การกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion) คือ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ส่งผลต่อศีรษะของคุณโดยตรง ทำให้บริเวณนั้นเกิดการอักเสบ ฟกช้ำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน มองเห็นภาพซ้อน สูญเสียความทรงจำ โดยการักษานั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล
การกระทบกระเทือนทางศีรษะ คืออะไร
การกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion) คืออะไร
การกระทบกระเทือนทางศีรษะ (Concussion) คือ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ส่งผลต่อศีรษะของคุณโดยตรง ทำให้บริเวณนั้นเกิดการอักเสบ ฟกช้ำ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน มองเห็นภาพซ้อน สูญเสียความทรงจำ โดยการักษานั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล
ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายบาดเจ็บแล้ว ยังสามารถส่งผลไปยังสมอง จนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้
พบได้บ่อยเพียงใด
สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวันทารกและวัยเด็ก
อาการ
อาการกระทบกระเทือนทางศีรษะ
สัญญาณและอาการของการกระทบกระเทือนมีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะจะส่งผลต่อทั้งทางด้านร่างกายและสภาพจิตใจ โดยมีอาการดังต่อไปนี้
- สูญเสียความทรงจำ
- สับสน มึนงง
- ซึม หรือ อาการซึมเศร้า
- วิงเวียนศรีษะ ปวดศีรษะ
- เห็นภาพซ้อน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัญหาด้านความสมดุล
- ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งเร้าช้ากว่าปกติ
ช่วงระยะเวลาที่กำลังพักฟื้นหลังจากได้รับการกระทบกระเทือนศีรษะนั้น คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- หงุดหงิด
- อ่อนไหวต่อแสงและเสียงดัง
- ไม่มีสมาธิ
- ปวดศีรษะ
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของการกระทบกระเทือนทางศีรษะ
สาเหตุส่วนใหญ่ของการถูกกระทบกระเทือนทางศีรษะเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ การถูกทำร้ายร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยงของการกระทบกระเทือนทางศีรษะ
มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของเรา อย่างเช่น
- การเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหากมีอุปกรณ์ในการเล่นที่ไม่ปลอดภัย
- อยู่ในสถานการณ์เกิดอุบัติเหตุทางเท้าหรือจักรยาน
- เป็นทหารอยู่ในสนามรบ
- ตกเป็นเหยื่อในการทารุณกรรมทางร่างกาย
- หกล้ม หรือถูกกระแทก เกิดขึ้นได้ในเด็กและผู้สูงอายุ
- เคยถูกกระแทกมาแล้วก่อนหน้านี้
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่ได้รับไปนั้นไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจะดีกว่า
การวินิจฉัยการกระทบกระเทือนทางศีรษะ
ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและประเมินอาการ นอกจากนี้ยังทำการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น
- การซีทีแสกน (Computerized Tomography Scan : CT Scan) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติบริเวณสมองอย่างละเอียด
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic ResonanceImaging : MRI) เพื่อวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการถูกกระทบกระแทก
การรักษาการกระทบกระเทือนทางศีรษะ
การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน หากผู้ป่วยมีเลือดออกในสมอง อาการสมองบวม หรือได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แพทย์จะทำการผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น แอสไพริน (Aspirin) หากมีอาการแย่ลงควรมาพบแพทย์ภายใน 24-72 ชั่วโมง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาการกระทบกระเทือนทางศีรษะ
การป้องกันการลดการกระเทือนทางศีรษะสามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า หมวกกันน็อค หรือชุดที่สวมใส่นั้น มีความเหมาะสมกับกิจกรรม
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬา เพื่อเทคนิคการเล่นกีฬาอย่างปลอดภัย
[embed-health-tool-bmi]