backup og meta

ระดับไอคิว เพิ่มได้ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ง่ายๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

    ระดับไอคิว เพิ่มได้ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ง่ายๆ

    ทุกคนเคยสงสันกันไหมว่า ระดับไอคิว ของคนเรานั้นสามารถเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ แล้วถ้ามันสามารถเพิ่มได้ เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะเพิ่มระดับไอคิวให้กับตัวเอง หรือมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เมื่อทำแล้วจะช่วยเพิ่มระดับไอคิวของเราให้ดีขึ้น ถ้าคุณกำลังสงสัยอยู่ล่ะก็ ลองมาติดตามเรื่องนี้จากทาง Hello คุณหมอ กันดู

    ทำความรู้จักกับ ระดับไอคิว

    ไอคิว (Intelligence Quotient หรือ IQ) หมายถึง “เชาว์ปัญญา” เป็นการวัดความฉลาดทางปัญญาและศักยภาพของคนๆ หนึ่ง การวัดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1900 โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ Alfred Binet”

    ระดับไอคิวจะถูกวัดโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานที่ดำเนินการโดยนักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาตและในบางกรณีจะดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพจิต ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งการทดสอบไอคิวมาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วย

    • Wechsler Intelligence Scale สำหรับเด็ก (WISC-V)
    • Wechsler Intelligence Scale สำหรับผู้ใหญ่ (WAIS)
    • Stanford-Binet Intelligence Scale

    แม้ว่าการทดสอบไอคิวและแอพพลิเคชั่นออนไลน์จะได้รับความนิยมมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถวัดไอคิวของคุณได้อย่างแม่นยำ เหมือนกับการทดสอบไอคิวจากนักจิตวิทยา

    แม้ว่าการวัดระดับไอคิวจะเป็นวิธีหนึ่งในการวัดความฉลาด แต่ก็ไม่ได้เป็นการวัดเพียงชนิดเดียวที่ใช้วัดระดับความฉลาดได้ การทดสอบไอคิวสามารถใช้เป็นขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยสุขภาพจิตอื่นๆ และความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อีกด้วย

    กิจกรรมที่สามารถเพิ่ม ระดับไอคิว

    สติปัญญาของคนเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ความฉลาดที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด (Fluid Intelligence) และความฉลาดที่เกิดจากการฝึกฝนและประสบการณ์ (Crystallized Intelligence) ความฉลาดที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดนั้นจะเกี่ยวข้องกับการให้เหตุผลเชิงนามธรรม ในขณะที่ความฉลาดที่เกิดจากการฝึกฝนและประสบการณ์ จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะทางปัญญา

    ตามที่ National Library of Medicine ระบุเอาไว้นั้น ความฉลาดที่เกิดจากการฝึกฝนและประสบการณ์อาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมหลายๆ ประการ ซึ่งได้แก่

    • ไอคิวของพ่อแม่
    • ยีน
    • ชีวิตที่บ้าน
    • รูปแบบการเลี้ยงดู
    • โภชนาการ
    • การศึกษา

    สำหรับกิจกรรมที่คุณสามารถทำได้ เพื่อพัฒนาระดับสติปัญญาในด้านต่างๆ ตั้งแต่การใช้เหตุผล การวางแผน ไปจนถึงการแก้ปัญหา และอื่นๆ มีดังนี้

    กิจกรรมเกี่ยวกับความจำ

    กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความจำ สามารถช่วยพัฒนาความจำได้ ไม่เพียงเท่านั้นมันยังเพิ่มทักษะในการใช้เหตุผลและภาษาได้อีกด้วย ในความเป็นจริงแล้วเกมที่เกี่ยวกับความจำนั้นจะถูกใช้ใน การศึกษา วิจัย เพื่อสำรวจว่า ความทรงจำเกี่ยวข้องกับความรู้ด้านภาษาและความรู้อย่างไรบ้าง

    การใช้เหตุผลและการใช้ภาษาถูกใช้เป็นการวัดระดับสติปัญญา ซึ่งหมายความว่า กิจกรรมฝึกความจำนั้น สามารถพัฒนาระดับสติปัญญาได้ ซึ่งกิจกรรมฝึกความจำ ได้แก่

    • การต่อจิ๊กซอว์
    • ปริศนาอักษรไขว้
    • การ์ดเกมที่ต้องใช้สมาธิ หรือการจับคู่การ์ด
    • ซูโดกุ

    กิจกรรมควบคุมความคิดเชิงบริหาร

    กิจกรรมควบคุมความคิดเชิงบริหาร คือความสามารถในการใช้ความคิดซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของความสามารถด้านการจัดการของสมอง ซึ่งรวมไปถึงการจัดการเชิงบริหารด้วย จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความสามารถด้านการจัดการนั้นมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสติปัญญาของมนุษย์

    สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฝึกการควบคุมความคิดเชิงบริหาร ได้แก่

    • สแคร็บเบิล (Scrabble)
    • ทายคำศัพท์จากรูปภาพ (Pictionary)
    • เกมไฟเขียวไฟแดง (Red Light, Green Light)
    • เกมฝึกสมอง อย่าง Brain Teasers

    กิจกรรมในการใช้เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์ 

    การใช้เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์ (Visuospatial) มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายเชิงรูปลักษณ์ทางกายภาพ

    ใน การศึกษา หนึ่งนักวิจัยพบว่า การพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์ ทำให้คะแนนการทดสอบไอคิวเพิ่มขึ้น ในการศึกษาครั้งนั้น มีการใช้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความจำ และกิจกรรมควบคุมความคิดเชิงบริหารเข้ามาร่วมด้วย เพื่อช่วยพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์

    โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้มิติสัมพันธ์ ได้แก่

    • วงกตปริศนา (Maze)
    • กิจกรรมฝึกคิดในหลายมุมมอง
    • โมเดล 3 มิติ
    • เกม Unfolded Prisms

    ทักษะเชิงความสัมพันธ์

    ทฤษฎีกรอบความสัมพันธ์เกี่ยวข้อกับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และภาษาของมนุษย์ ผ่านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ การวิจัยในปี 2011 แสดงให้เห็นว่า การใช้ทฤษฎีกรอบความสัมพันธ์เป็นตัวช่วย สามารถเพิ่มคะแนนไอคิวในเด็กได้อย่างมีนัยสำคัญ

    จากการศึกษาล่าสุดโดยการใช้ทฤษฎีกรอบความสัมพันธ์เป็นตัวช่วยนี้ ยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของคะแนนไอคิว การใช้เหตุผลทางภาษาและการให้เหตุผลเชิงตัวเลข

    กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฝึกทักษะเชิงความสัมพันธ์ ได้แก่

    • หนังสือเรียนภาษา
    • การเปรียบเทียบวัตถุ
    • การเปรียบเทียบเชิงจำนวน

    เครื่องดนตรี

    จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า นักดนตรีมีความจำดีกว่าคนที่ไม่ใช่นักดนตรี เนื่องจากหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญในด้านสติปัญญา อาจเป็นประโยชน์ต่อไอคิวของคุณก็ได้ในการเลือกเล่นเครื่องดนตรีที่คุณอยากเล่นมาโดยตลอด

    เรียนรู้ภาษาใหม่

    จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้นั้นระบุว่า ประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกสามารถพูดได้ 2 ภาษา จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่การเรียนรู้หลายภาษาจะมีประโยชน์ต่อสมองของมนุษย์และการเรียนรู้ที่ยิ่งเร็วยิ่งเป็นเรื่องที่ดี

    การศึกษาล่าสุดจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ ได้ทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ภาษาใหม่ในช่วงต้นและไอคิว ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้ภาษาผ่านการพูดคุยและปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 18-24 เดือน มีประโยชน์มากที่สุด ในการเพิ่มระดับสติปัญญา

    การอ่านบ่อยๆ

    ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า หนังสือนั้นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ ในความเป็นจริงแล้วประโยชน์จากการพัฒนาจะยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เมื่อหนังสือกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพิ่มความผูกผันกับพ่อแม่ของเด็ก

    การศึกษา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยได้ค้นพบว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือแบบออกเสียงลูกฟัง เด็กจะมีทักษะด้านภาษาและพัฒนาการทางความคิดที่ดีขึ้น

    การศึกษาต่อ

    การศึกษาต่อไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ การศึกษา จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ ระดับไอคิวและการศึกษา การศึกษานี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 600,000 คน เพื่อพิจารณาผลของการศึกษาต่อระดับไอคิว นักวิจัยพบว่า ทุก 1 ปีที่เพิ่มขึ้นของการศึกษาในระบบ ผู้เข้าร่วมจะมีคะแนนไอคิวเพิ่มขึ้น 1 – 5 คะแนน

    สรุป ถ้าอยากเพิ่ม ระดับไอคิว

    ถ้าหากคุณอยากเพิ่มพูนสติปัญญา และเพิ่มระดับไอคิว วิธีการที่ดีที่สุดในการฝึกสมองส่วนนี้ก็คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและเกมที่ใช้ความคิด เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และทำให้สมองของคุณได้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา