทย์หากคุณสังเกตเห็นอาการปฏิเสธสิ่งปลูกถ่าย เช่น สูญเสียการมองเห็น มีอาการเจ็บปวด มีรอยแดง มีปฏิกิริยาไวต่อแสง หรือแพ้แสง การปฏิเสธสิ่งปลูกถ่ายเกิดขึ้นได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของการปลูกถ่ายกระจกตา ก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัด ควรทำความความเข้าใจต่อความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แนวทางปฏิบัติตัว การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม