ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

บางคนอาจจะกลัวการเข้าโรงพยาบาล หรือกลัวการเข้ารับการรักษา ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด จะทำให้คุณเข้าใจขั้นตอนในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำวิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกา มาฝากผู้ป่วยโรคเบาหวาน กันค่ะ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ศึกษาถึงวิธีการฉีดอินซูลิน และการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ แต่จะมีวิธีอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ  ทำความรู้จัก การ ฉีดอินซูลินด้วยปากกา (Insulin injection) ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดจากตับอ่อนได้ การฉีดอินซูลินด้วยปากกาเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสะดวกและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ปากกาอินซูลินประเภทใช้แล้วทิ้ง ประกอบด้วยตลับอินซูลินที่บรรจุไว้ล่วงหน้า เมื่อใช้แล้วหน่วยปากกาทั้งหมดจะหายไป ไม่สามารถนำปากกากลับมาใช้ซ้ำอีกได้ ปากกาอินซูลินประเภทใช้ซ้ำได้ ประกอบด้วยตลับอินซูลินที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ เมื่อใช้อินซูลินหมดหลอดสามารถเปลี่ยนอินซูลินหลอดใหม่ใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนการฉีดควรศึกษาถึงข้อมูลและวิธีการใช้อย่างละเอียด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  วิธี ฉีดอินซูลินด้วยปากกาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  บริเวณที่ดีที่สุดในการฉีดอินซูลินด้วยปากกา คือ บริเวณหน้าท้อง เพราะสามารถดูดซึมตัวยาได้เร็วกว่าบริเวณส่วนอื่น ๆ เช่น ต้นขา บั้นท้าย เป็นต้น และที่สำคัญควรฉีดห่างจากบริเวณสะดือประมาณ 1 นิ้ว โดยมีวิธีดังต่อไปนี้ หากอินซูลินขุ่นควรทำให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน โดยการนำมาแกว่งกลิ้งบนฝ่ามือ ทดสอบเข็ม ควรไล่อากาศ หมุนไปที่หมายเลข 2 และกดจนเห็นตัวยาออกจากเข็ม ปรับขนาดยาตามที่แพทย์สั่ง หลังจากนั้นแทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนัง 90 องศา กดยาลงไปมิดเข็มแล้วนับ 1-10 […]

สำรวจ ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก (Umbilical Hernia Repair For Children)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก คืออะไร ไส้เลื่อนที่สะดือ (umbilical hernia) หรือที่มักเรียกกันว่าสะดือจุ่น เกิดจากการหย่อนตัวในกล้ามเนื้อผนังช่องท้องบริเวณด้านหลังสะดือ ตามปกติ ไส้เลื่อนมักจะปิดตัวก่อนคลอด แต่ทารกประมาณ 1 ใน 5 รายที่คลอดเมื่อครบอายุครรภ์ (หลังจาก 37 สัปดาห์) ยังคงเป็นไส้เลื่อนที่สะดือ และทารกทุกรายที่มีภาวะนี้ เป็นไส้เลื่อนที่สะดือเมื่อเติบโตอยู่ในมดลูก  หากลูกของคุณเป็นไส้เลื่อน อาจสังเกตเห็นได้จากอาการบวมบริเวณสะดือ โดยเฉพาะเมื่อลูกของคุณร้องไห้หรือเกิดแรงตึง ไส้เลื่อนที่สะดืออาจเป็นอันตราย เนื่องจากลำไส้หรืออวัยวะอื่นๆ ภายในช่องท้องถูกกักไว้ และไม่มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้ว ไส้เลื่อนที่สะดือมักไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในวัยเด็ก แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ความจำเป็นในการ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก ทารกที่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา เนื่องจากไส้เลื่อนที่สะดือจะหดและปิดได้เองเมื่ออายุ 3-4 ปี การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดืออาจจำเป็น หากเด็กมีภาวะดังต่อไปนี้ ไส้เลื่อนที่สะดือสร้างความเจ็บปวดและปูดออกมา ส่งผลกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงบริเวณลำไส้ อายุ 3-4 ปีแล้วแต่ไส้เลื่อนยังไม่ปิดเอง ไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่มากจนพ่อแม่ต้องการให้ผ่าตัด แต่ในกรณีนี้ แพทย์จะแนะนำให้รอจนกว่าเด็กจะอายุ 3-4 ปีก่อน เพื่อดูว่าไส้เลื่อนที่สะดือจะปิดเองหรือไม่ การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงใดๆ ที่สามารถเกิดจากไส้เลื่อนได้เมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็ก ไส้เลื่อนที่สะดือมักปิดตัวเองก่อนทารกมีอายุครบ 1 ปี แต่หากเด็กอายุ 3-4 ปีแล้วไส้เลื่อนยังไม่ปิด อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อปิดไส้เลื่อน โดยไส้เลื่อนสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้ การผ่าตัดไส้เลื่อนที่สะดือในเด็กนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงบางประการ เช่น ความเสี่ยงจากการให้ยาระงับประสาท และการผ่าตัดทั่วไป เช่น ปฏิกิริยาต่อตัวยา […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy)

การ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก แต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด คืออะไร การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบทั้งหมด (subtotal thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์ยังคงทำงานต่อไปได้ ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) อยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนที่เรียกว่าไทรอกซิน (thyroxine) ซึ่งควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ในบางครั้ง ต่อมไทรอยด์มีการทำงานมากเกินไป เรียกว่า ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) ซึ่งก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น น้ำหนักลด เหงื่อออก มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ความจำเป็นในการ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์สามารถทำงานต่อไปได้อยู่ โดยปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์จะลดลงสู่ระดับปกติหรือระดับต่ำกว่าเดิม และอาการต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็จะหายไป ความเสี่ยงความเสี่ยงของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เช่นเดียวกันกับการผ่าตัดใหญ่อื่นๆ ความเสี่ยงในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมดส่วนใหญ่นั้น จะอยู่ที่ผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาและยาสลบ ส่วนความเสี่ยงอื่นๆ ก็มาจากการตกเลือด และการติดเชื้อในบริเวณแผลผ่าตัด ความเสี่ยงเฉพาะที่เกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมดนั้นอาจมีดังต่อไปนี้ เส้นประสาท recurrent laryngeal nerves เสียหาย (เส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับเส้นเสียง) ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid) เสียหาย (ต่อมที่ควบคุมระดับของแคลเซียมในร่างกาย) ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ และโดยส่วนใหญ่จะสามารถรักษาหายได้ภายในเวลา 1 ปี ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เนื่องจากก่อนการผ่าตัดนั้นจะต้องมีการให้ยาสลบหรือยาชา ผู้ป่วยจึงควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 1 คืนก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนมาใส่ชุดสำหรับผู้ป่วยที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้ พยาบาลจะทำการเสียบสาย IV สำหรับให้น้ำเกลือและยาเข้ากับข้อมือของผู้ป่วย ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะเข้ามาตรวจร่างกายคร่าวๆ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

ปลูกถ่ายไต เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายไตที่มีสุขภาพดีจากบุคคลหนึ่ง (ผู้บริจาค) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับบริจาค) โดยผู้รับบริจาคมักเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ข้อมูลพื้นฐานปลูกถ่ายไต คืออะไร การปลูกถ่ายไต (kidney transplant) เป็นการผ่าตัดเพื่อย้ายไตที่มีสุขภาพดีจากบุคคลหนึ่ง (ผู้บริจาค) ไปยังอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับบริจาค) ผู้รับบริจาคมักเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง (chronic kidney failure) หน้าที่ของไต คือ กำจัดของเสียออกจากเลือด เมื่อไตทำงานไม่ปกติ ของเสียในร่างกายเริ่มสะสมตัวในเลือด ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในร่างกาย มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวานประเภท 1 หรือประเภท 2 ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ (Glomerulonephritis) ซึ่งเป็นอาการอักเสบที่หน่วยกรองของไต (glomeruli) ไตอักเสบประเภท Interstitial nephritis ซึ่งเป็นอาการอักเสบของหลอดไตฝอยและอวัยวะโดยรอบ ถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) ทางเดินปัสสาวะอุดกั้นเป็นเวลานานจากภาวะต่างๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต และมะเร็งบางชนิด ปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับไปยังไต ไตติดเชื้อซ้ำ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) ในหลายกรณี การปลูกถ่ายไตสามารถช่วยให้ผู้รับบริจาคมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น ความจำเป็นของการ ปลูกถ่ายไต แพทย์จะประเมินอาการในปัจจุบันของคุณ คุณอาจได้รับการปลูกถ่ายไตด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้  คุณมีสุขภาพดีพอสำหรับการผ่าตัด ข้อดีของการปลูกถ่ายไตมีมากกว่าความเสี่ยง คุณได้ลองเข้ารับการรักษาทางเลือกแล้วไม่ได้ผล คุณรับทราบความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อน คุณรับทราบว่าคุณจะใช้ยากดภูมิคุ้มกัน และเข้ารับการนัดหมายติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการปลูกถ่ายไต มีเหตุผลหลายประการที่การปลูกถ่ายไตไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาการติดเชื้อที่กำลังเป็นอยู่ (จำเป็นต้องรักษาก่อน) โรคหัวใจ ไตวาย มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย โรคเอดส์ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy)

ผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นการผ่าตัดต่อมทอนซิลออกจากร่างกาย ต่อมทอนซิลทำหน้าที่ช่วยต้านการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือกลืนเข้าไป ข้อมูลพื้นฐาน ผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) คืออะไร การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy) เป็นการผ่าตัดนำเอาต่อมทอนซิลออกไป ต่อมทอนซิล เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (เช่น ต่อมต่างๆ ที่คอ) ทำหน้าที่ช่วยต้านการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือกลืนเข้าไป ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เกิดขึ้นเมื่อต่อมทอนซิลติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการเจ็บ ไข้ และกลืนลำบาก และทำให้รู้สึกไม่สบาย ความจำเป็นในการ ผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดมักเป็นวิธีที่แนะนำเนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลเพียงวิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ต่อมทอนซิลอักเสบกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ที่มีอาการเจ็บคอเรื้อรังอาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออกไป ความเสี่ยง ความเสี่ยงของการผ่าตัดท่อมทอนซิล การใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กเป็นเวลานานอาจยับยั้งการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเรื้อรังได้ สำหรับผู้ใหญ่นั้น การรักษาประเภทนี้มีโอกาสได้ผลน้อยกว่า โดยเฉพาะโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever) ที่เกิดขึ้นตามมา การติดเชื้อและอาการเจ็บคอที่ป้องกันได้ด้วยการผ่าตัดอาจมีอาการไม่รุนแรงและส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่ใช่แบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงบางประการและจำเป็นต้องอาศัยเวลาพักฟื้น เป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอน การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิล คุณต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ และภาวะสุขภาพใดๆ และก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณจะต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาที่ควรหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนการผ่าตัด คุณควรได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติที่ชัดเจนก่อนการผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถรับประทานอาหารล่วงหน้าก่อนการผ่าตัดได้หรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว คุณควรเริ่มอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด คุณอาจสามารถดื่มของเหลวต่างๆ ได้ เช่น กาแฟ จนกระทั่งถึงเวลาสองสามชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดดำเนินการโดยใช้ยาสลบและมักใช้เวลา 30 นาที แพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลผ่านทางปาก โดยจะตัดหรือลอกต่อมทอนซิลออกจากกล้ามเนื้อใต้ต่อมทอนซิล หรือใช้ความร้อนเพื่อกำจัดต่อมทอนซิลและใช้ความร้อนจี้ในบริเวณดังกล่าว หรืออาจใช้พลังงานความถี่วิทยุเพื่อกำจัดต่อมทอนซิล โดยแพทย์จะห้ามเลือดที่ไหลออกมากเกินไปในระหว่างการผ่าตัด หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล ตามปกติ คุณสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป อาการเจ็บปวดอาจยังคงอยู่เป็นเวลา […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การรักษา โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ด้วย CO2 LASER

อาการคัดแน่นจมูกเรื้อรัง หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณจมูก ที่เกิดจากเยื่อบุโพรงจมูกบวมอักเสบเรื้อรัง หรือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุดในคลินิกโรคภูมิแพ้ ถึงแม้ว่าอาการคัดจมูกเรื้อรังจะไม่มีอันตรายต่อชีวิต แต่โรคนี้ก็มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะในผู้ป่วยที่มีอาการคัดแน่นจมูกเรื้อรัง มักมีอาการปวดมึนศีรษะร่วมด้วยเนื่องจากมีภาวะสุญญากาศในโพรงไซนัสที่เรียกว่า Vacuum headache การรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ในปัจจุบันการรักษาอาการคัดแน่นจมูกมีหลายวิธี เริ่มจากการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน (Fast Food) อาหารขยะ (Junk Food) ของหมักดอง อาหารทอดน้ำมันซ้ำๆ หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ สารก่อภูมิแพ้ และ สิ่งระคายเคืองเยื่อบุโพรงจมูก เช่น ควันบุหรี่ เขม่ารถยนต์ เป็นต้น ร่วมกับการใช้ยาลดอาการภูมิแพ้ เช่น ยารับประทานจำพวกแอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamine) ยาแก้คัดจมูกที่นิยมใช้กัน เช่น ยาซูโดอีเฟดีน (Pseudoephedrine) และอาจใช้ยา Steroid พ่นจมูก ตลอดจนการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นต้น แต่ในกรณีที่การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาการคัดแน่นจมูกเรื้อรังไม่ดีขึ้น หรือในกรณีที่ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยยาไม่ได้ เนื่องจากมีผลข้างเคียง(Side effect) จากยา เช่น ยา Pseudoephedrine อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ นอนไม่หลับ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

5 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยวิธีการฉีดยา

คุณเคยได้ยินเรื่องการฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด (sclerotherapy) หรือไม่ การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยที่ขา (varicose andspider veins) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยๆ ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกและอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิตที่รุนแรง ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่คุณจำเป็นต้องทราบ ก่อนเลือกวิธีการฉีดยาเพื่อ การรักษาเส้นเลือดขอด การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดช่วยอะไรได้บ้าง การรักษาเส้นเลือดขอดโดยวิธีการฉีดยา เป็นวิธีที่เหมาะกับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร ที่เป็นแขนงบริเวณผิวหนัง โดยยังไม่ปรากฏความผิดปกติของลิ้น (valve)ในเส้นเลือดดำส่วนตื้น หรือเป็นเส้นเลือดขอดเล็กๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ หลังจากการผ่าตัดเส้นเลือดขอด การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด นอกจากจะทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของเส้นเลือดขอดดีขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้อาการและภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดีขึ้นได้อีกด้วย เช่น บรรเทาอาการเจ็บปวด อาการบวม ตะคริวหรือเหน็บชาได้ การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดทำอย่างไร เมื่อเริ่มดำเนินการ แพทย์จะทำความสะอาดพื้นที่เป้าหมายด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ แล้วใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กฉีดสารละลายเข้าไปยังเส้นเลือดขอด ยาที่ใช้เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนังของเส้นเลือดขอด (endothelium) โดยฉีดเข้าไปในเส้นเลือดดำที่ขอด เพื่อทำให้ผนังเส้นเลือดบวม และติดกันจนเลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้ และเกิดการแข็งตัวจนตีบตันในที่สุด เพียง 2-3 สัปดาห์เส้นเลือดขอดที่เคยโป่งพองก็จะยุบและจางหายไป โดยยาหรือสารเคมีที่แพทย์นำมาใช้ฉีดก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ชนิดที่ใช้บ่อยๆ จะมีชื่อว่า “เอธอกซีสเครอล” (Aethoxysklerol) ซึ่งมีความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5-3% สารละลายนี้จะส่งผลต่อผนังชั้นในของเส้นเลือด ซึ่งเป็นการขัดขวางกระแสเลือดที่ไปหล่อเลี้ยง เส้นเลือดขอดจะกลายเป็นแผลเป็น ที่จะค่อยๆ หายไปในที่สุด ทำให้เลือดสามารถไหลไปยังเส้นเลือดที่แข็งแรงกว่าได้ […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

คีโม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ยาเคมีบำบัดสามารถทำลายเซลล์มะเร็งที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติได้ ซึ่งเมื่อเซลล์ปกติเกิดความเสียหายอาจส่งผลข้างเคียงบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่มักจะเรียกกันว่า คีโม อาจไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คุณคิด แต่หลายคนมักจะกังวลเกี่ยวกับการรักษาในขั้นตอนนี้ จริงๆ แล้วการใช้ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง คีโม คืออะไร การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่มักจะเรียกกันว่า คีโม (Chemo) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งการใช้ยาเคมีบำบัด คือการใช้ยาบางชนิดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือหยุดยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย คุณหมออาจรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัด และการฉายรังสี นอกจากนี้เพื่อที่จะให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง และสร้างเซลล์ที่แข็งแรงเซลล์ใหม่ คุณอาจต้องกินยาเป็นเวลากว่า 1-2 สัปดาห์ และต้องกินยาทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง และความรุนแรงของโรคมะเร็ง สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดผลข้างเคียง จากการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด หรือบางคนอาจเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย ความรุนแรงของผลข้างเคียงจะแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคน ดังนั้นคุณอาจสอบถามคุณหมอว่าอาการที่พบบ่อยมักจะเป็นอย่างไร เกิดขึ้นนานแค่ไหน และอาการสามารถร้ายแรงได้ขนาดไหน คุณหมออาจให้คุณกินยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการรักษาบางอย่าง ก่อนรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ยาคีโมบางประเภทอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาว เช่น หัวใจหรือเส้นประสาทเกิดความเสียหาย หรือมีปัญหากับระบบสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ไม่มีปัญหาระยะยาวจากการทำคีโม ดังนั้นคุณควรถามคุณหมอว่า ยาเคมีบำบัดที่คุณได้รับมีผลระยะยาวหรือไม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณควรคุยกับคุณหมอที่รักษาโรคมะเร็ง เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการรักษา นอกจากนี้ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด หรือการคีโม อาจเกิดขึ้นขณะที่คุณกำลังรักษา […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ฟอกไต (Kidney Dialysis)

ไต ทำหน้าที่ในการทำความสะอาดเลือด ด้วยการกำจัดของเสียและน้ำออกจากร่างกาย หากไตทำงานได้ไม่ถูกต้อง อาจต้องมีการ ฟอกไต (Kidney Dialysis) เพื่อช่วยการทำงานของไต ข้อมูลพื้นฐาน การ ฟอกไต (Kidney Dialysis) คืออะไร ไต คือ อวัยวะคู่หนึ่งที่มีขนาดแต่ละข้างประมาณกำปั้น อยู่ที่กระดูกสันหลังทั้งสองด้าน มีหน้าที่ในการทำความสะอาดเลือด โดยการกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย หากไตทำงานได้ไม่ถูกต้อง อาจจำเป็นที่จะต้องมีการฟอกไต (Kidney Dialysis) เพื่อช่วยในการทำงานของไต การฟอกไตมีสองชนิดดังนี้ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ทำการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม (dialyzer) และเครื่องฟอกไต (Dialysis machine) ฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis): ทำการฟอกเลือดภายในร่างกาย หลังจากที่ภายในช่องท้องเต็มไปด้วยสารละลายพิเศษ สำหรับทำความสะอาด ในปัจจุบันนี้มีคนจำนวนมากขึ้นทั่วทั้งโลก ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่เป็นโรคไตและจำเป็นต้องทำการฟอกไต ความจำเป็นในการ ฟอกไต หากไตของคุณทำงานได้ไม่ถูกต้อง เช่น เป็นโรคไตเรื้อรังขึ้นรุนแรง (โรคไตวาย) ไตของคุณอาจไม่สามารถทำความสะอาดเลือดได้อย่างถูกต้อง ทำให้ของเสียและน้ำส่วนเกินสะสมภายในร่างกายในระดับอันตราย หากไม่รับการรักษา อาจทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์หลายประการ และสุดท้ายก็จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การฟอกไต จะกรองเอาสารและน้ำที่ไม่ต้องการออกจากเลือด ซึ่งก่อนหน้านั้น แพทย์อาจจะช่วยให้คำแนะนำว่า คุณควรเริ่ม การฟอกไต เมื่อไหร่ โดยขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยด้านล่างนี้ สุขภาพโดยรวม การทำงานของไต สัญญาณและอาการ คุณภาพชีวิต ความชอบส่วนบุคคล คุณอาจสังเกตเห็นสัญญาณและอาการของโรคไตวาย หรือยูเรเมีย (Uremia) […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเล็บขบ (Ingrown Toenail Surgery)

ข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดเล็บขบคืออะไร การผ่าตัดเล็บขบ (Ingrown Toenail Surgery) ใช้สำหรับการรักษาอาการเล็บขบ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเล็บงอกยาวเข้าไปในผิวหนังรอบๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นถูกทำลาย จนเกิดการอักเสบและปวด ปัญหานี้มักเกิดขึ้นที่นิ้วโป้งเท้า สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเล็บขบทั่วไปคือ การไม่ตัดเล็บให้เรียบร้อย หรือตัดเล็บไม่ผิดทรง ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะส่งต่อกันทางพันธุกรรม  จากการมีลักษณะเล็บที่มักจะโค้งงอเวลางอกยาวออกมา ทำให้เกิดเล็บขบได้ง่าย นอกจากนี้ การสวมรองเท้าหัวแคบเกินไป ทำให้นิ้วเท้าไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้เกิดอาการเล็บขบได้เช่นกัน ความจำเป็นในการ ผ่าตัดเล็บขบ เล็บขบเป็นอาการที่พบได้บ่อย คุณสามารถป้องกันหรือรักษาอาการเล็บขบได้ด้วยตนเอง โดยวิธีดังต่อไปนี้ ตัดเล็บเท้าให้เป็นแนวตรง และไม่ปล่อยให้ขอบเล็บแหลม สวมรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้า แพทย์สามารถตัดผิวหนังบริเวณที่เกิดเล็บขบออก หรือตัดเล็บที่ยาวยื่นเข้าไปในผิวหนังออกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเล็บงอกและทิ่มลึกเข้าสู่ผิวหนัง และไม่สามารถรักษาตามวิธีที่กล่าวข้างต้นได้ อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัด แต่ก็ยังสามารถกลับมาเป็นเล็บขบซ้ำได้อีก ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเล็บขบ การผ่าตัดเล็บขบก็มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สามารถเกิดกับคุณได้ อาการแทรกซ้อนทั่วไปของการผ่าตัดทุกประเภท มีดังนี้ อาการแพ้ยาสลบ เลือดออกมากเกินไป หรือเกิดลิ่มเลือด (thrombosis) อาการแทรกซ้อนจำเพาะที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดเล็บขบ ได้แก่ การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อกระดูกส่วนล่าง คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเล็บขบ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์ เช่น ยาที่ใช้อยู่ อาการแพ้ต่างๆ ภาวะสุขภาพของคุณ จากนั้นคุณจะได้เข้าพบวิสัญญีแพทย์ และวางแผนในการดมยาสลบ สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการงดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัด ขั้นตอนการ ผ่าตัดเส้นเล็บขบ การผ่าตัดจะทำควบคู่ไปกับการใช้ยาชา และใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้ การถอดเล็บ การตัดส่วนของเล็บเท้า การตัดเนื้อเยื่อรองเล็บ เป็นการตัดบางส่วนหรือทั้งหมด และทาสารเคมีหรือใช้คลื่นไฟฟ้ากับบริเวณของเนื้อเยื่อซึ่งเล็บงอกออกมา กระบวนการซาเด็ค (Zadek’s procedure) ซึ่งเป็นการถอดเล็บทั้งหมด […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) เกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าของหัวใจห้องบนขวามีกระแสไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ต่อเนื่อง หัวใจเต้นเร็ว และไม่สม่ำเสมอ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วจนเกินไปหรือมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สามารถช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้ ข้อมูลพื้นฐานการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คืออะไร การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Atrial Fibrillation Ablation” คำว่า “Ablation” หมายถึง “การตัดออก” มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย” ในแง่ของ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หมายถึง ตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา การผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ระยะของอาการ และความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดขั้นตอนการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว การผ่าตัดใส่สายสวน การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรดำเนินการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน การทำซีทีสแกน (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม